บรรยากาศ ช่วงที่ 2 ของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยสถาบัน


การทำวิจัยสถาบันแบบ "Leaning by Doing "

    ผ่านไปสดๆร้อนๆ นะครับ   สำหรับโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยสถาบัน ของ สถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา(IRDA) มหาวิทยาลัยนเรศวร สำหรับช่วงที่ 2 ของการอบรมในครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์โครงร่างวิจัย และตรวจสอบเครื่องมือวิจัย

ในช่วงเช้า เป็นการวิเคราะห์โครงร่างวิจัยในภาพรวม โดย อาจารย์บัณฑิตา  อินสมบัติ ซึ่งอาจารย์ ก็ได้ให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ ในการเขียนโครงร่างงานวิจัย แก่ผู้เข้าอบรม รวมทั้งการจัดทำเครื่องมือเก็บข้อมูล ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรม ก็ได้นำโครงร่างวิจัย ที่ตนเองได้เขียนมาเสนอในที่ประชุม พร้อมกับรับฟังข้อเสนอแนะจากวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม ในเวลาเดียวกัน

       <div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center">หลังจากพักรับประทานอาหารว่างเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นการแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะนำเสนอโครงร่างวิจัย ของแต่ละคนที่ได้ฝึกเขียนมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีส่วนไหนที่ดีและส่วนไหนที่ต้องแก้ไข จากการได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมอบรม บอกว่าช่วงนี้ทำให้เข้าใจการเขียนโครงร่างวิจัย มากยิ่งขึ้น เพราะได้ปฏิบัติจริง ทำให้เห็นถึงปัญหาของการเขียนโครงร่างวิจัย อย่างที่ภาษาทางการศึกษาว่า "Leaning by Doing " ซึ่งการแบ่งกลุ่มในครั้งนี้ ก็จะมีวิทยากรประจำกลุ่มซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ชำนาญ  ปาณาวงษ์ อาจารย์สิริพร  ปาณาวงษ์ และ อาจารย์บัณฑิตา อินสมบัติ เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมทั้งตอบปัญหาข้อข้องใจของผู้เข้าอบรมให้กระจ่างมากยิ่งขึ้น        </div><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center">หลังจากช่วงเช้าผ่านไป คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม ก็พักรับประทานอาหารเที่ยง เพื่อจะลุยกันต่อในช่วงบ่าย ระหว่างการรับประทานอาหารกลางวันผมก็ได้เข้าไปพูดคุยกับผู้เข้าอบรม ทำให้ทราบว่าบางท่านหลังจากได้พูดคุยกับคณะวิทยากรแล้วทำให้มีความมั่นใจที่จะทำวิจัยสถาบันเพิ่มมากขึ้น ได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ จากที่ไม่เคยทำวิจัยสถาบันมาก่อนก็ได้รับวิธีการคิดและกระบวนการเพิ่มมากขึ้น</div><p align="center"></p><p align="center"></p><p>ช่วงบ่ายเป็นการพูดถึงเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และเทคนิคในการทำเครื่องมือเก็บข้อมูล รวมทั้งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือ โดย รศ.ดร.รัตนะ  บัวสนธ์ ในช่วงนี้เองทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรู้ว่าเครื่องมือที่ตนเองได้สร้างขึ้นมา มีข้อดีตรงส่วนไหน และส่วนไหนที่ยังบกพร่องต้องแก้ไข ด้วยเทคนิคการพูดของ รศ.ดร.รัตนะ บัวสนธ์ ที่ทำให้เรื่องที่ยาก ง่ายต่อการเข้าใจ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากเครื่องมือที่ผู้เข้าร่วมวิจัยได้ทำมา ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจวิธีการมากยี่งขึ้น</p><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center">สำหรับการฝึกอบรมในช่วงที่ 3 จะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม SPSS และ Excel รวมทั้งการฝึกสรุปผลการวิจัย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 7 มีนาคม 2550 ณ ตึก CITCOMS แล้วผมจะนำบรรยากาศในช่วงที่ 3 มาเล่าสู่กันฟังอีกอีกทีนะครับ </div><p></p>

หมายเลขบันทึก: 77464เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you Sathit and all IRDA staff for running this meeting succesfull. As we believe, Chaordic organisation can bring us stronger.

 Well done

Samur

ขอบคุณน้องโทนที่นำบรรยากาศดี ๆ มาเล่าสู่กันฟัง พี่ก็เข้าอบรมด้วยในวันนั้น วิทยากรทุกท่านมีความสามารถมากค่ะ นี่ถ้าน้องโทนใส่วัน เวลา สถานที่ ของช่วงที่ 2 กำกับไว้ ข้อมูลจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นนะจ๊ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท