โคเพื่อชีวิต ตอนที่ 43 ทำอย่างไรเมื่ออาหารโคหมด


ใช้ต้นข้าวโพดเป็นทุนไปแลกกับปุ๋ย ใครอยากได้ต้นข้าวโพดไปเลี้ยงวัวให้เอาขี้วัวมาแลก ปริมาณนั้นขึ้นอยู่กับใจและศรัทธา

        ในวันที่  4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาได้ร่วมประชุมร่วมกับเครือข่ายนักจัดการความรู้ระดับชุมชนที่สวนป่าครูบา  มีบรรดาพ่อๆ ผู้ใช้ KMตัวยงค์ เข้าร่วมประชุมกันอย่างสนุกสนานและอิ่มอร่อยกับความรู้ที่ได้รับ 

        ผู้เข้าร่วมประชุมก็มี พ่ออุ่น พ่อวิจิตร  พ่อกว้าง พ่อทอง และน้องกิ่ง

        ในที่ประชุมคุณพ่อทุกท่านและน้องกิ่ง ต่างก็ให้ความรู้และแนวคิดที่เป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องของการใช้ KM  เพราะทำให้รู้ว่าตัวเองมีความรู้อะไร ยังขาดความรู้อะไร รู้วิธีแสวงหาความรู้ ต่อยอดความรู้ และนำความรู้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างไร

        ตัวอย่างกรณีของพ่อกว้าง ที่ท่านบอกว่าเกษตรกรในเครือข่ายที่เลี้ยงโคทุกคนกำลังปัญหาขาดแคลนอาหารซึ่งก็คือหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทุกคนก็ตั้งคำถามและหาวิธีการร่วมกันหลาย ๆ วิธีด้วยกัน

        วิธีที่หนึ่ง  แก้ปัญหาด้วยการปลูกหญ้ากินนีสีม่วงในแปลงหญ้ารวมของพ่อกว้าง  โดยการตั้งโจทย์ว่า เมื่อปลูกหญ้าแล้วต้องสามารถตัดหญ้าให้โคกินได้ทุกวัน  ซึ่งโจทย์นี้ก็เป็นการสร้างนักการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดีเพราะคนที่ตัดหญ้าครั้งเดียวยกแปลงหญ้าก็จะหมดต้องรออีก 15  วัน จึงจะตัดหญ้าได้อีกรอบ ซึ่งไม่สามารถตัดได้ทุกวัน  ส่วนคนที่แปลงย่อยตัด  15 แปลง  จะสามารถตัดได้ทุกวันเมื่อวนมาครบ 15 แปลง  จากวิธีการนี้ทุกคนก็เกิดการเรียนรู้และขยับขยายแปลงหญ้าตามกำลังและจำนวนโคของตนเองได้

       วิธีที่สอง  เนื่องจากปีนี้ทุกคนสังเกตได้ว่าฤดูแล้งยาวนานและรุนแรงกว่าทุกปี  หญ้าที่ปลูกไว้คงไม่เพียงพออีกทั้งยังมีคนต้องการซื้อหญ้าหรืออาหารสัตว์อีกมาก  จึงตั้งโจทย์ใหม่ว่า  ทุกคนคงต้องวางแผนปลูกพืชทนแล้งที่ให้ประโยชน์ทั้งกับคนและโคให้ครบวงจร  และสามารถปลูกพืชหลากหลายชนิดต่อเนื่องไปจนกว่าจะถึงฤดูทำนา ซึ่งในช่วงนี้พ่อกว้างเห็นว่า การปลูกข้าวโพดน่าจะเหมาะสมที่สุด

       พ่อทองบอกว่า คนปลูกข้าวโพดอย่างหวังขายข้าวโพดให้รวย แต่ ให้ฝักข้าวโพดเป็นของแถม

      ให้ต้นข้าวโพดเป็นต้นทุน ทุกคนล้วนงง! ต้นทุนอย่างไร

      ก็ใช้ต้นข้าวโพดเป็นทุนไปแลกกับปุ๋ย  ใครอยากได้ต้นข้าวโพดไปเลี้ยงวัวให้เอาขี้วัวมาแลก ปริมาณนั้นขึ้นอยู่กับใจและศรัทธา

      เมื่อให้ทุนเป็นต้นข้าวโพด ก็จะได้กำไรคือปุ๋ย สารอาหารสำหรับหญ้า ข้าวและพืชอื่น ๆ

      ส่วนดอกเบี้ยก็คือการคืนสมดุลให้กับดินด้วยปุ๋ยคอก ไม่ทำร้ายดินด้วยสารเคมี  ดินก็จะฟื้นคืนชีพในเวลาไม่ช้า เกษตรอิรทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติก็จะกลับคืนมาอย่างจริงจังและยั่งยืนอีกครั้ง

      นี่คือวิธีการคิด การทำงานภายใต้การใช้ KM ที่พบเห็นได้จากพ่อกว้าง สุวรรณทา 

หมายเลขบันทึก: 77294เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทุกอย่างต้องมีแผนสั้นแผนยาวครับ

ผมอยากเห็นการแจงปัญหาตามกรอบความคิด

  • ทางเลือก
  • ทางออก ในแต่ละเงื่อนไขของ
  • ระบบการเลี้ยง
  • ระบบทรัพยากร
  • ปัจจัยแวดล้อม และ
  • การจัดการครับ

การนำเสนอแบบเชิงเดี่ยวจะได้ความรู้แห้งๆ ไม่มีชีวิตชีวาครับ จะเอาไปเขียนต่อได้ยากครับ

อาจารย์แสวงที่เคารพ

     ขอบคุณค่ะอาจารย์  ทางออกและทางเลือกแต่ละเงื่อนไขที่อาจารย์แนะนำมานั้นจะเกี่ยวพันทั้งหมดทั้งระบบการเลี้ยง ระบบทรัพยากร ปัจจัยแวดล้อม ซึ่งจะทำให้เกิดรูปแบบการจัดการที่แตกต่างกันด้วยใช่ไหมค่ะอาจารย์

     ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท