แนวคิดเครือข่ายนักจัดการความรู้ระดับชุมชนบุรีรัมย์ ตอนที่ 4


ได้แนวคิดในการออกแบบที่จะไปสร้างงาน ในแปลงนาของตนเอง วางแผนบริหารจัดการแปลงนาของตนเองให้เป็นแหล่งทำมาหากินในทุกรูปแบบได้ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

          พ่อทองดี  ศรีธรรม    ที่อยู่  122 หมู่ 9  ต.บ้านจาน  อ.พุทไธสง  จ.บุรีรัมย์เจ้าของความคิดคันนาเงินหมื่น

           จากการที่เข้ามา  เป็นเครือข่ายทำให้ได้แนวคิดในการออกแบบที่จะไปสร้างงาน ในแปลงนาของตนเอง วางแผนบริหารจัดการแปลงนาของตนเองให้เป็นแหล่งทำมาหากินในทุกรูปแบบได้ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ           

          
จากการที่เข้ามาเป็นเครือข่ายได้พัฒนาตนเองหลายด้านทั้งแนวคิด แนวปฏิบัติ การอยู่ร่วมกันในสังคม การสร้างสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
          จากงานที่เรามุ่งมั่นทำให้เรารู้จักคนมากมาย และคนอื่น ๆ ที่มีความรู้มีการศึกษาสูง ๆ ก็มารู้จักเรา ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจ      
          
คนในชุมชนเลียนแบบ แอบเรียนรู้จากเราไปทำ ไปปฏิบัติในแปลงของเขา บางคนมาขอคำแนะนำ เอาเราเป็นแบบอย่างในการสร้างงาน          
          
เป็นผู้นำชุมชน ลูกหลาน เยาวชนเอาไปเป็นแบบอย่าง  เราสามารถช่วยสร้างสังคมที่ดีได้ ด้วยการเป็นตัวอย่างให้เห็น
         
          
ผมใช้แนวคิดจากหลักพุทธศาสนาในการสร้างพระพุทธรูป ถ้าสังเกตให้ดี พระพุทธรูปจะมองต่ำ ผมเลียนแบบโดยมองงานจากฐานต่ำก่อน ทำจากที่มีอยู่ และพอทำได้ ทำจากการทำมาหากินในเรื่องปากท้องพื้นฐานก่อน  แล้วค่อยมองสูงขึ้นไปเรื่อย นั่นคือต้องมีอยู่มีกิน มีพอเพียงก่อน แล้วมองเรื่องการหาเพิ่ม การมีรายได้เพื่อการออม การสร้างงานเพื่อให้เป็นรายได้ต่อไป
           

          
ครูบาสุทธินันท์ได้ถ่ายทอดให้เครือข่ายเป็นคนต้องการเรียนรู้  และเครือข่ายได้เรียนรู้จากครูบามากจริง ๆ จนทำให้ผมเป็นคนกล้าคิด กล้าทำ กล้าต่อสู้และกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคและปัญหา  บางครั้งดูเหมือนไม่สำเร็จเพราะไม่เห็นผลผลิต แต่สิ่งที่ได้มันมากกว่าคำว่าสำเร็จ
         
           
เป็นแรงผลักดัน และคอยช่วยเหลือเราจนเราแกร่ง และกล้าที่จะเดินได้ ทำให้ได้เรียนรู้ ได้เปิดโลกกว้างขึ้นอีกตั้งมากมาย ทำให้เราได้เห็นคุณค่าของชีวิต และพลังที่เราสามารถทำได้ในบั้นปลายของชีวิต
         
           
ผมมีความสุขจริง ๆ กับการทำงานเป็นเครือข่ายของครูบา เราทำงานด้วยผลของงาน เราต้องการผล และประสิทธภาพของงานเป็นสิ่งตอบแทน เราต้องการความรู้เพื่อนำมาต่อยอดกับความรู้ของเรา เรายังได้เป็นเจ้าของความรู้นั้น แล้วพอมันประสบผลสำเร็จ ก็ทำให้เรามีความสุขแล้ว มีความภาคภูมิใจแล้ว สิ่งอื่น ๆ เป็นเรื่องที่เราต่อยอดได้ถ้าเรามีความรู้และมีเครือข่ายที่เข้าใจในเรื่องเดียวกันอย่างที่ครูบาทำอยู่ทุกวันนี้
    
       
         
ภาพฝันของคนสูงวัยทำให้เกิดเป็นจริงได้จากการปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีความรู้ที่จะนำมาต่อยอดความรู้แบบเดิม ๆ ให้ดีขึ้น แล้วย้อนกลับไปลงมือทำตามอยากฝัน สุดท้ายเกิดความสุขและความพอเพียงในชุมชนได้นั่นเอง  
 

หมายเลขบันทึก: 77424เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท