บอกกล่าวเรื่องรูป


พยายามตัดแปะอยู่สองสามรูป ...แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายรูปที่สำเร็จก็เป็นอย่างที่เห็น

ครูนงเมืองคอนบอกว่าให้หารูปใส่ด้วย 

พยายามตัดแปะอยู่สองสามรูป เป็นรูปที่ถ่ายที่ญี่ปุ่นบ้าง ที่ภาคอีสานบ้าง แต่ไม่สำเร็จ  สุดท้ายรูปที่สำเร็จก็เป็นอย่างที่เห็นค่ะ  ทายถูกไหมคะ ว่าลำธารที่เห็นข้างหลังคือที่ไหน  

เป็นความบังเอิญนะคะว่า รูปที่สำเร็จนี้ มีลำธารที่คีรีวง เมืองนครฯเป็นฉากหลัง  ที่จริงรอบๆตัวมีนักศึกษาจากธรรมศาสตร์อีก 4 คน

ตอนนั้น (ปี 48) เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสสอนวิชาพัฒนาชนบทไทย  หลังจากที่วิชาถูกปิดไปหลายปี (ในโครงการภาคภาษาไทย) เพราะขาดอาจารย์ผู้สอน  วิชานี้พานักศึกษาลงมาอยู่กับชาวบ้านเป็นเวลา 2 เดือนเต็มในภาคฤดูร้อน   เป็นวิชาที่อาจารย์ป๋วยท่านได้ริเริ่มไว้เมื่อกว่าสิบปีก่อน  น่าจะเป็นครั้งแรกของเมืองไทยด้วยกระมังที่มีวิชาลักษณะนี้

เลือกนครฯเป็นพื้นที่แรก ด้วยเหตุผลของความชอบและความสนใจในพื้นที่อย่างที่เคยเขียนเล่าแล้วค่ะ   (ตอนนั้นยังบอกนักศึกษาว่า ถ้ามีโอกาส ตอนแก่ๆ จะลงมานั่งเขียนหนังสือเรื่องเมืองนครฯสักเล่ม)  นักศึกษา 4 คน อยู่ใน 4 ที่  นอกจากที่คีรีวงแล้ว  ยังส่งไปอยู่กับชาวประมง   อยู่กับชาวสวน  และอยู่วัดป่ายาง  ผู้อุปการะทุกท่านน่ารักมาก  เราได้เรียนรู้เยอะ และยังติดต่อผูกพันกันมาจนปัจจุบัน

....เมื่อจัดการกับรูปเสร็จก็เลยถือโอกาสเพิ่มเติมประวัติส่วนตัว เพื่อรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของชาว blog ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 77539เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 02:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 07:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ดีใจที่อาจารย์ทำได้ เป็นรูปคีรีวง นครศรีธรรมราชเสียด้วย โอโห! น่าดีใจ รูปนี่เปลี่ยนได้เรื่อยนะครับอาจารย์ตามแต่จะได้เปลี่ยนเป็นรูปอะไร
  • ได้อ่านประวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วครับ น่าสนใจครับ ขำครับที่อาจารย์เขียนว่า ลาว ญี่ปุ่นก็อีสานของไทย ลาวนะไม่เท่าไหร่แต่ญี่ปุ่นนะสิครับขำมากเลยครับ
  • ขอบที่อาจารย์เขียนว่าเอาวิชาที่อาจารย์ป๋วยทำเอาไว้เมื่อกว่าสิบปีก่อน  ปิดไปแล้วมาสอนใหม่...
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณอาจารย์จำนงค์ที่เข้ามาเยี่ยม blog ค่ะ

วิชาพัฒนาชนบทไทยที่ เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ มี 2 ระดับ  ระดับหนึ่งสอนภาคทฤษฎีและประสบการณ์  ระดับที่สอง พานักศึกษาลงพื้นที่จริง   

วิชาที่ไม่ค่อยได้เปิดสำหรับภาคภาษาไทย คือ วิชาที่สองค่ะ    แต่เราเคยมีอาจารย์อภิชัย พันธเสน (ก่อนท่านเกษียณ) และปัจจุบันมีอาจารย์สุขุม อัตวาวุฒิชัย สอนในภาคภาษาอังกฤษค่ะ    ทั้งสองท่านเป็นศิษย์อาจารย์ป๋วย    ดิฉันเคยมีโอกาสพบท่านเพียงครั้งเดียว ตอนท่านกลับจากอังกฤษมาเยี่ยมเมืองไทย  ก่อนท่านเสียเพียงไม่กี่ปี

สิ่งที่ต้องทำคือ สร้างอาจารย์รุ่นใหม่ และคนรุ่นใหม่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท