SAR ON BLOG : 7.2 อำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน


องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและจัดการ

ปฏิบัติการที่ดี


     สถาบันอุดมศึกษา พึงจัดวางระบบการบริหารที่มีความคล่องตัว มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนระบบ มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารมาใช้ มีโครงสร้างและระบบที่สนับสนุนพันธกิจหลัก ซึ่งได้แก่การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ


 

7.1 โครงสร้างและระบบการบริหาร 

7.2 อำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน

7.3 ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล 
 
7.4 ระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ 

7.5 การมีส่วนร่วมในการบริหาร


ดัชนีที่ 7.2 อำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน
ปฏิบัติการที่ดี

     สถาบันอุดมศึกษา มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน (Job Description) ของบุคลากรแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน


เกณฑ์การตัดสิน หลักฐานอ้างอิง
1. มีนโยบายการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน (Job Description) ของแต่ละตำแหน่ง  7.2.1 ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง นโยบายการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน
   
2. มี (1) + มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน (Job Description) ของแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร  7.2.2 เอกสารอธิบายลักษณะงาน
   
 3. มี (2) + มีระบบหรือกลไกในการติดตามการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน  7.2.3 เอกสารอธิบายลักษณะงานของเจ้าหน้าที่บุคคล
   
 4. มี (3) + มีการประเมินการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน  7.2.4 แบบประเมินอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน ประจำปีงบประมาณ 2549
   
 5. มี (4) + มีการนำผลประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา  7.2.5 การเปรียบเทียบเอกสารอธิบายลักษณะงาน
   


การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแล :    นางสาวนิตยา  รอดเครือวัลย์    โทร. 6233
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล :    นางสาวสุพรรษา มะริด   โทร.  6237
 
ปีที่แล้ว : 5 ในครั้งนี้ : 5 ปีต่อไป : 5
ผลการดำเนินงาน :
สำนักงานเลขานุการมีการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายตามนโยบายของคณะ รวมถึงมีการประเมินและปรับปรุงการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานให้เป็นไปตามภาระงาน
TOWS Analysis :
ภาวะคุกคาม T : - การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานส่งผลให้ต้องปรับ Job Description ตามผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน
โอกาส O : - คณะมีการจัดทำประกาศนโยบายการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน ทำให้มีแนวปฏิบัติในการกำหนดอำนาจหน้าที่ การปรับเปลี่ยน และการประเมินเป็นไปอย่างชัดเจน โดยการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานนั้น ได้รับความเห็นชอบทั้งจากผู้บริหารและปฏิบัติ
จุดอ่อน W : -
จุดแข็ง S :

- มีเจ้าหน้าที่บุคคลเป็นกลไกหลักในการติดตามการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน
- มีแบบฟอร์มการปรับ Job description (JD3) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับเสนอ Job ของตนเองได้ตามที่ตนเองปฏิบัติ

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :
- พัฒนาวิธีการประเมินการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานผ่านโปรแกรม e-office

    

การประเมินตรวจสอบ (CAR)
 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 3
                                                                    

กรรมการประเมินตรวจสอบ ประจำปีการศึกษา 2549

 

 

 กรรมการที่ประเมินตรวจสอบในองค์ประกอบที่ 7 ดัชนีที่ 7.2 อำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน


- ดร.ศิริลักษณ์  ธีระภูธร
  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
  คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัย

<NEXT>  /<สารบัญ>

คำสำคัญ (Tags): #sar-on-blog
หมายเลขบันทึก: 77385เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ดร.ศิริลักษณ์ ธีระภูธร คณะกรรมการประเมิน
ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้  : 5
 ข้อสังเกต เนื่องจากมีขอบข่ายอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนดี ถือเป็นแบบอย่างที่ดี
นิตยา รอดเครือวัลย์

ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำ และคำชมจากกรรมการประเมินค่ะ

สำหรับอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานของบุคลากรสำนักงานเลขานุการ ซึ่งมีไว้ชัดเจน เป็นลายลักษ์อักษรอยู่ ทุกตำแหน่งหน้าที  แต่เนื่องจากบางครั้งมีการสับเปลี่ยนหน้าที่และเพิ่มหรือลดงานอยางอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง  จึงต้องมีการประเมิน อำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานในทุกๆปี  นอกจากนี้หากผู้ปฏิบัติมีความประสงค์จะปรับเปลี่ยน เพิ่มหรือลดงานบางอย่างก็สามาถทำได้โดยใช้แบบ JD3

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท