เราเข้าใจความรู้ภายในจริงแค่ไหน


KM

           มีคำกล่าวว่า  ในการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการ  มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความรู้     ภายในกันมาก  การแหลความว่า    ความรู้ภายใน คือ   ความรู้ในตัวตนที่ต้องการ    “การแปลความ”           “การถ่ายความ”  ให้กลายเป็นความรู้ภายนอก  นักวิชาการบางกลุ่มมีความคิดเห็นตรงกันข้าม  ผู้เขียนมีความเห็นว่า  การถ่ายโอนความรู้ภายใน  มาเป็นความรู้ภายนอกนั้น  เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน           แต่ไม่ได้หมายความว่า  เราจะไม่สนใจความสามารถที่บุคคลมีอยู่  แต่เราจะมองว่าเราต้องหยุด       ที่จะพยายามทำให้ความรู้ภายในกลายมาเป็นความรู้ภายนอก  แต่น่าจะมองดูว่ามีวิธีการที่เขามีปฏิสัมพันธ์กับโลก  กับบุคคลรอบตัว  ช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ต่าง ๆ  ดีขึ้น  และทำให้เราเปลี่ยนพฤติกรรม  โดยมุมองชอง  Wittgensteim และ  Shotter  การที่เราจะรู้ว่าเรามีความรู้ภายในก็จากการที่เราหมั่นทบทวนหรือมองตนเองว่า เราทำไรต่าง ๆ อย่างไร  แล้วความแตกต่างที่เราไม่เคยได้สังเกตมากก่อนนั่นแหละจะได้รับความตระหนัก และความสำคัญต่าง ๆ ที่เราละเลยเหล่านี้จะก่อให้เกิดความรู้  เราไม่สามารถนำความรู้ภายในมาปฏิบัติการใด  ๆ  ได้  แต่เราสามารถค้นหาวิธีการพูดคุยใหม่ ๆ  ได้  มีปฏิสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปได้  รวมทั้งมีวิธีการติดต่อใหม่  ๆ ได้  ความรู้ภายในไม่สามารถ “ถูกจับ”   “แปลความ” หรือถ่ายโอนได้  แต่สามารถแสดงออกให้เห็นได้ในการกระทำของเรา  ความรู้ใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อความรู้ภายในกลายเป็นความรู้ภายนอก  แต่เมื่อการกระทำการเราสามารถจับต้องได้โดยผ่านปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม
           สิ่งที่เรารู้เมื่อไม่มีใครถาม  แต่ถ้าให้อธิบายกลับทำไม่ได้ คือสิ่งที่เราต้องเตือนตัวเองไว้  (Wittgensteim 1958) 
           การกระทำของความรู้ต้องมีการประเมิน  และความสัมพันธ์จะคือการนำความรู้           ที่มีมาจัดระเบียบการกระทำเช่นนั้นได้ต้องมีการแยกแยะระหว่างอัตนัยกับปรนัย (Palanyi 1962,17)
           เชื่อกันว่า  ความรู้คือพื้นฐานของการปฏิบัติการต่าง ๆ  ในอุตสาหกรรมสมัยใหม่  มักมีคำถามเสมอ  ๆ ว่า  มีอะไรใหม่  ความรู้มักถูกตีความในกระบวนการตามการพัฒนาเศรษฐกิจในกระบวนการเปลี่ยนทรัพยากรให้กลายเป็นผลผลิตและบริการโดยต้องการความรู้ในกระบวนการนั้น  ในระบบการผลิตสมัยใหม่  ต้องใช้ประโยชน์ของความรู้อันประกอบด้วย  ทักษะต่าง ๆ  เทคนิค  กระบวนการในการทำอะไรให้สำเร็จ
           ดังนั้น  ในยุคที่เรียกว่า  “เศรษฐกิจความรู้”  สิ่งใหม่ก็คือ  ความรู้เรื่องทฤษฎี            จะกลายเป็นศูนย์กลางของสังคมสมัยใหม่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
           ความรู้เป็นความจำเป็นในการขับเคลื่อนสังคม  ความชัดเจนของสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม  คือความเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของความรู้  สิ่งที่นำมาใช้ในการตัดสินใจระดับองค์กรคือ  ความรู้เชิงทฤษฎี  หมายถึง  ทฤษฎีที่ถูกนำมาตีความเป็นระบบนามธรรม
           อาจเป็นการยากที่จะมองหาอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้ (Bell 1999)  ความรู้เชิงทฤษฎีในปัจจุบัน  ผลผลิตต้องมีความรู้เฉพาะมากขึ้นเรื่อง  ๆ  จากความรู้เหล่านี้ถูกป้อนโดยแผนก  R&D , มหาวิทยาลัย และบริษัทที่ปรึกษา  รวมทั้งกระบวนการผลิตก็ยังต้องพึ่งพิงการวิจัยอย่างเป็นระบบ
           คุณลักษณะของความรู้เปลี่ยนแปลงมาตลอดเวลา  สังคมสมัยใหม่เลิกเชื่อเรื่องสัญชาตญาณ  แต่มาพึ่งพากระบวนการที่เป็นขั้นตอนมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการนำความรู้เชิงทฤษฎีเหล่านั้นมาใช้  ก็ยังคงต้องพึ่งพาการตัดสินใจโดยคน  รวมทั้งการทุ่มเทอีกด้วย  แม้แต่ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ก็ต้องการการประยุกต์ใช้ของนักคณิตศาสตร์  ในระบบเศรษฐกิจความรู้อาจใช้ความรู้ภายนอก  แต่ในลักษณะพึ่งพาความรู้ภายใน
            คำว่า  tacit  Knowledge  ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางและก็เป็นไปตามนั้น   คือ  ผู้ใช้หรือนักจัดการทั้งหลาย  กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง  แต่ถ้าถูกถามให้อธิบาย  กลับทำไม่ได้  จึงเกิดคำถามว่า ทำไม  ความรู้ในองค์กรจึงยากที่จะอธิบาย  ส่วนสำคัญของความรู้ภายในในองค์กรหนึ่ง ๆ  คืออะไร  ความรู้ภายในมีนัยยะใดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการฝึกฝนทักษะ ถ้าความรู้ในประเด็นทักษะการปฏิบัติเป็นเรื่องภายใน  แล้วความรู้ใหม่  ๆ  จะเกิดขึ้นได้อย่างไร 
           คำว่าความรู้ภายใน  ความรู้ภายนอกเป็นเพียงคนละด้านเท่านั้น  ซึ่งผลก็คือ  ทำให้เกิดความเข้าใจในได้  คือ ธรรมชาติของความรู้ในองค์กร  ที่เกี่ยวข้องกับทักษะของบุคคลและบริบทเชิงสังคม
           ในบทนี้จะได้กล่าวถึง  ความรู้ภายในด้วยมุมมองของ  Palanyi  และ  Namaka  และ  Takeuchi  จะเป็นผู้ทำให้คำว่า ความรู้ภายในเป็นคำที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง
Palanyi
           จะแสดงความแตกต่างอย่างชัดเจน  เช่น  ความรู้เชิงทฤษฎี และความรู้เชิงปฏิบัติ วิทยาศาสตร์และมนุษยชาติ  ความตั้งใจของเขาก็คือ  การแสดงโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ความรู้ทุกประเภท  Palanyi  จากนักเคมีมาเป็นนักปรัชญาได้จัดประเภทหาความรู้ว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำที่มีทักษะ  เขาคิดว่า  ความรู้แบบปรนัย  รู้เองภายใน หรือการกระทำที่เป็นอิสระเป็นเรื่องผิด  หมายถึง  สำหรับเขา ความรู้ทั้งหลายเป็นส่วนตัว  เช่น  การใช้แผนที่  แผนที่จะถูกออกแบบมา  แต่ผู้ใช้แผนที่ก็ต้องมีทักษะเฉพาะตน  ในการตีความ ตัดสินใจ กล่าวคือ  แผนที่อ่านตัวเองไม่ได้  ต้องมีผู้อ่านที่มีทักษะในการเชื่อมโยงแผนที่กับโลก  โอยผ่านวิธีการ  ทางปัญญา  และสัญชาตญาณ
          หรือกฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน  ผู้กระทำคือเราไม่ใช่กฎเกณฑ์  ซึ่งอธิบายได้ว่าการตัดสินใจส่วนบุคคลต้องถูกนำออกมาใช้เพื่อจัดช่องว่างระหว่างข้อมูลความรู้กับโลกแห่งความเป็นจริง  การตัดสินใจส่วนบุคคลนี้  ตัดสินไม่ได้ด้วยกฎเกณฑ์  แต่ใช้สัญชาตญาณเท่านั้น  ซึ่งในการตัดสินใจนี้ถือเป็นการกระทำที่มีทักษะ  ต้องใช้ทั้งร่างกายและจิตใจ
         เครื่องมือทางปัญญานั้นใช้ตัวเองไม่ได้  เรามนุษย์ต้องเป็นผู้ใช้มัน   ถ้าเรายอมรับว่ามี personal  coefficient   ในปฏิบัติการทุกอย่างเกี่ยวกับความรู้  โครงสร้างมันคืออะไร  อะไรทำให้ผู้อ่านแผนที่  เดินทางไปที่ที่ต้องการได้  อะไรทำให้นักวิทยาศาสตร์ใช้สูตรต่าง ๆ  อย่างได้ผล ซึ่งต้องให้ผู้กระทำเป็นผู้อธิบายขั้นตอนนั้น ๆ  ได้เอง  ว่าเกิดจากการที่ความรู้กลายไปเป็นส่วนหนึ่งของจิตใต้สำนึกของคน  เป็นกระบวนการลองผิดลองถูกทางบุคคล
         ความรู้ภายในเป็นสามเหลี่ยมที่ประกอบด้วยข้อมูลเฉพาะ  เป้าหมายที่ต้องการและตัวผู้รู้  ซึ่งความเป็นผู้รู้เชื่อมโยงทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน  นอกจากนั้น  โครงสร้างภายในประกอบด้วย ส่วนใช้งาน  ปรากฏการณ์ และส่วนความหมาย  ส่วนใช้งานคือความสัมพันธ์แบบจากไหนไปไหน  ส่วนปรากฏการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนประสบการณ์ข้อมูลเฉพาะให้กลายเป็นประสบการณ์ใหม่  ส่วนความหมายคือความหมายทางข้อมูลเฉพาะอันนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
           ตัวอย่าง  เช่น  หมอฟันตรวจฟันคนไข้  การตรวจใช้ความรู้ประเภทส่วนใช้งาน  ในส่วนการค้นพบว่ารอยอุดอยู่ตรงไหน  โดยการใช้เครื่องมือต่างประเภทกัน  สัญชาติญาณเป็นส่วนประสบการณ์  ในท่านที่สุดส่วนความหมาย  คือ  การพบรอยผุจริงจากการสำรวจ  หมายถึงใช้ความรู้สึกที่มือผ่านเครื่องมือตรวจ
          เราใช้ความรู้ภายในในทุกสิ่งที่เราทำ  แต่มักไม่รู้ถึงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา  ไม่รู้กฎภาษาเมื่อเราพูด  หน้าที่ทางร่างกายเมื่อเราเคลื่อนไหว  กล่าวคือในแต่ละวันที่ร่างกายทำหน้าที่หลายหลากที่เราไม่รู้ ไม่สังเกต  ความสำคัญอยู่ที่เราทำอะไร ๆ สำเร็จ  เรามีทักษะและศักยภาพเพิ่มขึ้น  แต่ไม่รู้ว่าได้มาอย่างไร  เช่น  ทักษะการจะได้มาเมื่อความรู้ของเรากลายไปเป็นจิตใต้สำนึกความเหมาะสมของความรู้ภายในกับการศึกษาเรื่องการจัดการความเข้าใจผิด
           Nonaka  และ  Takeahi  เป็นดังการถ่ายโอนความรู้ภายในเป็นความรู้ภายนอก  ผ่านการสนทนา  และได้แยกแยะการสนทนาเป็น  4  ประเภท คือ  จากความรู้ภายใน  เป็นความรู้ภายใน   จากความรู้ภายในเป็นความรู้ภายนอก จากความรู้ภายนอกเป็นความรู้ภายนอก  และจากความรู้ภายนอกเป็นความรู้ภายใน
           กระบวนการ socialigation  เกิดจากการสังเกต  การเลียนแบบและการฝึก  Extermaligation  เกิดจากการพูดการแสดงออกในรูปแบบ ของความคิดรวบยอด  รูปแบบ  สมมติฐาน  การเปรียบเทียบและการเทียบเคียง  embimation  เกิดจากการรวมเอาความรู้ภายนอกเข้าด้วยกัน และ internaligation  เกิดจากการพูดการแสดงออก  การซึมซับ  กระบวนการสะสมเข้าในตัวโดยบุคคล
           กระบวนการสร้างความรู้ในองค์กรเกิดในลักษณะของวงจร  แต่ละวงรอบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน  คือ การแบ่งปันความรู้ภายในระหว่างสมาชิกในกลุ่ม  การสร้างคามคิดรวบยอดจากการตกลงร่วมกันในกลุ่ม  การให้เหตุผลของความคิดรวบยอดที่สอดคล้องกับจุดประสงค์องค์กร  การสร้างตัวตันแบบจากความคิดรวบยอดนั้น  และการใช้ความรู้  ที่ซึ่งวงจรใหม่ของการสร้างความรู้จะถูกนำไปใช้ภายในหรือภายนอกองค์กร
          ทั้งสองคนได้ยกตัวอย่างการสร้างเครื่องทำขนมปังของบริษัท มิตซูชิต้า  โดยใช้ 3 วงจรในกระบวนการสร้างความรู้  โดยแต่ละวงจรจะเริ่มโดยกำจัดข้อด้อยของเดิมหรือปรับปรุงของใหม่  วงจรแรกจบลงที่ได้เครื่องต้นแบบ ซึ่งยังไม่สนองความต้องการของทีมออกแบบในประเด็นคุณภาพของขนมปัง  อันนำไปสู่วงจรที่สอง  ซึ่งนักพัฒนาโปรแกรมไปเรียนวิธีทำขนมปังกัน  คนทำขนมปังของโรงแรม  Osaka  International  เพื่อเรียนรู้กระบวนการนวดแป้ง  เพื่อนำความรู้มาปรับปรุง  ส่วนวงจรสุดท้ายเริ่มจากการปรับปรุงเครื่องต้นแบบที่ได้จากขั้นตอนที่สองแล้วผลิตเครื่องทำขนมปังออกมาสู่ตลาด
เราควรเข้าใจความรู้ภายในอย่างไร
          Nonaka  และ  Takeahi มอบความรู้ภายในว่าคือ  ความรู้ที่ยังไม่ได้แสดงออก  กฎเกณฑ์ที่ซ่อนอยู่ในกิจกรรมที่ผู้คนกระทำมันต้องการเวลาที่จะนำมาจัดทำเป็นระบบ  เช่นระบบ if  them  คือความรู้ทางเทคนิค  หรือระบบ knowing  that  คือความรู้ที่นำมาใช้ได้หรือที่รู้จักกันในนาม Know  how  นั่นเอง
         ความรู้ภายในมักถูกเชื่อว่ามีโครงสร้างแบบ syllogism  คือกลับไปมาได้  ส่วน Polayi  มองว่า  ความรู้ภายใน  เป็นการรู้ส่วนตน  ซึ่งผู้กระทำอาจไม่รู้ขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน คืออธิบายออกมาเป็นขั้นตอนไม่ได้นั่นเอง  ดังนั้น  การคิดสะท้อนกลับจึงเป็นการที่เราทำความเข้าใจ  หรือให้ความใส่ใจกับขั้นตอนที่เราปฏิบัติมากขึ้น  เราจะสังเกตความโดดเด่นบางประการที่เราไม่เคยให้ความใส่ใจมากขึ้น  อันทำให้เรามอบสิ่งต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ ๆ มากขึ้น

สรุป


           มีความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับความรู้ภายในการศึกษาการจัดการ Nonaka  และ  Takeahi ตีความว่า  ความรู้ภายในคือความรู้ที่ยังมิได้พูดหรือแสดงออกมา คือความรู้ที่รอกการแปลความหรือการเปลี่ยนรูปให้กลายเป็นความรู้ภายนอก  ซึ่งความเข้าใจนี้ทำให้ความรู้ภายในถูกจำกัดอยู่แต่สิ่งที่สามารถแสดงออกโดยการพูดเท่านั้น  ความรู้ภายในและความรู้ภายนอกไม่ใช่เปรียบกับปลายเชือก  แต่เป็นสองหน้าของเหรียญเดียวกัน  ที่ซึ่งถึงแม้ความรู้ภายนอกที่ชัดเจนที่มีความรู้ความภายในซ่อนอยู่  ความรู้ภายในประกอบด้วย  ข้อมูลเฉพาะที่เราจะสนใจเป็นพิเศษเมื่อมีจุดมุ่งหมาย  ความรู้ภายในเป็นสิ่งที่เรารู้หรือกำลังให้ความสนใจสิ่งใดอื่นอยู่
          เราควรให้ความสนใจกับการอสดงออกเชิงทักษะ  โดยไม่ต้องคิดว่าสิ่งเหล่านั้นสามารถแปลความเป็นความรู้ภายนอกได้  แต่ควรมองว่าทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมมากขึ้นกับโลกหรือผู้คนรอบ ๆ ตัวเรา  การเตือนใจตนเองว่ากำลังทำอะไรอยู่  ทำให้เราเห็นสิ่งที่ไม่เคยสังเกต  กล่าวคือ  เราไม่จำเป็นต้องทำให้ความรู้ภายในมาปฏิบัติการใด ๆ มากเท่ากับการหาวิธีการพูดคุยใหม่  รูปแบบปฏิสัมพันธ์ใหม่ หรือวิธีการติดต่อใหม่ ๆ ความรู้ภายในไม่ใช่สิ่งที่ “จับต้อง”  “แปลความ” หรือ “เปลี่ยนแปลงรูปแบบ”  ได้  แต่สามารถแสดงออกได้  ความรู้ใหม่มิได้เกิดขึ้นจากการที่ความรู้ภายในกลายเป็นความรู้ภายนอก แต่เมื่อการกระทำที่มีทักษะถูกปรับเปลี่ยนผ่านปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 77670เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอ comment หน่อยนะคะใช้ภาษาในการเขียนเข้าใจยาก และเนื้อหายาวเกินไปค่ะ น่าจะสรุปให้สั้นกว่านี้นะคะ

ขอโทษอาจารย์ด้วยครับผม น้องสาวผมพิมพ์ทดสอบครับ ขอโทษด้วยจริงๆครับ อาจารย์เขียนได้ดีแล้วครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท