หลักพื้นฐานของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ


วิจัยเชิงคุณภาพ
จากที่ผู้ศึกษาได้เริ่มศึกษางานวิจัยและพัฒนาในการเขียนร่างวิทยานิพนธ์ พบว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้เขียนได้แนะนำไว้จากบทความที่ผ่านมา ในบทนี้จะกล่าวถึงการ หลักการพื้นฐานของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้ที่เคยทำงานวิจัยเชิงปริมาณจะพบว่าขั้นตอนนี้ เปรียบเทียบกับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การตรวจสอบการกระจายของข้อมูล หรือ แม้กระทั่งการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลโดยหลักสถิติต่างๆ แต่การวิจัยเชิงคุณภาพมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปดังนี้ เกณฑ์ประเมินคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานและผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวมที่สำคัญ คือ ความจริงแท้ (Authenticity) และความถูกต้อง / เชื่อถือได้ (Trustworthiness) ซึ่งประกอบด้วย ความวางใจ (Credibility) ความเชื่อใจ (Dependability) ความรับรอง (Conformability) แล้วเราจะตรวจสอบอย่างไรวันนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการตรวจสอบความวางใจเป็นเรื่องแรก ความวางใจ เป็นเกณฑ์ประเมินว่าข้อมูลหลักฐานและผลการศึกษาวิจัยที่ได้ตรงกับความ เป็นจริง (Truth value) ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากชุมชนและสังคมตามการรับรู้ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) หรือไม่ การเพิ่มความวางใจของข้อมูลเชิงคุณภาพ กระทำได้ดังนี้ 1. การขยายเวลาศึกษาในภาคสนามยาวนานขึ้น (Prolonged and persistent fieldwork) 2. การตรวจสอบความถูกต้องโดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง (Members checks) 3. การตรวจสอบโดยกลุ่มเพื่อนนักวิจัย (Peer Examination) 4. การเชื่อมโยงแบบสามเส้า (Triangulation) พบกันในหัวข้อต่อไป ในวันพรุ่งนี้คะ รุ่งกานต์ ปราชญ์ศรีภูมิ สม.4
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77457เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท