ต้านลมหนาวสานปัญญา (1) : 1 คืนกับ 2 วันที่น้อยไปสำหรับสิ่งที่อยากจะทำ


โรงเรียนแห่งนี้อยู่ห่างไกลจากความเจริญ ทุรกันดาร ข้นแค้น และเผชิญต่อภัยหนาวอย่างเหน็บหนาว

 ต้านลมหนาวสานปัญญา    เป็นกิจกรรมที่พรรคชาวดินของมหาวิทยาลัยมหาสารคามริเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538  และร่วมแรงใจจัดกิจกรรมต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน

 โครงการต้านลมหนาวสานปัญญา  จัดขึ้นโดยมีภาพลักษณ์กิจกรรมหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ เป็นภาพลักษณ์อันเด่นชัดและสอดรับกับชื่อกิจกรรมอย่างชัดแจ้ง  กล่าวคือ  กิจกรรมดังกล่าวมุ่งให้บริการ (SERVICE) ต่อชุมชนในช่วงฤดูหนาวโดยการมอบเครื่องกันหนาวให้กับชาวบ้านและนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร  รวมถึงการอาสาสมัครเข้าไปพัฒนาสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนและโรงเรียน  ตลอดจนการเสริมสร้างและแต่งเติมสื่อการเรียนการสอนทั้งในบทบาทของการผลิตใหม่  และปรับปรุงในสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีสภาพพร้อมใช้งานและก่อเกิดประโยชน์ต่อนักเรียนตัวน้อยที่สุด  

<div style="text-align: center"></div>ครั้งนี้พรรคชาวดิน  จับมือกับองค์กรนิสิตอีกหลายองค์กรร่วมแรงแข็งขันสัญจรไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนบ้านห้วยข่าเฒ่า  ต.ท่าใหญ่  อ.หนองบัวแดง  จ.ชัยภูมิ  ซึ่งองค์กรนิสิตเหล่านั้น  ได้แก่  พรรคช่อราชพฤกษ์  ชมรมนอกหน้าต่าง  ชมรมวิทยุสมัครเล่น  โดยมีกองกิจการนิสิต มมส  เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ภาพการรวมตัวขององค์กรเหล่านี้ผมถือว่าเป็นปรากฏการณ์สำคัญในถนนสายกิจกรรมที่สะท้อนถึงความร่วมมือ (cooperation) ขององค์กรที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจากในอีกไม่ช้าบางองค์กรก็ต้องลงแข่งขัน (competition) รับสมัครเป็นองค์การนิสิตของมหาวิทยาลัย  ซึ่งผมเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เปิดใจ เปิดทาง ถากถางเส้นทางสู่สังคม และถือว่ากิจกรรมนี้  เป็นกลไกบ่มเพาะให้นิสิตเติบโตไปเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (leadership)  อย่างแนบเนียน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

  

(ภาพผู้แทนนิสิตส่งมอบทีนอนใหม่เอี่ยม จำนวน 20 ชุดและผ้าห่มใหม่เอี่ยม จำนวน 50  ผืนต่อครูในโรงเรียน)  

 

โรงเรียนบ้านห้วยข่าเฒ่าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถม 6  มีนักเรียน  47  คนและครูอีก 3 คน  มีอาคารเรียนหลังเก่าทรุดโทรมอีก 1 หลังเป็นห้องเรียน ห้องสอนและห้องพักครู  ซึ่งสภาพเช่นนี้คือภาพฟ้องที่บ่งชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าโรงเรียนแห่งนี้อยู่ห่างไกลจากความเจริญ  ทุรกันดาร  ข้นแค้น  และเผชิญต่อภัยหนาวอย่างเหน็บหนาว  

เมื่อครั้งที่นิสิตเดินทางไปสำรวจค่ายพบเรื่องราวสะเทือนใจในความลำบากของเด็กอนุบาลเกือบ 10 คนซึ่งต่างก็ไม่มีเครื่องนอนปะทังความหนาวเย็น ทุกคนนอนขดตัวอยู่บนสาด (เสื่อกก) ผืนเก่าที่เปื่อยยุ่ย 

      

(ผอ.กองกิจการนิสิตส่งมอบอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียนและชุมชน)  

 

ที่นี่อาหารกลางวันไม่เพียงพอ  ถ้าเป็นหน้าร้อนนักเรียนต้องกรอกน้ำใส่ขวดมาดื่มที่โรงเรียน  ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอนและอื่น ๆ อีกมากมาย  และเมื่อผมได้มีโอกาสไปเยือน ซึมซับกับภาพชีวิตอันเป็นชะตาชีวิตเหล่านี้ก็ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมครูหลาย ๆ คน  จึงได้ตัดสินใจย้ายออกไปจากที่นี่เกือบหมดแล้ว  

ที่นี่อากาศหนาวเย็นมาก... กลางคืนลมหนาวพัดกระหน่ำอย่างต่อเนื่อง  แดดอุ่นฉายส่องก็ตอนเกือบ 10 นาฬิกา   น้ำดื่มเย็นโดยไม่ต้องพึ่งน้ำแข็ง 

    

    <p> </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันเวลา 1 คืนกับ 2  วันดูน้อยนิดและเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่ต้องลงมือทำให้กับโรงเรียนแห่งนี้  ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมรั้วโรงเรียน  ซ่อมประตู หน้าต่าง ซ่อมบันได  ซ่อมกระดานดำ  จัดตู้หนังสือ  จัดบอร์ด  ตกแต่งห้องเรียนและทำความสะอาดอาคารเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

   

 

 ผมมีโอกาสได้ไปนิเทศกิจกรรมนี้,  ได้เห็นความตั้งใจของนิสิตบนภาระอันล้นบ่า  ได้เห็นความทุรกันดารและความด้อยโอกาสที่เกาะกุมติดแน่นอยู่ในแววตาของนักเรียน  ได้สัมผัสกับความโหดร้ายของสายลมหนาวที่ดูจะยาวนานและหน่วงหนัก   

 

ได้เห็นถนนลูกรังที่ยากต่อการพัฒนา  ได้เห็นรถอีแต๋นบรรทุกอ้อยวิ่งผ่านทะเลฝุ่นอันคลุ้งหนา  ได้เห็นบ้านเรือนร้างคนและความเงียบของหมู่บ้านอันไกลโพ้นจากความเจริญ

   

ผมเห็นความเคยชินของผู้คนที่นั่นที่เฉยชาต่อชะตาชีวิต  แต่ยังปรารถนาเห็นไฟฟันของคนที่นั่นที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนและหมู่บ้านสืบต่อไปอย่างไม่รู้จาง   

 

ผมคิดอยู่ในใจเสมอว่า...  จะดีไหม ถ้าเราจะกลับไปที่นั่นกันอีกสักครั้ง   

   

ปลายมกรา, 50  

ลมหนาวที่หนาวเสียดแทง

หนองบัวแดง,  ชัยภูมิ

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p></span>

หมายเลขบันทึก: 77272เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

น่าสนุกนะครับ ออกค่ายคิดถึงวัยเรียนก็เคยออกค่ายเหมือนกันครับ ผมเห็นด้วยนะครับเมื่อเราไปทำอะไรไว้น่าจะกลับไปดูอีกครั้งกับผลงานที่ทำไว้นะครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง ชีวิตของชาวบ้านก็คงเป็นชีวิตที่ราบเรียบ เป็นชีวิตที่มีความสงบเงียบ เป็นกำลังใจให้นะครับสำหรับการสร้างนิสิตให้เป็นผู้นำในสังคมต่อไปในอนาคต

  • สวัสดีครับ...คุณจักริน
  • ขอบคุณครับที่ให้เกียรติเข้ามา ลปรร.
  • และดีใจที่ยทึกนี้ช่วยให้ได้รำลึกถึงค่ายในอดีตของท่าน...และดีใจอย่างยิ่งที่มีผู้สนับสนุนแนวคิดการกับไปเยือนเพื่อติดตามในสิ่งที่เราได้สร้างสรรค์ไว้
  • ขอบคุณมาก ๆ อีกครั้งครับ
  • วันหลังชวนด้วยนะครับ หากมีเวลาจะแวะไปเยี่ยมและลงแรงทาสีกับน้อง ๆ ด้วย
  • คิดถึงตอนเป็นนักศึกษาจัง
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณ  คุณออตมากครับ
    P
  • แน่นอนครับครั้งต่อไปผมจะบอกกล่าวล่วงหน้านะครับ...คราวนี้ชีวิตไม่นิ่ง ไปและไปอย่างต่อเนื่อง
  • ว่าง ๆ ก็อยากฟังเรื่องเหล่านี้จากคุณออตเหมือนกันนะครับ
แอบอิจฉานิสิต มมส. นิด ๆ นะ........... ได้สัมผัสบรรยากาศโลกแห่งความเป็นจริง ขณะนิสิตนักศึกษาส่วนหนึ่งอยู่ในโลกแห่งความฝันเสียมากกว่า เช่นเล่นเกมส์ เที่ยวเตร่ หรือประพฤติไม่เหมาะกับการเป็นนิสิตนักศึกษา
  • ตกใจแทบแย่...กลังว่าอาจารย์จะไม่วกกลับมาอ่านบันทึกนี้เสียแล้ว
  • ขอบคุณมาก ๆ ครับ...ผมย้ำกับนิสิตเสมอว่า  มาเรียนที่มมส ก็ควรต้องรู้วิถีชีวิตคนอีสานบ้าง ไม่ใช่จบไปแล้วไม่รู้และไม่เคยสัมผัสกับวิถีชนบทเหล่านี้เลย
  • ใครที่ไปเรียนที่ใต้ก็ควรตระหนักเช่นนี้เหมือนกัน.. แต่ก็เชื่อว่าวิถีการพัฒนานิสิตของ มอ. ก็ชัดเจนในแนวทางนี้อยู่แล้ว
  • ขอบพระคุณครับ
อยากมีโอกาสอย่างนี้บ้างจัง...แต่ก็ยังดีที่ได้รับรู้เรื่องราวดีๆค่ะ ....เป็นกำลังใจให้ทำสิ่งดีๆต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณ, คุณโก๊ะมากครับ
  • จริง ๆงานนี้มีรายละเอียดอีกเยอะมากที่ผมไม่สามารถนำมาเล่าได้   โดยเฉพาะวิถีชุมชนและชะตากรรมของเด็กนักเรียนที่นั่น
  • รวมถึงการทำงานอย่างหนักหน่วงและแข็งขันของบรรดาองค์กรนิสิต..แต่กิจกรรมนี้สร้างเครือข่ายการทำงานได้กว้างขึ้น และสำคัญคือ ผมบอกย้ำเจ้าหน้าที่ให้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไว้ตลอดปีเลยนะครับ...
  • ขอเป็นกำลังใจให้โครงการดี ๆ อย่างนี้ยังคงอยู่ต่อไปคู่กับ มมส. ครับ
  • สวัสดีครับ อ.แพนด้า
  • ของคุณครับที่แวะมาให้กำลังใจ และอยากให้อาจารย์ติดตามอ่านเรื่องนี้ให้ครบทุกตอนนะครับ

อาจารย์แผ่นดิน ที่เคารพ

สารภาพตามตรงว่า ครูแป๋มเพิ่งมีโอกาสได้อ่านบันทึกอันทรงคุณค่านี้เป็นครั้งแรก ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้ให้ไกด์ลายมานะคะ

ชีวิตสมัยเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู จะอยู่ชมรมค่ายอาสาพัฒนามาตลอด เกิดแรงบันดาลใจอันสูงส่ง ก่อเกิดอุดมการณ์อันแรงกล้า ที่จะร่วมสานฝันให้เป้าหมายของการพัฒนาการศึกษาของเราพบกับความสำเร็จอย่างแท้จริง

ปัจจุบันแม้ต้องต่อสู้กับแรงต้านที่อยู่รอบตัว ขอเพียงได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆ บวกเสียงหัวเราะที่สดใส เปี่ยมด้วยความหวัง แค่นี้ก็พอแล้วค่ะสำหรับ "ครูแป๋ม"

สวัสดีครับ..ครูแป๋ม

ผมดีใจที่เห็นครูแป๋ม..ตามรอยมาถึงบันทึกนี้  เพราะที่หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวมากมายที่ควรค่าต่อการศึกษาและจดจำเป็นที่สุด  รวมถึงหยาดเหงื่อและแรงใจของนิสิตจำนวนเพียงไม่กี่คน ที่ดิ้นรนหาเงินหาทองไปช่วยนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลน

นี่เป็นครั้งแรกที่ต้านลมหนาวสานปัญญา  เปลี่ยนแนวทางจากองค์กรเดียวมาสู่หลายๆ องค์กร  โดยมีมหาวิทยาลัยกระโจนเข้าไปร่วมคิดร่วมทำกับนิสิต

การออกไปติดตามของผมและทีมงาน  เป็นการไปให้กำลังใจเสียมากกว่า...

และนี่คือเรื่องเล่าอันไม่รู้จบของผม..ซึ่งรวมถึงนิสิตด้วยเช่นกัน

ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท