Sufficiency IT


ไอทีบนวิถีพอเพียง

Sufficiency IT                

               ภาพยนตร์ Sci-Fi หลาย ๆ เรื่อง เช่น The Metrix, 2001 A Space Odyssey และ  I Robot เหล่าบรรดานักเขียนได้สร้างประเด็นเรื่องของเทคโนโลยีโลกแห่งอนาคต นักเขียนเหล่านั้นจินตนาการถึงโลกในอนาคต มนุษย์พัฒนาคอมพิวเตอร์ สมองกล หุ่นยนต์ การติดต่อสื่อสาร จนถึงขีดสูงสุด จนกระทั่งเทคโนโลยีที่เราสร้างมันอยู่เหนือการควบคุมและย้อนกลับมาเล่นงานมนุษย์เสียเอง     ความน่ากลัวของเทคโนโลยี ถึงแม้มันจะเป็นเพียงภาพยนตร์ที่ถูกสร้างโดยกลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ แต่มันก็ทำให้เราคิดไปได้ไกลถึงขั้นว่า เทคโนโลยีเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตจากความเป็นมนุษย์ปกติ อีกหน่อยเด็ก ๆ จะเขียนหนังสือไม่เป็น เด็กจะเริ่มชั้นอนุบาลด้วยการหัดพิมพ์สัมผัส แทนการเขียน ก ไก่  ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวที่สุดของเทคโนโลยีคงเป็นการที่มันทำให้เราสบาย จนเคยตัว  เทคโนโลยีทำให้เราสะดวกขึ้น แต่เราก็จะลำบากขึ้นในการดำรงชีพ เพราะเทคโนโลยีทำให้เราต้องจ่ายเงินซื้อของแพงขึ้นเรื่อย ๆ  แม้เราอาจจะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือของเรา แต่เราเองก็สร้างความเคยชินในการพึ่งเทคโนโลยีโดยไม่รู้ตัว

               แล้วความพอดีทางเทคโนโลยีคืออะไร?  คือ การรู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง     ดั่งพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาตลอดนานกว่า 25 ปี  เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  เศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอดี อยู่อย่างพอเพียง พอดีให้กับจิตใจ พอดีให้กับสังคม พอดีด้านเศรษฐกิจ พอดีทางด้านทรัพยากร และ พอดีทางด้านเทคโนโลยีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเทคโนโลยีเป็นที่สุด พระองค์ท่านไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีสมัยใหม่เลย แต่พระองค์ท่านติดตามและศึกษาอย่างมีสติรู้เท่าทันเสมอมา พระองค์ทรงสอนคนไทยทั้งผองให้รู้จัก บริโภคตามฐาน อย่าตกหลุมพรางของความต้องการที่ถูกสร้างโดยนักการตลาด (Created Demand) อย่าเป็นหนี้ จงพัฒนาตนเองตามกระแสโลกาภิวัตน์ แต่อย่างมงาย ก้าวตามโลกอย่างมั่นคง ไม่ใช่กระโดดเข้าใส่แบบไม่มีสติ

               เศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ใช้ ปัญญานำทาง   สอนให้พสกนิกรของพระองค์ท่านได้เรียนรู้ และรู้จักที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข อย่างพอเพียง  หากพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของเราแล้ว เราจะรู้ว่าความสุขอย่างพอเพียง เป็นความสุขที่ยั่งยืน

               แล้วการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านมาใชเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของเรา มีหลักง่าย ๆ อยู่ 3 หัว 2 เงื่อไข ดังนี้

               1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

                2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินในเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนี้น จะต้องเป้นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณจากเหตุปัจจับที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขี้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

               3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรัลผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

                4. เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำนเนิกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศับทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

               -  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

              -  เงื่อไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ และไม่ตระหนี่

               การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในทุก ๆ ด้านของชีวิต คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่การเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี  เราจะได้รู้ว่า ความสุขอย่างพอเพียง เป็นความสุขที่ยั่งยืน และแท้จริง

              

บรรณานุกรรม                

               ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล. หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์, 2549                

                คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. พิมพ์ครั้งที่ 3, 2549            

               www.sufficiencyeconomy.org                 

               www.nesdb.go.th/sufficiencyEcon/main.htm                         

              www.chaipat.or.th/chaipat/journal/aug99/thai/self.html                         

               www.seameo.org/vl/articles/ited.htm 

คำสำคัญ (Tags): #mnednapha
หมายเลขบันทึก: 77590เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

     น่าสนใจมากครับเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง  นับว่าเป็นความโชคดีของคนไทยที่พ่อหลวงของเราพระราชทานแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาให้พวกเราทุกคนใช้  ซึ่งไม่รู้ว่าประชาชนชาวไทยจะซึมซับนำไปใช้บ้างหรือเปล่า ความจริงเยาวชนน่าจะนำไปใช้มากที่สุดเพราะว่าจะต้องเข้ามาดูแลบริหารประเทศในอนาคต 

 

มีความคิดที่ดีค่ะ  งามทั้งใจและทั้งกายเลยนะค่ะ

เศรษฐกิจพอเพียงที่เราพูดถึงกันอย่างมากในปัจจุบันนั้น  ถ้านำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันประยุกต์ใช้ได้ในระดับครัวเรือน ระดับองค์กร ระดับชุมชน เป็นไปอย่างมั่นคงในความคิดและการกระทำ  นำทฤษฎีพระราชทานนี้ประยุกต์ให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเพื่อความสมดุลของประเทศ และหันมองสภาวะกาลตามความเป็นจริง เพื่อการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตประชากรจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน ได้มากกว่านโยบายแบบภาพลวงตาอย่างเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
บทความน่าสนใจมากครับ  ถ้านำไปใช้จะดีมาก

โห! พี่เนตรเขียนได้สุดยอดเลยอ่ะ ขอชมเชย แปะ...แปะ...แปะ (เสียงปรบมือดังสนั่นกึกก้อง) 

เจ๋งมากพี่

เขียนได้แหวกแนวดีมาเลยเพื่อน  ต้องจินตนาได้  สร้างความคิดดี 
เป็นความคิดที่ดีที่ทุกคนมองเห็นและเข้าใจในหลักความคิดทฤษฎีของในหลวง
เก่งจังนะ ตัวแค่เนี้ย สามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับภาพยนตร์ได้ เป็นความคิดที่ดี ขอบคุณสำหรับบทความที่ดีนะคะ
ล้ำมากๆคับ  เขียนได้ดีมาก
เขียนได้ดีค่ะ  เป็นแนวความคิดที่ดี

สวยน่ะย่ะ เธอน่ะ

เขียนดีอีกตางหาก

ทนอ่านต่อไปไม่ไหวแล้วตามันร้อย ไปหาน้ำเย็น ๆมาดับไฟในตาดีกว่า

สามารถยกตัวอย่างประกอบได้ดีค่ะ ทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะด้านใดก็สามารถนำแนวคิดพอเพียงไปใช้ได้จริง เขียนได้น่าสนใจ อีกมุมมองหนึ่งค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท