แนวคิดเครือข่ายนักจัดการความรู้ระดับชุมชนบุรีรัมย์ ตอนที่ 5


คือการจัดการกับระบบความคิดของตนเอง เป็นคนคิดมีขั้นมีตอนมากขึ้น ประมวลเหตูการณ์และมองเห็นอนาคตใกล้ ๆ ของตนเองได้ว่าจะเดินไปอย่างไร กล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ตนเองคิดว่าดี และได้รับคำแนะนำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่าย

           นางสาวพัทยา  เพียพยัฆค์    ที่อยู่  84 หมู่ 1  ต.บ้านจาน  อ.พุทไธสง  จ.บุรีรัมย์เจ้าของความคิดการจัดการผลผลิต 

         
จากการที่เข้ามา  เป็นเครือข่ายทำให้ได้ความรู้ในเรื่องการจัดการ เรียนรู้จากความไม่พร้อม หรือจัดการได้บนความไม่พร้อม  เช่น เรื่องการขาดแรงงานในการทำงานในแปลง เราต้องจัดการให้ได้ หาญาติพี่น้องมาช่วย ถ้าไม่มีจริง ๆ เราต้องรู้ว่าสิ่งใดควรเร่งทำ และสิ่งใดรอได้ ก็ให้จัดการตามลำดับ  ส่วนเรื่องเงิน ก็ทำเรื่องจำเป็นก่อน แล้วเรื่องไหนที่ใช้เงินน้อยทำได้ก็ให้รีบทำ ส่วนเรื่องไหนรอได้ก็ให้รอ บางเรื่องเราคิดว่าจะใช้เงินมาก แต่ถ้าเราจัดการดี ๆ แล้วก็ไม่มากเหมือนที่คิดก็มี

            จากการที่เข้ามาเป็นเครือข่ายได้พัฒนาตนเอง คือการจัดการกับระบบความคิดของตนเอง เป็นคนคิดมีขั้นมีตอนมากขึ้น ประมวลเหตูการณ์และมองเห็นอนาคตใกล้ ๆ ของตนเองได้ว่าจะเดินไปอย่างไร  กล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ตนเองคิดว่าดี และได้รับคำแนะนำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่ายที่มีประสบการณ์มากกว่าเรายิ่งทำให้มั่นใจมากขึ้น และได้เห็นตัวอย่างของเครือข่ายที่ทำแล้วประสบผลสำเร็จเป็นฐานให้เราได้เรียนรู้ ครูบาสุทธินันท์ให้คำปรึกษาหารือได้ทุกเรื่อง ยิ่งมีความอยากในการลงมือสร้าง ลงมือทำเพื่อหาความรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง

 
            ครูบาสุทธินันท์ได้ถ่ายทอดให้เครือข่ายเป็นคนต้องการเรียนรู้ และเครือข่ายได้เรียนรู้จากครูบาในเรื่องต่าง ๆ มากมาย โดยเห็นตัวอย่างจากการลงมือปฏิบัติจริงของครูบา ลองผิดลองถูก สุดท้ายก็ได้ความรู้ที่เป็นแก่นรู้จริง ๆ มาเล่าบอกเครือข่ายได้  ทำให้เราอยากเรียนรู้ อยากลองทำ บางทีครูบาให้โจทย์ไปแล้วให้เราไปคิดกระบวนการ เป็นหลายวันเราก็คิดไม่ได้คิดไม่ออก ต้องลองผิดลองถูก จ่ายค่าโง่ให้ตัวเองไปเยอะเลย จึงหาผลสำเร็จได้ บางเรื่องไม่ได้ต้องมีตัวช่วย มีการประชุมพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย กลับกลายเป็นเรื่องง่ายที่จะทำ          
           
ครูบาสอนให้ต้องเป็นคนคิดใหม่ คิดให้รอบคอบขึ้น ใจเย็นขึ้น คิดทบทวนหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเกิดปัญหาต้องดูว่าปัญหามาจากอะไร แล้วค่อยหาทางแก้ปัญหาจากสาเหตุนั้น จะง่ายกว่ามองที่ตัวปัญหาเพียงอย่างเดียว
         

           
ครูบาจะให้ความรู้และประสบการณ์ ให้แนวคิด แต่เราต้องต่อให้ติดกับความคิดของครูบา ครูบาจะมีพันธมิตรทางวิชาการเข้ามาช่วยเหลือมากมาย ทำให้เราและเครือข่ายเรียนรู้ไม่รู้จบ  พันธมิตรที่มาส่วนมากจะมาด้วยใจรักที่จะทำในเรื่องเดียวกัน  ไม่ได้มาเป็นทางการแต่มาแบบอิงระบบมาช่วยสนับสนุนและช่วยส่งเสริม เพื่อต่อยอดความรู้ที่มีอยู่แล้วให้เราได้มากมาย
                    

           
ได้หลักคิดที่ว่าทำอะไรก็ทำให้มีอยู่มีกินก่อน อย่าคิดถึงเรื่องของการขาย เหลือจากการกินการอยู่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางอื่นที่จะช่วยลดภาระในการจ่ายของเราได้หรือไม่ หรือสามารถผันไปเป็นอย่างอื่นที่มีมูลค่าเพิ่มก่อนที่มองเห็นเรื่องการขายไว้สุดท้าย หรือมองเรื่องการขายเป็นเรื่องของความเหลือเฟือ  เช่น เราปลูกกล้วยเยอะ พอมีลูกสุกเยอะ เหลือกิน ก็ให้วัวกินได้ เพื่อให้วัวอ้วนเพิ่มผลผลิตที่เป็นเนื้อ แทนที่จะขาย หรือถ้ามีหญ้าให้วัวกินอยู่แล้วถึงจะนำกล้วยมาแปรรูป เช่นทำกล้วยฉาบ ทำกล้วยทอด ขายได้
          ทำให้เราค้นคิดและจัดการในทรัพยากรที่เรามีอยู่ โดยไม่ต้องอาศัยเงิน เช่นเปลี่ยนจากกล้วยมาเป็นเนื้อ ดังในกรณีที่กล่าวมาแล้ว 

          ทั้งนี้สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญสุดคือการสร้างให้เราเปลี่ยนวิธีคิดและจัดการกับความคิดโดยนำมาจัดระบบให้มีความชัดเจน สามารถนำไปสร้างงานในภาคปฏิบัติได้โดยง่ายนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 77526เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • บันทึกนี้ก็เห็นภาพของความรู้  และการจัดการความรู้อย่างชัดเจนครับอาจารย์
  • เยี่ยมครับเยี่ยม
  • สวัสดีครับ

    ขอบคุณค่ะ เป็นมือใหม่หัดขับค่ะ      

                                     ครูน้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท