จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

การชมที่เหมือนไม่ได้ชม


สมัยก่อนผมเคยได้ยินว่า การชมเด็กเล็กๆ นั้นไม่ดี เช่น ชมว่าน่ารักไม่ได้ เพราะเด็กจะเจ็บจะป่วยได้ เดิมผมคิดว่าในอิสลามไม่มีแนวคิดนี้ แต่ตอนนี้เปลี่ยนแปลงนิดหน่อยครับ เปลี่ยนยังไงลองอ่านดูนะครับ

คนโบราณเขาห้ามไว้อย่างหนึ่ง คือ อย่าชมเด็ก เพราะเด็กจะเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ดังนั้นในแนวทางที่มีการชมของวัฒนธรรมไทยคือ เด็กนี้น่ารักน่าชังจริงๆ ซึ่งคนปัจจุบันเข้าใจว่า(ผมเองที่แต่ก่อนเข้าใจเอง) น่าชังน่าจะหมายถึง น่ารักน่าเอ็นดู แต่ปรากฏว่า คำว่า น่าชังหมายถึงน่าเกียจ คือ ถ้าพูดว่า น่ารักน่าเอ็นดูกับเด็กโบราณจะบอกว่าไม่ดี

ผมไม่เคยรู้ว่าหลักการในอิสลามว่าเรื่องนี้ไว้อย่างไรบ้าง จนเมื่อได้ฟังคำบรรยายจากอาจารย์มัสลัน มะหะมะ ที่ระบุไว้ว่า ในอิสลามไม่นิยมให้ชมมากจนเกินไปเหมือนกัน ไม่ใช่ต้องตำหนิด้วย ดังนั้นในประเทศอาหรับหากจะไปชมลูกของเขา ว่า น่ารักจังเลย อย่างนี้เขาโกรธแน่นอน เพราะเขาจะกลัวว่า ความน่ารักนั้นจะเปลี่ยนไป คือ การชมเฉยๆ จะทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพไปในทางตรงกันข้าม (แต่เหตุผลที่เขาเชื่ออย่างนั้นเป็นเพราะอะไรนั้น ผมลืมจริงๆ ว่างๆ จะขอกลับไปดูในสมุดโน้ตอีกทีหนึ่งนะครับ

ดังนั้นหากจะชม ต้องอย่าชมอย่างเดียว แต่จะต้องพวงคำว่า ما شأالله

หมายถึง เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์ คือ เป็นการระบุว่า สภาพคำชนนั้นเป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์นั้นเอง เป็นการขอให้สภาพนั้นยังคงอยู่

ผมก็เลยคิดว่า แนวคิดนี้คล้ายๆ กัน ต่างกันตรงที่ในอิสลามไม่จำเป็นต้องเอาคำตรงข้ามมาใช้ร่วมกัน เพียงแต่ต้องช่วยขอดุอาให้เด็กด้วยเท่านั้นเอง

เป็นเด็กนี้ลำบากนะครับจะชมสักทีก็ชมอย่างเต็มปากไม่ได้(ตามสำนวนไทย)

ออ. ลืมบอกไป ที่ผมยกการชมในอิสลามนั้น ไม่ได้ระบุไว้เฉพาะการชมเด็กเท่านั้นนะครับ แต่ทุกคำชมต้องตามด้วย มาชาอัลลอฮ์ครับ

หมายเลขบันทึก: 77607เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท