ไอทีตามวิถีพอเพียง


เงินนำหน้าปัญญาตามหลัง

คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงมีพระราชดำรัส เพื่อที่จะชี้แนวทางในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ของประชาชนชาวไทย ดั่งจะเห็นได้จากพระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540” ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันในหลายหน่วยงานทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขยายความคำว่า พอเพียง เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง พอมี พอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น ทุกวันนี้เศรษฐกิจพอเพียง ไม่เพียงแต่จะครอบคลุมเฉพาะในระดับรากหญ้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงคนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับรากหญ้าไปจนถึงระดับสูงสุดของประเทศทุกระดับจำเป็นต้องนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของตนเอง วิถีความเป็นอยู่การดำเนินชีวิต รวมถึงการพัฒนาและบริหารจัดการประเทศให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์  ก็สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ คำว่า พอ หรือ พอเพียง นั้นก็คือ พอแค่นั้นเอง ต้องมีความพอประมาณ หากจะเปรียบเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ก็เปรียบได้กับรากของต้นไม้ที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ในอัตราส่วนที่พอดีและเหมาะสมก็จะทำให้รากของต้นไม้นั้น ยึดติดกับพื้นดินได้อย่างมั่นคง และสามารถผลิดอกออกผลต่อไปอีกได้ หากขาดซึ่งการดูแลเอาใจใส่หรือถ้าให้อาหารแก่ต้นไม้มากจนเกินไป ก็จะทำให้รากของต้นไม้นั้นเกิดโรคหรือเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด ชีวิตคนก็เช่นเดียวกัน ต้องเดินทางสายกลาง ซึ่งจะทำให้ชีวิตเกิดความสมดุล มีความพอเพียง พอดี ไม่สุดโต่งจนเกินไป ส่งผลให้ชีวิตเกิดความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตได้การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้จริงเพื่อเอาชนะพลวัฒน์แห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกในท่ามกลางของกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการแข่งขันและการดำรงอยู่ในยุคนี้คือ เทคโนโลยีสารสารสนเทศ อุตสาหกรรม ฐานข้อมูล และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งปัจจัยหลักมีพลังอำนาจที่จะสามารถรับมือต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง และเป็นเครื่องมือในการพัฒนามากที่สุดก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยสังเกตได้จากองค์การต่างๆมุ่งให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยการลงทุนด้วยงบประมาณจำนวนมาก แต่ดูเหมือนจะเข้าทำนองที่ว่า เงินนำหน้าปัญญาตามหลัง ซึ่งไม่รู้จักความพอประมาณที่เหมาะสมกับองค์การของตน และไม่วิเคราะห์ถึงความสมเหตุสมผลเรื่องความจำเป็นเพื่อใช้ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างเกิดคุณค่า อีกทั้งขาดการมองถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ที่มีผลกระทบต่อ คน งบประมาณ และกระบวนงาน เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจเกิดการต่อต้านขึ้นได้ บางครั้งอาจทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการลงทุนสูงสูญเปล่าได้ ทั้งนี้เพราะขาดการสร้างภูมิคุ้มกันของความเสี่ยงไว้ มีแนวโน้มต้องล้มเลิกโครงการหรือไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุน แต่จากการวิเคราะห์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวมาใช้แล้วไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน อันเนื่องมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ผู้ที่จะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ขาดความรู้ในเรื่องนี้ ตั้งแต่ผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจอนุมัติงบประมาณ ตลอดจนบุคลากรขาดความรู้ความสามารถที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และประการต่อมาที่สำคัญคือ ปัญหาคอร์รัปชั่น ทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  แต่ละระบบมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าตัวระบบเองหรือค่าดูแลรักษาระบบก็ตาม หลายโครงการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ( Conflict Interest ) ระหว่างผู้มีอำนาจอนุมัติและบริษัทผู้ให้บริการ ดังนั้นในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงยังได้เสนอเงื่อนไขของการพัฒนาบนพื้นฐาน 2 เงื่อนไขด้วยกัน คือ ต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขของการสร้างความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องต่อการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับนโยบายหรือโครงการต่างๆ และเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่งเป็นเรื่องของการตั้งอยู่บนหลักคุณธรรมจริยธรรมป้องกันการสูญเสียงบประมาณอันเกิดจากการคอร์รัปชั่น เน้นให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการตั้งมั่นในคุณธรรมให้กระบวนการยุติธรรมและสังคมแสดงให้เห็นถึงบทลงโทษของผู้ที่ได้กระทำผิด  เราจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีความสำคัญกับทุกหน่วยงาน ทุกระดับชั้นมีทั้งปรัชญาในแง่ของการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจต่างๆ ซึ่งจะทำให้เห็นถึงความลงตัวของทฤษฎีนี้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้นำไปใช้ได้อย่างมากมาย          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสเพิ่มเติมว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะอยู่มั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป นั่นก็หมายความว่า ถ้าคนเรารู้จักทำอะไรให้เกิดความพอเพียงไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม คิดในสิ่งที่ดีมีความพอประมาณและมีเหตุผล ก็จะส่งผลให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นมาในชีวิต แต่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามไป และมุ่งแต่จะแก่งแย่งแข่งขัน มีความละโมบโลภมาก เพื่อจะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ และยิ่งถ้าคนมีความคิดที่โลภ อยากได้เหมือนกันหมด รับรองได้ว่าประเทศชาติคงล่มสลายเป็นแน่ รากฐานความมั่นคงของแผ่นดินก็คงถูกสั่นคลอน และเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย

อ้างอิง 1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, พระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา, ณ ศาลาดุสิตาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2541.2. ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานไว้    ในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่     เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของประชาชนโดยทั่วไป

 

หมายเลขบันทึก: 77588เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เขียนได้ดีจริงๆ นะครับ  เข้าใจการปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น 

แต่เสื้อสีชมพู...... ไปหน่อยนะ

เป็นความหมายที่ดีนะครับเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่เขียนมา ถ้าหากคนไทยทุกคนสามารถที่จะนำมาปฎิบัติได้เหมือนกันทุกคนคงจะดี ฉะนั้นเราเป็นคนรุ่นใหม่เราต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม.....ยิ่งเราเริ่มที่จะปลูกฝังตั้งแต่ตอนนี้อนาคตของชาติคงดูดีกว่านี้เป็นแน่
  • ดีใจที่มีคนสนใจเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น  มาช่วยกันเผยแพร่นะคะ  เพราะดิฉันมีรุ่นพี่อยู่กปร.เขาบอกว่า  ลำพังกปร.อย่างเดียวคงไม่ไหว  อาชีพครูเป็นอาชีพที่สามารถช่วยในการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มากที่สุดค่ะ

ดีมากเลยค่ะอาจารย์เต็ด อยากให้คนท้องถิ่นที่นุชได้ทำงานด้วยมาอ่านบ้าง เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการทำงานของพวกเค้า

ทุกวันนี้จะคอยปลูกฝังให้คนท้องถิ่นดำเนินรอยเศรษฐกิจพอเพียงไปพร้อมๆ กันค่ะ

อาจารย์นุช โครงการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น

เรียน...ทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นครับ ช่วงนี้งานเยอะ แต่ตั้งใจว่าจะต้องนำบทความมาลงเพิ่มอีกครับและก็อยากให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีก ยิ่งเปลี่ยนยิ่งรู้ยิ่งแลกยิ่งได้ครับ บทความต่อๆไปผมจะเน้นหนักไปที่การเป็นวิทยากรกระบวนการท่านใดสนใจและทำงานด้านนี้อยู่ยินดีแลกเปลี่ยนนะครับ...

ความหมายดีมากค่ะ  ทำให้เราทราบการดำเนินชีวิตกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ความคิดด้านจิตใจขัดแย้งกับทางกายที่อุดมสมบูรณ์นะค่ะ

อยากให้ทุกคนนำไปปฏิบัติเพื่อจะได้ใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศแม้จะเห็นผลช้าแต่เป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน  ไม่ใช่นโยบายภาพลวงตาอย่างแน่นอนครับ

อยากให้เป็นจริงนะคะในด้านปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ประเทศเราสามารถพึ่งตนเองได้
จะรออ่านค่ะ เพราะเทอมหน้ารู้สึกว่าจะต้องลงวิชาเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ คงได้มาลปรร.กันอีกค่ะ
เขียนได้ดีมาก  ฝากช่วยนำไปเผยแพร่ต่อด้วยจะดีมาก 
เขียนดีมากครับมืออาชีพจริงๆ
ดีมาก การเขียนบทความที่ดี บ่งบอกวิธีคิดและประสบการณ์การเรียนรู้และเข้าใจที่ในหลวงได้ตรัสไว้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะไม่ขัด ต่อกระแสโลก ยังเป็นปรัชญาที่ทำให้ประเทศ ดำเนินอยู่ได้ด้วยความยั่งยืน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
ผมคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงถ้านำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตของเราก็สามารถทำให้ชีวิตเราอยู่อย่างมีความสุขได้ ผมได้แง่คิดจากบทความนี้ครับ...
เขียนได้ดีตามแนวทางอาจารย์เต็ด
สมแล้วที่เป็น MC มือโปรมากค่ะ ขอชมเชย จากใจจริง อ่านแล้วอยากทำเดี๋ยวนั้นเลยล่ะ
ความคิดดีค่ะ รู้จักนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท