SAR ON BLOG : 9.3 การจัดการความรู้ในองค์กร


องค์ประกอบที่ 9 การประกันคุณภาพและการพัฒนาองค์กร 

ปฏิบัติการที่ดี


     สถาบันอุดมศึกษาพึงพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถาบัน


 

9.1 การประกันคุณภาพภายใน

9.2 ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน

9.3 การจัดการความรู้ในองค์กร

   

ดัชนีที่ 9.3 การจัดการความรู้ในองค์กร
ปฏิบัติการที่ดี

     สถาบันอุดมศึกษา มีการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน”


เกณฑ์การตัดสิน หลักฐานอ้างอิง
1. มีนโยบายและแผนด้านการจัดการความรู้ในองค์กรอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร  9.3.1 (1) นโยบายและแผนการจัดการความรู้
ประจำปีงบประมาณ 2550


9.3.1 (2) บันทึกจาก Blog : นโยบายพัฒนาระบบ e-sar ของคณบดี

 9.3.1 (3) นโยบายคุณภาพของสำนักงานเลขานุการ
 ข้อ 2
 
   
2. มี (1) + มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน  9.3.2 นโยบายและแผนการจัดการความรู้
ประจำปีงบประมาณ 2550
   
 3. มี (2) + มีการดำเนินตามนโยบายและแผน  9.3.3 บันทึกจาก Blog : กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ครั้งที่ 1
   
 4. มี (3) + มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 9.3.4 (1)  บันทึกจาก Blog : รายงานความก้าวหน้า SAR ON BLOG ครั้งที่ 1

9.3.4 (2)  บันทึกจาก Blog : รายงานความก้าวหน้า

9.3.4 (3) บันทึกจาก Blog : กิจกรรม KM for CAR
   
5. มี (4) + มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาการดำเนินงาน 9.3.5 SAR ON BLOG 49


การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแล : P  นายอนุวัทย์  เรืองจันทร์    โทร. 6225
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล :  นายชรินทร์  ร่วมชาติ  โทร. 6228
ปีที่แล้ว :  3 ในครั้งนี้ :  5 ปีต่อไป : 5
ผลการดำเนินงาน :
 สำนักงานเลขานุการ มีการดำเนินงานตามนโยบายและแผนด้านการจัดการความรู้ของคณะ โดยมีเลขานุการคณะเป็นผู้รับผิดชอบ มีการส่งเสริมให้บุคลากรในสำนักงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานประก้นคุณภาพผ่าน Blog มีการสร้างคลังความรู้ในงานประกันคุณภาพ และพัฒนารูปแบบวิธีรายงานการประเมินตนเอง โดยใช้ Blog
TOWS Analysis :
ภาวะคุกคาม T :  - การจัดการความรู้ในระบบราชการ ยังมีลักษณะที่เป็นแบบแผนตายตัว ขาดความยืนหยุ่น ทำให้การนำ KM มาใช้เป็นเครืองมือในการพัฒนางาน ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 
โอกาส O :

 - หน่วยประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย มีการจัดโครงการ KM Workshop ให้บุคลากรได้นำ KM ไปประยุกต์ใช้ในงาน QA งานวิจัย  และงานอื่น ๆ
- คณะฯ เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการทำ AAR
- คณะฯ ส่งเสริมให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก F2F ในการทำกิจกรรม
และ จาก B2B
- คณบดีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการนำ KM มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน

จุดอ่อน W :  - การสร้างบุคลากรของสำนักงานให้เป็นคุณอำนวยภายในงานยังมีน้อย 
 
จุดแข็ง S :   - สำนักงานเลขานุการมีการสร้างคลังความรู้ในเรื่องการประกันคุณภาพ ไว้บน Blog อย่างเป็นระบบ
โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :
- การจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อความสัมพันธ์อันดีของบุคลากรในการเรียนรู้ร่วมกัน
การประเมินตรวจสอบ (CAR)
 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 4

                                                                      

กรรมการประเมินตรวจสอบ ประจำปีการศึกษา 2549

 

กรรมการที่ประเมินตรวจสอบในองค์ประกอบที่ 9 ดัชนีที่ 9.3 การจัดการความรู้ในองค์กร

- อาจารย์ศุภวิทู  สุขเพ็ง
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ   คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

<NEXT>  /<สารบัญ>

คำสำคัญ (Tags): #sar-on-blog
หมายเลขบันทึก: 77393เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อ.ศุภวิทู สุขเพ็ง กรรมการตรวจประเมิน

ผลการประเมินปีนี้ : 5
ข้อเสนอแนะ
ข้อสังเกต สำนักงานเลขานุการคณะมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจ
                 ในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเผยแพร่ลงบน Blog
               ข้อเสนอแนะ  ควรมีการติดตามโครงการในแผนการจัดการความรู้ให้ครบทุกโครงการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท