ไม่อยากพลาดเรื่องดีๆ เพียงเพราะไม่ได้ตามตลอด


เรายังขาดการจัดเรทติ้งเชิงคุณภาพ

วันนี้ผมได้อ่านเรื่องในบล็อก คนเป็นนาย เรื่อง ความกล้าหาญของ"ผู้จัดการ" ซึ่งอาจารย์มาลินี dhanarun บอกว่า "เป็นบันทึกที่ดีที่สุดสำหรับดิฉัน" พูดถึงข้อเตือนสติของ Peter Drucker  โห เขาให้ข้อคิดมา  44 ปีแล้ว เป็นเรื่องที่คุณ conductor ถ่ายทอดได้ดีทีเดียวครับ และข้อคิดนี้ผมเห็นว่าไม่ได้ใช้ได้สำหรับวงการธุรกิจเท่านั้น  ทำนองเดียวกันกับตำราซุนวู 

ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า บทความดีๆ อย่างนี้น่าจะมีคนอ่านกันเยอะๆ  ผมเชื่อว่าหลายคนไม่ได้อ่านเพราะเรื่องแบบนี้ถูกกลืนไปท่ามกลางความหลายหลากและเรื่องที่มีมากมาย เหมือนกับเรื่องของอาจารย์ Phoenix  ที่ถ้าคนที่เผอิญเข้ามาในช่วงที่อาจารย์ไม่ได้ post ก็จะไม่รู้ว่ามีเรื่องมีบล็อกดีๆ แบบนี้ใน G2K   (ผมเคยลองแล้วครับเรื่องเดียวกัน ถ้าผมโพสท์ตอนกลางคืนดึกๆ มีผู้อ่าน 20 คนแล้วหยุดไป ผมลบออกแล้วโพสท์ใหม่ตอนเที่ยง มีผู้อ่านเพิ่มมาอีก 20 กว่าคน)

ด้วยระบบที่มีในปัจจุบัน เราสามารถจัดเรทติ้งได้ในเชิงปริมาณ คือมีเรื่องวันละเท่าไร เรื่องไหนมีคนอ่านมากน้อย แต่อีกด้านหนึ่งที่เรายังไม่ได้ทำคือการจัดเรทติ้งเชิงคุณภาพคิดว่าน่าจะเป็นวัตถุประสงค์หลักของ G2K ที่ต้องการยกระดับความคิดความรู้ของสมาชิก ระบบที่ใช้อยู่ตอนนี้เรื่องที่มีคนอ่านเยอะคือเรื่องจาก blogger ที่เขียนลงสม่ำเสมอ blogger ที่มีขาประจำแล้ว แต่สำหรับ blogger หน้าใหม่หรือ blogger ที่ใช้เวลาในการกลั่นกรองความคิดเขียนแต่ละเรื่องมีคุณภาพสูง (แต่ด้วยความท่านเวลารัดตัวไม่อาจเขียนบ่อยได้) คนมักจะพลาดเรื่องแบบนี้ไป 

ผมเลยอยากขอเสนอความคิดเห็นต่ออาจารย์จันทวรรณและอาจารย์ธวัชชัย ว่า เราน่าจะหยิบยกเพชรเหล่านี้ขึ้นมาครับ  โดยอาจจะมีการจัดติดดาวเรื่องเด่นประจำสัปดาห์ ผมคิดคร่าวๆ นะครับ เอาสัก  4 ด้าน 

1.เรื่องโปรด (ปอปปูลาร์ อันนี้วัดตรงๆ จากยอดผู้เข้าสูงสุดในสัปดาห์เลย) 
2.เรื่องนี้น่าคิด (กระตุ้นปัญญา) 
3. เรื่องทรงพลัง (highly motivated, moved) 
4. เรื่องนี้น่ารู้ (ข้อมูลที่น่าสนใจ ไม่ควรพลาด)
 

(ถ้ามากไปอาจสัก 3 เรื่องก็ได้ครับ)

โดยผู้ที่จัดเรทติ้ง อาจให้ผู้อ่านเราใส่เรทติ้งในโพล (ผมไม่ทราบว่าในทางเทคนิค ทำได้หรือเปล่า) หรืออาจแต่งตั้งสมาชิกเราที่เป็นผู้สนใจในแต่ละหัวข้อมาสัก 4-5 คน ไม่ serious ครับ จะสัก 3 คนก็ได้ ขอเพียงเป็นคนที่ติดตาม G2K อย่างสม่ำเสมอ และสนใจในหัวข้อดังกล่าว ให้พวกเขามาเลือกกันว่าจะเอาเรื่องอะไรดี 

วิธีการแบบนี้ นอกจากจะเป็นการแนะนำเรื่องแล้วยังเป็นอาจเป็นการแนะนำ blogger หน้าใหม่ที่มีเรื่องดีๆ ให้พวกเราได้ทราบด้วยครับ

ไม่ทราบว่าท่านสมาชิก G2K มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

หมายเหตุ: ผมเขียนเรื่องนี้ตอนดึกๆ แต่เก็บไว้มาโพสท์ตอนเช้าครับ (เรทติ้งจะได้ดีหน่อย ^__^)

หมายเลขบันทึก: 77335เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

คุณหมอมาโนช

เข้ามาอ่าน...

ดูด้านล่าง อ่าน18 แต่ ความเห็น0

ก็เลยช่วยตีไข่ให้คุณหมอครับ คล้ายๆ สำนวนฟุตบอล ตีไข่แตก (....................)

เจริญพร

 

แหะ แหะ  นมัสการหลวงพี่ ขอบพระคุณครับที่ช่วยตีไข่ให้ ชินแล้วครับ แค่มีคนอ่านเกิน 10 ก็ดีแล้วครับ -- ขาประจำอยู่ไหนกันจ๊ะ
กระผมสงสัยวิธีเขียนไม่ค่อยล่อเป้าเท่าไร เดี๋ยววันหลังต้องเขียนให้โหดมันฮากว่านี้ครับ

คุณหมอค่ะ

ความคิดของคุณหมอน่าสนใจมากค่ะ  หนูคิดว่าเป็นการช่วยให้สมาชิกใน Gotoknow ได้อ่านบันทึกดี ๆ อีกด้วยค่ะ 

ปล.เดี๋ยวหนูจะแจ้งอาจารย์จันทวรรณและอาจารย์ธวัชชัยให้เข้ามาอ่านนะค่ะ

 

มะปรางครับ ขอบคุณครับ   นี่เป็นเพียงข้อเสนอของผมจากที่เกิดปิ๊งแว๊บขึ้นมาขณะอ่านเรื่องดีๆ เกิดความรู้สึกเสียดาย เลยขยายความคิดต่อ และอยากเสนอแนะหรือบันทึกไว้  ส่วนการนำไปปฏิบัติจริงนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายหลากด้วย ตรงนี้ผมเข้าใจครับ

การที่ผมนำเสนอก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องมีการตอบสนองทุกเรื่อง เป็นเพียงแค่ความเห็นหนึ่งเท่านั้นครับ ฝากเรียนอาจารย์จันทวรรณและอาจารย์ธวัชชัยด้วยครับ ว่าตามสบายนะครับ เพราะถ้าต้องตอบสนองความเห็นของสมาชิกทุกอย่างคงเหนื่อยน่าดู ยังไงก็คงต้องดูว่าข้อเสนอต่างๆ นั้นเข้ากับหลักการและวัตถุประสงค์ของ G2K ที่เราตั้งไว้ไหม  ที่สำคัญคือจะทำให้เราเข้าไปใกล้ตุ๊กตาปลายทางที่เราตั้งไว้ไหม

อิอิ.. ขาประจำมาแว้วค่ะ...

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ... หลายครั้ง เรื่องดีๆมักจะร่วงตกเร็ว จาก 5 หรือ 10 บันทึกแรกที่โชว์ไว้หน้าแรก

 เนื่องจากมีการโพสต์บันทึกใหม่เยอะ  ดังนั้นแป๊บๆก็หายแล้ว ยิ่งเป็นเรื่องที่พิมพ์ไว้หลังเที่ยงคืน ก็จะตกหน้าแรกเร็วมาก.. มาอ่านตอนเย็นหลังเลอกงาน จะหาเรื่องไม่เจอแล้ว ยกเว้นว่าคลิกลิ้งค์ผ่านทาง planet ซึ่งนั่นหมายถึง.. เราต้อง add เขาไว้ แล้วจึงมาหาเจอเรื่องใหม่ๆของผู้เขียน

แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะว่าติดตามบันทึกของ blogger ท่านนั้น  แต่เนื่องจากการที่ blogger เปิดหลายบล็อก บางทีก็เขียนบันทึกไว้ในบล็อกที่ไม่ได้ add ทำให้พลาดได้เหมือนกัน

จึงคิดว่า น่าจะสร้าง planet แบบ add คนนะคะ  ซึ่งหมายถึง ไม่ว่าจะเป็นบันทึกที่เขียนไว้ใน บล็อกใดของ blogger เราก็จะเห็นได้

อย่างไรก็ตาม..อีกนั่นแหล่ะ.. ถ้ามีบันทึกของ blogger  ที่เพิ่งมาใหม่ หากว่าเราไม่ได้เข้ามาทางหน้าแรกของ G2K และทันเห็นการปรากฏตัวของเขา เราก็จะพลาดบันทึกของเขาเช่นกัน

^___^

 

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

ถ้าไม่มี blog tag ผมก็จะไม่รู้จักอาจารย์มาโนช แล้วก็จะพลาดและไม่รู้เลยว่า มีข้อเขียนดีๆที่ผม..ค้นหา..มาตั้งแต่ต้น

เช้านี้ก็เกือบพลาดความเห็นเด็ดของอาจารย์อันนี้ไปแล้ว เพราะอยู่อันดับสุดท้ายของ บันทึกที่ได้รับคิดเห็นล่าสุด 
เอ..พอผมตอบนี่ ก็คงจะช่วยให้บันทึกของอาจารย์ขึ้นมาอยู่อันดับแรกได้สักแป๊บ

อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยกันได้ น่าจะเป็น การบอกต่อ นะครับ เมื่อรู้จักกันมากขึ้น ถ้ามีเรื่องที่เราคิดว่า ตรงจริตเพื่อนของเรา ก็ควรจะบอกต่อกันครับ 

 อาจารย์ไม่ต้องเกร็งก็ได้นะครับ เวลาผมเข้ามาทักทาย

ถามอีกนิดหนึ่ง อยู่ดีๆ ประวัติส่วนตัวของอาจารย์ก็ย้ายไปอยู่ด้ายซ้าย อาจารย์ทำยังไงครับ สิงห์อีซ้ายอย่างผมชอบมาก
เรียน ท่านอ.หมอมาโนชค่ะ..ดิฉันอ่านบันทึกท่านบ่อยๆในช่วงแรกค่ะ แต่ยอมรับว่าบางเรื่องถ้าเป็นวิชาการมากๆก็ไม่ได้แชร์ค่ะแต่ทุกบันทึกของอาจารย์ดิฉันแอบแปะกับเพื่อนKMของดิฉัน...อ่านบันทึกเหมือนอ่านหนังสือพิมพ์ค่ะ....เลือกหมวดของtagเองโดยผู้บันทึก...และเขาก็เลือกอ่านเองโดยตัวเขาเองเช่นกันค่ะ..ดิฉันเชื่อว่าหลายๆบันทึกที่ดีๆนั้นมีผู้อ่านค่ะ...แต่ในลักษณะของบันทึกนั้นโดยเนื้อหาอาจจะไม่ชักชวนให้พูดอะไรมากมาย...นอกจากกล่าวชม...ซึ่งบางคนก็แอบชื่นชมในใจค่ะ...เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ...แต่สงสัยจะยากโดยเทคนิคไหมคะ

k-jira ครับ ผมมีปัญหาเหมือนกันเลย คือพอ add บางบล็อก บางทีเขาก็ไปเขียนอีกบล็อกหนึ่ง หรือบางที่เราแอดบล็อกเขาลงแพลนเน็ตเรื่องหนึ่ง สักพักเขาเปลี่ยนแนวเขียนไปเขียนอีกเรื่องหนึ่งในบล็อกเดิม รู้สึกปัญหานี้จะแก้ยากครับ ตกลงตอนนี้เลยฟรีสไตล์นิดๆ ครับ

อาจารย์เต็มศักดิ์ครับ ขอบคุณครับที่กรุณาช่วยแสดงความคิดเห็น รู้สึกปลื้มครับที่ได้รับการ recognize จากอาจารย์  ส่วนเรื่องภาพที่อยู่ด้านซ้ายผมได้จากหน้า http://gotoknow.org/blog/beingaboss/77102 ของคุณ conducotr ครับ

คุณกฤษณาครับขอบคุณยิ่งสำหรับกำลังใจครับ

ขอบคุณอาจารย์มาโนช ครับ

เปิดตามเข้าไปแล้ว เห็น source แล้วต้องถอยหลังครับ ผมไม่ค่อยถูกกันกับพวกนี้ ความสามารถผมไม่ถึง

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ 

ที่ทีมงานเราได้วางแผนไว้ คือ จะทำระบบ rating แบบ digg.com ค่ะ จะได้ให้สมาชิกมาช่วยกัน rate ดึงเอาบันทึกดีๆ ออกมาค่ะ

feature นี้จะเป็น feature ถัดไปที่เราจะพัฒนาค่ะ ตอนนี้กำลังเร่งเรื่องระบบ tagging ใหม่ทั้งหมดค่ะ

อยากแนะนำให้อาจารย์ลองอ่านประวัติของการพัฒนา KnowledgeVolution (.pdf) ที่เราพัฒนาขึ้นเองค่ะ เป็นระบบ open-source และใช้ในการ run เว็บไซต์อย่าง GotoKnow.org, Learners.in.th, และ Researchers.in.th ค่ะ

ขอบคุณค่ะ
อาจารย์จันทวรรณครับ อาจารย์ active และมีการพัฒนาไม่หยุดยั้งเลยนะครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ ผมเป็นได้แค่หน่วยเสนอแนะครับ ผมคิดว่าข้อดีอันหนึ่งคือผมยังใหม่กับที่นี่ ถึงจะเสนออะไรเปิ่นๆ ไปบ้าง ก็ OK นะครับ  เพราะถ้าอยู่นานๆ ไปก็จะมองอะไรด้วยสายตาของคนนอกไม่ค่อยจะได้  (ตอนนี้รู้สึกตัวเหมือนเป็นคนในนิดๆ ครับ โอ้โฮ สมาชิกแต่ละท่านน่ารักสุดๆ  nice จริงๆ ครับ)

ผมเข้าไปที่ digg.com แล้วครับ ดูแล้ว ใช่เลยครับอาจารย์ digg.com คือสิ่งที่จะมาเติมเต็มตรงนี้ได้ ผมยังเข้ามานานไม่พอที่จะแน่ใจได้ว่าข้อสังเกตของผมจะใช่หรือเปล่า  ผมอ่านปรัชญาของ G2K  คิดว่าตรงนี้น่าจะขึ้นพาดหัวใน Home  (อาจปรับข้อความนิดหน่อย)

... คือหนึ่งในเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ที่เน้นการบันทึกถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความรู้ฝังลึกอันเกิดจากการปฏิบัติ

ใน 5 ข้อข้างล่างนี้ผมคิดว่าข้อ 3 เป็นอันที่ยังเห็นภาพตอนนี้ไม่ชัด เจ้าวิธีการ digg นี่จะทำให้การ categorize เรื่องมีความชัดเจนขึ้น อาจต้อง propose ตัว category ขึ้นมาสัก 3-4 เรื่องและช่วงแรกให้ blogger ช่วยกันเสนอ category อื่นด้วย ว่าเรื่องแบบนี้น่าจะอยู่ ใน category อะไร สักพักหนึ่งก็จะได้กลุ่มเรื่องที่ค่อนข้างชัดเจน ผมว่าน่าจะสัก 6-7 กลุ่ม  

 -------------------- คัดลอกจาKnowledgeVolution (.pdf) ครับ ---

 เว็บไซต์ GotoKnow.org ทำให้หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ (???) ของไทย (ผมคิดว่าด้วยศักยภาพของ G2K ณ  ขณะนี้น่าจะพร้อมแล้วที่จะรองรับกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ได้กว้างกว่านี้ ในภาคประชาชน เอกชน ก็น่าจะมีอะไรที่จะแชร์กันบน G2K ได้)   ได้มีสถานที่เสมือนเพื่อตอบสนองกิจกรรมการจัดการความรู้ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยเน้นที่

1.การบันทึกความรู้ลงขุมความรู้
2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.การจัดหมวดหมู่ความรู้
4.การค้นหาความรู้
5.การสร้างแผนที่ความรู้ 
6.การสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้ชำนาญการในด้านต่างๆ หรือ กลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่อกัน

น่าจะมีการประเมินกระบวนการที่ตั้งเป้าไว้ว่าในแต่ละข้อเป็นอย่างไรบ้าง โดยจากสมาชิกกันเองก็ได้ครับ เป็นอีก ประเด็นหนึ่ง โดยใช้ TAG ว่า  ประเมิน1 ประเมิน2 ประเมิน3 จะได้ความเห็นตามแต่ละข้อไปเลย

ปล. คำว่าแพลนเน็ตนี่เข้าใจยากนะครับ ที่คุณ k-jira พูดถึงตู้หนังสือผมว่าเห็นภาพดี ภาษาไทยว่า ตู้รวมบล็อก  น่าจะสื่อดีกว่านะครับ

เรื่องเวลานี่ผมเองคงเปลี่ยนยาก เพราะเป็นมนุษย์กลางคืนมาเป็นสิบปีแล้ว

แต่มองเห็นปัญหาที่ อ.มาโนช ได้ยกมาวางบน spotlight นี่ครับ เคยฟัง อ.วิษณุ ที่ศิริราชพูดถึงคำๆหนึ่งคือ knowledge translation ว่าความรู้ที่เบื้องต้นปัญหาคือการรวบรวมนั้น การณ์ปรากฏว่าพอเราพัฒนาแหล่งรวบรวมความรู้ ปัญหาคือรวบรวมอย่างเดียว ไม่ได้ออกไปเป็นรูปธรรม คือการนำไปใช้ ส่วนหนึงก็คือ knowledge publication กลายเป็น parameter ที่เราคุ้นเคยว่า "เพียงพอ" ในการจัดการความรู้ ซึ่งใน KM ยุคปัจจุบันคงจะไม่ใช่อีกต่อไป

แต่พอเราจะเขยิบ "เป้า" ขึ้นมาจาก knowledge collection มาเป็น knowledge translation ตรงนี้เราคงต้องพิจารณาเรื่อง behavioral sciences ว่าทำไมคนถึงเปลี่ยนพฤติกรรม ประเด็นเรื่อง popular vote ก็คือ "ค่านิยม" ก็เป็นสาเหตุนึงแน่ๆ แต่คงต้องมีอะไรอย่างอื่นด้วย

จากประสบการณ์ในการ design การเรียนการสอน block health promotion ที่เน้นเรื่อง empowerment นั้น WHO พูดถึงยุทธศาสตร์สามประการ คือ

  1. Enabling
  2. Mediating
  3. Advocating

Enabling คือทำให้ทำได้ Mediating คือทำให้ทำง่ายๆไม่ฝืด ไม่ยาก มีคนช่วยกันทำ และ Advocating คือการทำให้สิ่งนั้นๆน่าทำ ควรทำ หรือต้องทำ

อะไรก็ตามที่ ทำได้ ทำง่าย ควรทำ ต้องทำ หรือน่าทำ ก็จะมีผลต่อพฤติกรรมคน ทางสายสุขภาพเราเชี่ยวชาญด้าน "ควรทำ ต้องทำ" แต่ไม่ค่อยชำนาญเรื่อง "น่าทำ" เราก็เอาแต่ lecture แล้ว lecture อีกว่าทำไมบุหรี่ไม่น่าสูบ เป็นมะเร็งไม่ดียังไง บริษัทบุหรี่แค่เองหนุ่มบึก ขี่ม้าผาดโผนวิ่งไปมา ก็ตีตลาดกระจุยกระจาย เพราะเขาไม่ได้เน้นเรื่อง "ควร หรือ ต้อง" แต่เน้นที่ "น่าใช้ น่าทำ" เป็น emotional motivation pureๆ

ปัญหาคือเราคิดว่า "อะไรที่ทำให้ knowledge นั้น น่าใช้" ผมคิดว่าถ้าเราตีโจทย์นี้แตก เอาแค่องค์ความรู้ที่เกลื่อนกลาด Gotoknow นี่ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมโหฬารเกิดขึ้น

Rating จะช่วยด้าน "น่าใช้" ได้บางส่วนครับ แต่จริงๆตามหลัก autonomy ความรู้ไหนน่าใช้ หรือใช้ได้นั้น ขึ้นกับ "บริบท" เยอะมาก และใน palliative care เราไม่ได้เน้น volume หรือ representativeness แต่เราคิดว่าปัจเจกบุคคลก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน (ไม่ว่าฝ่าย cost effectiveness จะว่ายังไงก็ตาม แหะๆ) ดังนั้น raters ที่อาจารย์มาโนชเสนอมา ถ้ามาจากหลากหลายพื้นเพ ความสนใจ ก็จะช่วยในการกระจาย และดึงเอา "ของดีสำหรับบางคน" ขึ้นมาได้ด้วย นอกจากของที่ popular อย่างเดียว ดูอย่างการจัด website leftside ซิ พี่เต็มก็สนใจเชียวนะ เป็นคนส่วนน้อยที่มีอิทธิพลสูงไม่เบา !!!

อาจารย์มาโนชครับ

เข้ามาแจ้งว่า สามารถเปลี่ยนให้ใบหน้าของผมไปอยู่ ด้านซ้าย ของจอภาพได้ตามคำแนะนำของอาจารย์เรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณมาก

ข้อดีสำหรับผม นอกจากมันอยู่ด้านซ้ายแล้ว คือ ตัวหนังสือในบันทึกไม่เกิดอาการ มุด เข้าไปด้านหลัง แผงรายละเอียดเจ้าของ blog เหมือนเมื่อก่อน

สำหรับใครที่ต้องการจะเปลี่ยนตามบ้าง ก็เชิญ ที่นี่ นะครับ

 

ถือโอกาสชื่นชม อาจารย์จันทวรรณและทีมงานที่นี่อีกคน

อ่านข้อความของสกลแล้ว ผมทราบมาว่า อีตาหนุ่มบึกที่ขี่ม้าคาบบุหรี่หรือ Malboro man น้น ตอนนี้เฮียแกเป็นมะเร็งปอดไปเรียบร้อยแล้ว

ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านมากค่ะสำหรับข้อคิดเห็นดีๆ ที่จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ค่ะ ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นของทุกท่านเสมอค่ะ

P
Phoenix เมื่อ จ. 12 ก.พ. 2550 @ 17:00 (161800)

งานผมเกี่ยวข้องอยู่กับการออกแบบวิธีการเรียนการสอน ชอบแนวคิดคุณ Phoenix ที่บอกว่าเป็นยุทธศาสตร์สามประการของ Who มากเลยครับ ทำให้ผมต้องคิดต่อเรื่อง ทำอย่างไรให้กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละกิจกรรมที่เรากำหนดให้ผู้เรียนทำ

  • ทำได้ (ที่ต้องคิดต่อคืออย่างไรที่เรียกว่าทำได้?)
  • ทำง่าย (อย่างไรที่เรียกว่าทำง่าย?)
  • น่าทำ (อย่างไรที่เรียกว่าน่าทำ?)

ที่คิดว่าจะทำตอนนี้ คือ ต้องกลับไปวิเคราะห์กิจกรรมที่เคยให้ผู้เรียนทำมาแล้วทุกกิจกรรมว่ามันเข้าเกณฑ์ทำได้-ทำง่าย-น่าทำ นั้นหรือเปล่า อาจต้องถามจากผู้เรียนด้วยว่าที่ทำกิจกรรมต่างๆ นั้น กิจกรรมไหนทำได้-ทำง่าย-น่าทำบ้าง กำลังคิดว่าจะรบกวนเขาให้ช่วยกันประเมินโดยช่วยทำ rating ให้เราดีหรือเปล่า

ใคร่ขอรบกวน หากคุณ Pheonix พอมีเวลา ดังนี้ครับ

ช่วยเล่าเรื่องยุทธศาสตร์ ๓ ประการ ของ WHO เป็นบันทึกในบล็อก หรือ

แนะนำหนังสือและลิงก์

ขอบคุณครับ

หลังจากอ่านบันทึกนี้ ได้addเข้าแพลนเนตเรียบร้อยแล้วค่ะ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดเมตตาค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • เรียนขออนุญาต add บันทึกนี้เข้าไว้ในแพลนเน็ตนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท