อาหารปลอดภัย


“อาหารปลอดภัย” จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ที่สำคัญ 2 ประการ
อาหารปลอดภัย” คือ นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาและในปัจจุบันก็ยังดำเนินการต่อ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน “การสร้างความปลอดภัยในอาหาร” (Food Safety) ของกระทรวงสาธารณสุข เน้นควบคุมเรื่องคุณภาพอาหารและความปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารไทย ซึ่งเป้าหมายของความปลอดภัยด้านอาหารมีจุดเน้นที่อาหารสด อาหารแปรรูป อาหารปรุงจำหน่าย โดยมีมาตรการในการตรวจสอบอาหารสดในตลาดสดและในซูเปอร์มาร์เก็ต การตรวจสอบเครื่องหมาย อย. บนฉลากผลิตภัณฑ์ อาหารแปรรูป ณ สถานที่จำหน่าย สถานที่ผลิตอาหารแปรรูปมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต การพัฒนามาตรฐานด้านสุขลักษณะของร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ฯลฯ

“อาหารปลอดภัย” จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่

1 . คุณภาพของอาหารที่บริโภค

2. ปริมาณของอาหารที่บริโภค 

เท่าที่ผ่านมา มาตรการส่วนใหญ่ของรัฐบาลจะเน้นความเข้มงวดในการตรวจสอบให้อาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค ทว่าการรณรงค์ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปที่ผู้ผลิตและกระบวนการผลิต แต่ในระดับของประชาชนหรือผู้บริโภคกลับไม่ค่อยได้รับการดูแลเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมเติมเต็มคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของพวกเขาให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น ซึ่งข่าวคราว “ความไม่ปลอดภัย” ของอาหารเท่าที่ผ่านมา ได้แก่ กรณีประชาชนกว่าร้อยคนใน จ.น่าน ที่ล้มป่วยลงหลังจากการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บที่มีเชื้อโบทูลินัม และกรณีการพบ “เหาปลา” หรือไอโซพอด ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแมลงสาบในปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ ที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งแม้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. จะออกมาระบุว่า ไอโซพอดไม่เป็นอันตราย และไม่ก่อให้เกิดโทษกับมนุษย์ แต่การพบเหาปลาในปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศก็นับว่าสร้างความสะอิดสะเอียนให้กับผู้บริโภคได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

อาจจะเป็นคำตอบได้ในระดับหนึ่งว่า แนวทางเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในฝ่ายของ “อาหารปลอดภัย” อาจจะเดินหมากผิดไปบางตัวอย่าเพิ่งฝันบรรเจิดไปไกลถึง “ครัวไทย ครัวโลก” เลย แค่การให้ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงให้ผู้บริโภคได้เกิดความตระหนัก มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของคุณค่าที่แท้จริงของการบริโภคอาหาร เลือกสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่พอดี ก็น่าจะช่วยให้นโยบาย “อาหารปลอดภัย” สำเร็จลุล่วง และคนไทยก็จะมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77645เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท