โรงเรียน (2)... ที่ญี่ปุ่น


โรงเรียนญี่ปุ่นและครอบครัวญี่ปุ่นเข้มงวดเรื่องวินัยมาก โดยเฉพาะวินัยที่สอนให้คนอยู่ร่วมกัน โดยร่วมมือกัน และไม่สร้างผลกระทบต่อคนอื่น พ่อแม่ตบลูกแรงๆเพียงเพื่อให้รู้จัก "ขอโทษและสำนึกผิด"

ญี่ปุ่นมีระบบการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากว่า 200 ปี 

รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นก็มีฉบับเดียวที่เขียนโดยคนอเมริกัน หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม  น่าสนใจที่เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญโดยวิธีคิดแบบตะวันตก  แต่ใช้เป็นแนวทางการปกครองสังคมตะวันออก  (ของไทยเขียนเท่าไรก็ถูกอ้างว่า ไม่เหมาะกับคนไทยสักที จึงต้องแก้กันหลายรอบ เป็นปัญหาที่กฎหมาย หรือที่คน (คนเขียน คนใช้ หรือ คนถูกใช้))

โรงเรียนที่ญี่ปุ่นอยู่ในความดูแลของการปกครองส่วนท้องถิ่น   นักเรียนญี่ปุ่นแต่ละคนจ่ายค่าเล่าเรียนไม่เท่ากัน  ลูกคนรวยต้องจ่ายแพงกว่าลูกคนจน  ถือว่าเป็นการอุดหนุนข้ามกัน คือ คนรวยช่วยคนจน  ที่ทำได้เพราะท้องถิ่นมีฐานข้อมูลรายได้ของทุกๆคนในพื้นที่  ก็จะส่งข้อมูลให้โรงเรียนเก็บสตางค์ค่าเล่าเรียน

เป็นการสร้างความเท่าเทียมในระบบการศึกษาแบบหนึ่ง

"ขอโทษ" 

โรงเรียนญี่ปุ่นและครอบครัวญี่ปุ่นเข้มงวดเรื่องวินัยมาก  โดยเฉพาะวินัยที่สอนให้คนอยู่ร่วมกัน  โดยร่วมมือกัน และไม่สร้างผลกระทบต่อคนอื่น   พ่อแม่ตบลูกแรงๆเพียงเพื่อให้รู้จัก  "ขอโทษและสำนึกผิด"  ซึ่งเป็นคำที่คนไทยพูดไม่เป็น   (นอกจากจะสำนึกผิดไม่เป็นแล้ว ยังอาจโยนความผิดไปให้คนอื่น)

"พยายามเต็มที่"

เด็กๆถูกวัดผลที่ความขยัน และความตั้งใจ มากกว่าความฉลาด    ในห้องเรียนหนึ่งห้อง จึงมีเด็กได้เกรดสี่เต็มไปหมด  

เด็กไทยบางคนคุยโวว่า ขนาดไม่ได้อ่านหนังสือยังทำข้อสอบได้ (แสดงว่าเก่ง)  แต่ญี่ปุ่นจะมองว่า ถึงเก่งแต่ไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่  ถือว่าเป็นความสูญเปล่าของสังคม   

ในขณะที่คนเก่งไม่หลงตัวกับความเก่ง แต่ต้องหันมาพยายามให้มากขึ้น   คนไม่เก่งก็มีโอกาสเงยหน้าอ้าปากได้โดยใช้ความพยายามของตน

ญี่ปุ่นแทบไม่เคยอวยพรด้วยคำว่า "ขอให้โชคดี"  "ขอให้รวย"  มีแต่คำว่า "ขอให้พยายาม"  "สู้ให้เต็มที่นะ"

ปัญหาความเครียด 

แต่ญี่ปุ่นก็มีปัญหาความเครียด  เด็กฆ่าตัวตายสูงขึ้น  ครูทำร้ายเด็ก  เด็กโตทำร้ายเด็กที่อ่อนแอกว่า  

แม้ระบบโรงเรียนไม่สนับสนุนการแข่งขันในการเรียน แต่เมื่อกำลังจะเข้าสู่มหาวิทยาลัย  เด็กจำนวนมากต้องแย่งที่นั่งเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยดังๆ   อย่างไรเสีย  ความจำกัดของทรัพยากรก็ทำให้หลีกหนีการแข่งขันไปไม่พ้น   ญี่ปุ่นจึงเป็นต้นตำรับของโรงเรียนกวดวิชา

สังคมที่ตึงเกินไปแบบญี่ปุ่น กับสังคมที่หย่อนเกินไปแบบไทย น่าจะจับรวมกันหารสอง

หมายเลขบันทึก: 77276เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ.ครับ ผมมาเปิดบล๊อคใน gotoknow แล้วนะครับ

 แต่อยากจะแลกเปลี่ยนหน่อยหนึ่งน่ะครับ ... ผมคิดว่า ความเครียดของการแข่งขัน เกิดขึ้นเพราะเราแข่งขันกับคนอื่น มากกว่า เพราะเราแข่งขันกับตัวเองนะครับ

และเกิดจากการที่เราแข่งไปหาเป้าหมายที่คนทั้งสังคมต้องวิ่งไปถึง ...

 ผมแอบคิดเล่นๆว่า จริงๆแล้วเป้าหมายของคนในสังคมก็ถูกกำหนดมาโดยค่านิยมและสังคม จึงไม่แปลกที่คนไทยส่วนใหญ่ หรือ คนญี่ปุ่น จะมีเป้าหมายคล้ายกัน และนั่นนำมาซึ่งความจำกัดของพื้นที่ ที่คนในสังคมจะไปยืนอยู่ตามเป้าหมายของตน

แต่ถ้าสังคมกระตุ้นให้คนมีฝันเป็นของตัวเองเล่า?

ถ้าระบบการศึกษา ส่งเสริมให้คนมีฝัน และแนะช่องทางไปตามฝันให้เด็กได้ อย่างทั่วถึง หลากหลาย ทุกแขนง  และมีระบบการวัดผลที่ดูจากความพยายามของตนเอง (คือแข่งกับตัวเอง เหมือนที่อาจารย์เล่าให้ฟังมันน่าจะดีนะครับ)

แต่เรื่องนี้รัฐอาจต้องเข้ามามีบทบาทในการแทรกแซงสถาบันและระบบแรงจูงใจต่างๆในระบบเศรษฐกิจและสังคม เพื่อไม่ให้แรงจูงใจในสังคมมันขมวดไปที่ภาคเศรษฐกิจบางภาค หรือค่านิยมทางสังคมบางอย่าง

 แต่ดูจะฝันไปหน่อยนะครับ ;p

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท