ความช่างคิด...ช่วยแก้ปัญหาข้ามหน่วยได้ในข้ามคืน


การบอกเล่าพูดคุยคือที่มาของการแก้ปัญหา

สัปดาห์นี้พาคุณย่าของเด็กไปเจาะเลือด ครั้งนี้ท่านมาเอง เรารออยู่ด้านหลังคนเจาะเลือด ก็เลยได้สังเกตเห็นกระป๋องใส่เข็มที่ใช้แล้ว เห็นตอนที่คนเจาะต้องเอามือปลดเข็มออกมาทิ้งแล้วหวาดเสียวแทนค่ะ

   

จำได้ว่าที่ออสเตรเลียเค้าจะมีกล่องทิ้งเข็มที่เราไม่ต้องเอามือมาจับเข็มอีกเลย ใช้วิธีแหย่เข็มลงไปแล้วก็มีร่องที่จะตรึงเข็มทิ้งลงกล่องไปเลย คล้ายๆในรูปนี้ค่ะ

ความจริงเรามีนวัตกรรมกล่องใส่เข็ม ผลงานความคิดของทีมพี่วิทยาในโครงการ Patho OTOP แต่คงจะเป็นเพราะเวลายังไม่อำนวย จึงยังไม่สามารถผลิตให้ใช้กันได้ในทันทีทุกช่องเจาะเลือด

ตัวเองเก็บความเป็นห่วงคนเจาะเลือดติดหัวกลับมาที่ห้องแล็บ ทำงานทดสอบพิเศษไป ก็นั่งคิดไปว่าเอ๊ะ เราน่าจะหากล่องสารเคมีที่เรามี มาดัดแปลงใช้แทนไปก่อนได้ไหมนะ ดีกว่าแบบที่เขาใช้ๆกันอยู่ นำมาคุยกับคุณศิริ และคนอื่นๆในห้อง chem

ไม่ผิดหวังเลยค่ะ คุณพินิจ นักประดิษฐ์ประจำห้อง เสนอความคิดว่า เจาะกล่องสารเคมีแบบนี้ แบบนี้ ฯลฯ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเอาเครื่องมือมาลองทำดู วันรุ่งขึ้นเราก็ได้เห็นโรงงานผลิตกระป๋องทิ้งเข็ม ที่มีคนบริหารจัดการเพียงคนเดียวคือ คุณพินิจของเรานี่เอง เธอใช้เครื่องมือกรอแบบรูปฟันของภรรยา นำมาเจาะรูให้ได้รูปตามที่เธอออกแบบไว้ ผลิตออกมา 6-7 กล่อง เมื่อนำผลงานไปให้สาวๆห้องเจาะเลือดลองใช้กันดู ก็พบว่าเป็นที่ถูกใจ ใช่เลย เอาเข็มแหย่ลงไปแล้วเลื่อนลงมาตรงที่เป็นช่องแคบๆ บิดเข็มเล็กน้อย เข็มก็จะหลุดลงไปในกระป๋องได้เองโดยไม่ต้องจับเลย คนใช้ชอบใจ พวกเราก็พลอยปลื้มไปด้วยที่ได้ช่วยให้ปลอดภัยขึ้น

   

นี่แหละค่ะ เรื่องที่ไม่ใช่งานของเราเลย แต่เราก็สามารถช่วยเหลือกันได้ เพียงเพราะเราได้สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 77534เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์โอ๋ครับ ผมพาแม่ผมไปเจาะเลือดที่รามาธิบดี ก็พบว่าเขาใช้กล่องที่มีร่องตรึงเข็มแบบนี้เหมือนกัน ในใจยังนึกชมว่าก้าวหน้าดี และนึกว่าทุกที่คงเป็นแบบนี้เหมือนกัน 

idea ของคุณพินิจแจ๋วครับ ผมเลยเกิดไอเดียขอขยายความต่อนะครับ คือไปเห็นรูปนี้มาคล้ายๆ กับกล่องที่รามาธิบดี

เลยเกิดความคิดว่า ถ้าจะขยายเป็นกิจจะลักษณะแล้ว กล่องใหญ่ๆ ก็น่าจะดี จะได้ไม่ต้องถ่ายเทเข็มบ่อยๆ ก็จัดการหาซื้อทัพเพอร์แวร์รูปแบบนี้มาใช้ แต่ถ้าจะวางบนโต๊ะระดับเดียวกับที่วางของต่างๆ รูที่เจาะข้างบนน่าจะไม่เหมาะเพราะต้องโก่งมือทุกครั้ง น่าจะเจาะรูด้านข้างข้างกล่อง (บริเวณป้าย)   ที่สำคัญคือกล่องนี้ต้อง fix  เวลาดึงเข็มจะได้ไม่โยกไปมา แนะนำให้ซื้อแถบผ้าแบบไยแมงมุมมาใช้ครับ ติดที่กล่อง 2-3 แผ่น ยึดกับที่พื้นหรือฝา

ขอชื่นชมกับความใส่ใจในทุกสิ่งรอบตัวของพี่โอ๋ และความร่วมมือ+ฝีมือของคนรอบข้างนะคะ.. เห็นด้วยกับคำที่พี่บอกว่าการพูดคุยจะช่วยแก้ปัญหา/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยพัฒนาในงานได้ดีจริงๆ ก็เลยขอรบกวนให้พี่ได้แลกเปลี่ยนเพื่อน้องได้เรียนรู้เรื่องตู้ที่เพิร์ธให้ฟังหน่อยนะคะ ไว้พี่มีเวลาก่อนก็ค่ะ.. ขอบคุณมากค่ะ :)

คุณหมอมาโนชน่ารักจังค่ะ อุตส่าห์ช่วยคิดต่อ จะนำสิ่งที่คุณหมอเล่ามา ไปเผยแพร่ต่อนะคะ ความจริงเครื่องมือนี้มีที่ใช้มากมายเลยนะคะ เราไม่ค่อยรู้กันว่าที่ไหนใช้อะไร ถ้าได้มีการพูดคุยกันหลายๆที่อาจจะได้ทราบอะไรดีๆอีกเยอะนะคะ ยังไม่ได้สอบถามด้วยว่าราคากระป๋องต้นฉบับนั้นเท่าไหร่ค่ะ แต่ที่เราทำๆกันเองก็ลงทุนไม่มาก เพราะกล่องสารเคมีที่ใช้หมดแล้วมีเยอะ เอาไอเดียหลายๆอันมารวมกันคงยิ่งได้สิ่งที่เหมาะสมสะดวกใช้ขึ้นเรื่อยๆ

น้อง ลาภ คะ พี่ไม่ลืมค่ะ ขอเวลานิ้ดนึง จะติดต่อให้น้องที่ยังอยู่ที่โน่นถ่ายรูปสิ่งที่ทาง UWA หรือ Curtin ใช้เอามาบอกเล่าต่อกันค่ะ พี่จะเขียนเล่าถึงวิธีการที่เขาใช้ในการยืมคืนของนักศึกษาให้ด้วยค่ะ ระบบเค้าดีใช้ได้ค่ะ เผื่อจะเอามาดัดแปลงผสมผสานกับเราน่าจะได้บ้างค่ะ ถ้าอยากเข้าไปสำรวจดูก่อนก็ได้นะคะ ที่ link นี้เลยค่ะ

น้องโอ๋......ขา

 พี่ได้ทำตามที่น้องขอร้องและร้องขอแล้วนะคะ ความลับพี่อัมพร อ่านได้ที่ ค่ะขอเชิญอ่าน

ดีใจจังเลย พี่โอ๋ได้ยินเสียงน้องนู๋แร้ววว..ขออภัยด้วยนะคะที่ตามติดและกลายเป็นต้องรบกวนพี่ให้จัดการโน่นนี่ให้หลายอย่างเลย..ขอบพระคุณมากค่ะ ไว้พี่มีเวลาแล้วค่อยเล่าให้ฟังนะคะ น่าสนใจมากๆ เลย ระหว่างนี้ก็จะลองเข้าไปดูในเว็บที่พี่บอกมาค่ะ

สามารถดูกล่องทิ้งเข็มของเราได้ เราผลิตเอง เป็นสินค้าแฮนเมค ลดโลกร้อนได้ด้วย ราคาถูกมาก

WWW.wastecorner.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท