ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยี่


เทคโนโลยี

  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยี                                                               ในสภาวะปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังเผชิญความผันผวนของการเมือง เศรษฐกิจและการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็วกว่ายุคใดๆที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทยตกอยู่ภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ทำให้คนไทยหลงกระแสการไหลบ่าของวัฒนธรรมและค่านิยมของต่างชาติจนเกิดความเชื่อว่าของสากล หรือของฝรั่งเป็นของดี จนลืมพื้นฐาน    ทุนสังคม สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตไทยของตนเอง                                        

โอกาสและผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์                                        

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตมากขึ้น เกิดการคิดค้นสินค้าและบริการใหม่จากเทคโนโลยีจิ๋ว ในขณะเดียวกันก็เกิดการกีดกันทางการค้าที่อาศัยเทคโนโลยี หรืออาชญากรรมข้ามชาติ/ อาชญากรรมไซเบอร์/ภัยจากอินเตอร์เน็ต จนเกิดคำถามขึ้นว่า การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร คำตอบที่ได้คือ ไม่ขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเทคโนโลยีก่อให้เกิดความก้าวหน้าในเชิงพัฒนา จึงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ กล่าวคือสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ด้วยตนเอง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี โดยเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเน้นแนวทางการดำเนินทางสายกลาง จะมีส่วนเสริมการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาใช้อย่างเหมาะสมดังนี้ คือ                  

· ความพอประมาณ ทำให้คำนึงถึงระดับของเทคโนโลยีที่จะใช้ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะกับการพัฒนาของประเทศในขณะนั้น โดยใช้ทางสายกลาง เช่น การให้การสนับสนุนสร้างความชำนาญให้กับนักพัฒนาโปรแกรม, การวางแผนการใช้ซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมต่างๆ  เท่าที่จำเป็น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด                

· ความมีเหตุผล ทำให้คำนึงถึงประโยชน์และโทษของเทคโนโลยีนั้น ๆ รวมถึงพิจารณาในด้านความประหยัด คุณภาพและความคุ้มค่า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้ตัดสินใจได้ว่าควรรับการถ่ายโอน และเตรียมพร้อมการจัดการที่เหมาะสมกับสถานการณ์และก่อประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ                                                   

· การมีภูมิคุ้มกันที่ดี  ทำให้การพัฒนาในเชิงการลงทุนทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างพอดี ไม่น้อยเกินไป จนต้องพึ่งพิงภายนอกตลอดเวลา แต่ก็ไม่มากเกินไปจนเกิดความเสี่ยง หรือก่อให้เกิดหนี้สินล้นพ้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดการผูกขาดสินค้าเทคโนโลยีจากต่างชาติ และลดการพึ่งพาซอฟท์แวร์จากต่างชาติ ทำให้เกิดความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจ เป็นการเตรียมความพร้อมถึงผลกระทบทางลบและผลกระทบทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้น                                                                                         

· เงื่อนไขด้านความรู้  การดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัยเงื่อนไขด้านความรู้ไม่ใช่เฉพาะด้านเทคนิคเท่านั้น แต่จะต้องใช้ความรู้เชิงสังคมด้วย เช่น การสนับสนุนการสร้างสื่อ แหล่งเรียนรู้ เครือข่ายหรือชุมชุนให้แก่ผู้สนใจ ,ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับภูมิปัญญาไทยในแบบบูรณาการ                                                                                                                                

· เงื่อนไขด้านคุณธรรม  ต้องมีความเอื้อเฟื้อ แบ่งปันความรู้เพื่อการพัฒนาไปพร้อมกันโดยยึดหลักความรักความสามัคคี มีความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อสังคม  

สรุป เศรษฐกิจพอเพียงทำให้การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ ต้องประกอบด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง มุ่งประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนส่วนใหญ่ และประเทศ เพื่อให้การนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และพอเหมาะต่อการพัฒนาในแต่ละช่วงของระดับการพัฒนาประเทศ     

อ้างอิง คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร? กรุงเทพมหานคร.2548                                                                                                                       

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"                                     

นายเฉลิมพล เกิดมณี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โลกาภิวัตน์ ผลกระทบ และการเตรียมพร้อมเชิงรุก”         

 www.itdestination.com

หมายเลขบันทึก: 77600เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
เป็นความหมายที่ดีนะครับเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่เขียนมา ถ้าหากคนไทยทุกคนสามารถที่จะนำมาปฎิบัติได้เหมือนกันทุกคนคงจะดี ฉะนั้นเราเป็นคนรุ่นใหม่เราต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม.....ยิ่งเราเริ่มที่จะปลูกฝังตั้งแต่ตอนนี้อนาคตของชาติคงดูดีกว่านี้เป็นแน่
ความหมายดีมากเลยค่ะ  บ่งบอกถึงผู้เขียนมีความรู้และประสบการณ์สั่งสมไว้มาก  คงแก่เรียนหรือเปล่าค่ะ
เป็นบทความที่อ่านแล้วทำให้ทราบว่ากระแสโลกาภิวัฒน์ที่ไหลบ่าเข้ามาในประเทศไทย ส่งผลกระทบในด้านดีและเลว อยู่ที่ว่าใครจะนำไปปฏิบัติอย่างไร ก็ขอให้ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้ จะน้อมนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ต่อไปนะครับ เพื่อตัวเรา สังคมส่วนรวม
เขียนดี แมมีสีสันอีกต่างหาก

ไม่ว่าจะมีอะไรเข้ามากระทบก็ตาม เราต้องนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ รวมถึงด้านเทคโนโลยี ด้วยค่ะ

ในช่วงที่กระแสโลกาภิวัฒน์เกิดขึ้นทำให้มีผลกระทบต่อหลายสิ่งหลายอย่าง  แต่ทุกคนต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสดังกล่าวให้ได้  โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของกระแส  เป็นการดีที่จะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คุ่กัน

เศรษฐกิจพอเพียงทำให้การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ ต้องประกอบด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง มุ่งประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนส่วนใหญ่ และประเทศ เพื่อให้การนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และพอเหมาะต่อการพัฒนาในแต่ละช่วงของระดับการพัฒนาประเทศ     ประยุกต์ใช้เพื่อถ่วงดุลในกระแสโลกาภิวัตน์
เป็นบทความที่ดีมาก พวกเราได้แง่คิดหลายๆอย่างที่ได้อ่านบทความนี้ ดีจริงๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะไม่ขัด ต่อกระแสโลก ยังเป็นปรัชญาที่ทำให้ประเทศ ดำเนินอยู่ได้ด้วยความยั่งยืน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
การนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาใช้ ทำให้คนทั่วไปสามารถแสวงหาความรู้ได้โดยไม่จำกัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ใช้จะต้องสามารถเข้าใจและนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
เขียนได้ดีนะคะ สะท้อนให้เห็นความฟุ่มเฟือยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถ้าสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ น่าจะก่อให้เกิดผลดีกับประเทศค่ะ
เขียนสะท้อนมุมมอง เห็นภาพได้ดีคับ

เทคโนโลยีน่าจะดำเนินไปพร้อมกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีถ้ายึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จริงด้วย ๆ แน่นอนที่สุด อ่านแล้วมองเห็นภาพเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท