เทคนิคงานวิจัยเชิงคุณภาพ1


วิจัยเชิงคุณภาพ

ในการรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพมีหลายวิธี เช่นการสังเกต การสัมภาษณ์ การทบทวนวรรณกรรมและสิ่งบันทึก การสนทนากลุ่มวันนี้เรามารู้จักซักหนึ่งวิธีดังนี้

การสังเกตการณ์ (Observation)                   เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส และกายสัมผัสร้อนเย็น ศึกษาสภาพลักษณะการเกิดขึ้น การเป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่สนใจ เพื่อทำความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่อยู่ในบริบทที่ทำการสังเกต จำแนกได้ 5 ประเภท ตามระดับบทบาทของนักวิจัยในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับตัวอย่างบุคคลหรือกล่มบุคคลผู้ให้ข้อมูลที่สนใจศึกษาในภาคสนาม คือ                         1. แบบไม่มีส่วนร่วมโดยสมบูรณ์ (nonparticipation)                         2. แบบมีส่วนร่วมโดยไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ (Passive participation)                         3. แบบมีส่วนร่วมพอประมาณ (Moderate participation)            4. แบบมีส่วนร่วมโดยมีปฏิกิริยาโต้ตอบ (Active participation)            5. แบบมีส่วนร่วมโดยสมบูรณ์ (Complete participation)

 ตอนต่อไปมารู้จักกับวิธีอื่นๆ เอาไว้ใช้ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์

   นะคะ

                            รุ่งกานต์  ปราชญ์ศรีภูมิ สม.4

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77651เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท