CoP และ G2K กับรังสีวิทยา


ชุมชนบน blog เปลี่ยนความคิดเห็นของผมโดยสิ้นเชิง

หลังจากเข้ามาทดลองใช้ชีวิตในชุมชน Gotonow มาได้หนึ่งเดือนเต็ม ก็ถึงเวลาที่ผมพอจะมีข้อมูล นำไปเล่าถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานใน ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ม.อ. ฟัง

ผมเริ่มจากการติดตามงาน CoP ของภาควิชาที่ได้เคยประชุมกันมาแล้วว่า ปีนี้จะจับประเด็น การป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับผู้ป่วยของเรา ทั้งสามหน่วยงาน คือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

อีกส่วนหนึ่งก็คือ การแนะนำ Blog GotoKnow
โดยมีคุณเสรี หนึ่งในกรรมการ KM ของคณะ เป็นพี่เลี้ยง

ผมเริ่มต้นจากการบอกทุกคนว่า

เดิมผมเป็นคนอคติกับ webboard อย่างมาก เพราะการแสดงความคิดเห็นในนั้นเป็นชนิด จากมุมมืด คือไม่ต้องแสดงตัวตน ดังนั้นจึงสำ..าก อะไรออกมาก็ได้ โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเห็นเหล่านั้น

แต่ชุมชนบน blog เปลี่ยนความคิดเห็นของผมโดยสิ้นเชิง เพราะทุกคนแสดงตัวอย่างเปิดเผย

อาจจะเรียกว่า เปลือยตนเองสู่สาธารณะด้วยซ้ำไป ประโยคนี้ ตอนนั้นผมไม่ได้พูดหรอกครับ แต่ถ้าได้เจอ เหตุการณ์ blog tag ก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะกรณีของหนุ่มเหนืออย่างอาจารย์เอก และสาวอิสานอย่าง ดร. Ka-Poom แล้ว  ผมคงไม่พลาดประโยคนี้แน่

 

 

ผมทึกทักเอาเองว่า คนที่อยู่ในชุมชน blog มักจะเป็นคนที่เปิดใจ เปิดเผย และไม่หวงวิชา ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งนั่นคือ โอกาสที่เราจะได้เรียนรู้ในวงกว้างมากขึ้น สมกับกลยุทธหนึ่งของภาควิชาที่อยากจะมีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก

ผมยกตัวอย่างการทำ CoP อย่าง Pain = 5th vital sign ของท่านอาจารย์หมอสมบูรณ์

โอกาสที่เราจะได้ใกล้ชิดและเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทางรังสีเทคนิค อย่าง อาจารย์มาลินี

โอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ หน่วยงานรังสีอื่นๆ เช่น กลุ่มของโรงพยาบาลบำราศนราดูร  

ผมตั้งใจจะเว้นไม่พูดถึง เพื่อนบ้านของเรา ภาควิชาพยาธิ ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้เป็นอย่างสูง  เพราะตั้งใจว่าจะต้องเชิญแกนนำคนใดคนหนึ่งมาเล่าประสบการณ์ให้เราฟัง แต่ก็อดพูดถึงด้วยความชื่นชมไม่ได้ และยังไงก็ต้องเชิญมา แต่อยากให้เป็นอย่าง peer assist นั่นคือ หลังจากเราได้มีประสบการณ์ของเราเองบ้างแล้ว  

 ผมยังได้พูดถึงข้อเสียอย่างหนึ่งของ Gotoknow คือ เสพย์ติด และดูดเวลาของเราไปอย่างไม่รู้ตัว แต่ผมก็ถอนตัวเองไม่ขึ้นเสียแล้ว นอกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานแล้ว ที่นี่ยังเป็นที่ๆเราได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ชีวิต บันทึกเรื่องราวส่วนตัว ซึ่งผมก็บอกว่า ผมเลิกเขียน diary ของตนเอง แล้วมาพิมพ์ใส่ GotoKnow แทน

ในที่สุด เราก็ตกลงกันว่า อยากจะเชิญอาจารย์ จันทวรรณ น้อยวัน หรือไม่ก็ เพื่อนบ้านของเราจากภาคพยาธิ มาคุยอะไรให้เราฟังในเดือนมีนาคม 

 

เชิญแล้วครับ ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 77262เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
เห็นด้วยเลยครับ ดูดเวลาแถมถอนตัวไม่ขึ้นจริง ๆ ครับ
ยินดีค่ะอาจารย์ และอยากให้เชิญภาคพยาธิสักคนไปด้วยค่ะจะได้รู้จัก GotoKnow ในมุมมองจากผู้ใช้ด้วยนะค่ะ

อาจารย์ครับ

หากเราเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรมชาติ และเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นมีชีวิต จะไปช่วยสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ "ภาควิชารังสี" ให้มีชีวิตชีวาขึ้น ผมเชียร์เต็มที่ครับ

ผมคิดว่า "best practice" มีให้เห็นที่ มอ. คือ "ภาควิชาพยาธิ" ของ มอ. ครับ เป็นโอกาสอันดีที่ลงตัวที่สุด

หากเรื่องของ "บุคคลเรียนรู้" ผมบอกอาจารย์จากประสบการณ์นะครับ  หากไม่เข้าข้างตนเอง เมื่อผมก้าวมาในโลกเสมือนที่มีผู้คนหลากหลายความคิด ความรู้ แต่ใจหนึ่งเดียวเรื่องการแบ่งปัน เอื้ออาทร  เป็นชุมชนที่มีเรื่องเล่าที่มีชีวิตชีวา ...ชีวิตผมเปลี่ยนไปมากเลยครับ ผมพัฒนาตนเองขึ้นอย่างไม่รู้ตัว ที่วิเศษไปกว่านั้น คือ มิตรภาพที่อบอุ่น จากผู้ที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน...ที่ไหนจะมีแบบนี้

ตามที่อาจารย์เขียนและบรรยากาศในการเริ่มต้น ผมรู้สึกชื่นชมอาจารย์มากครับ ผมคิดว่าแต่นี้ต่อไป ต้นกล้าใหม่ ที่ มอ.จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการดูแล เอาใจใส่ของอาจารย์และคนในภาควิชาครับ

อาจารย์และภาควิชารังสีวิทยา ไม่โดดเดี่ยวครับ

ให้กำลังใจเต็มที่.....

 

 

 

 

 

จริงค่ะ  G2K ดูดเวลาไปเยอะเลย

ปกติ เวลานี้ ต้องไปดูแลเวบ

แต่ตอนนี้ทิ้งเวบส่วนตัวไปเลย  สมาชิกยังเข้าใจว่าเวบมาสเตอร์กำลังป่วยอยู่ 

หารู้ไม่ว่า แต่ความจริงกำลังมาเพลินอยู่ที่นี่  555

 

ปล. อจ.คะ ไม่ชวนคุณรุ่งทิพย์มาเขียนบล็อกบ้างล่ะคะ  ? (แบบว่าเพื่อนคนนี้คิดถึงอย่างแรง ^^)

^___^

อาจารย์จันทวรรณครับ งั้นผมถือว่าอาจารย์ตกลงแล้วนะครับ ขอบคุณครับ จะทำหนังสือเชิญไปครับ คงจะขอให้พูดร่วมกับ..เพื่อน จากพยาธิครับ ตั้งใจอย่างนั้นอยู่แล้ว

อาจารย์จตุพรครับ ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ

คุณ k-jira  ครับ ขอบคุณที่แวะมา ส่วนคุณรุ่งทิพย์นั้น ผมชวนแล้วครับ เขาก็มาฟัง แต่เนื่องจากเขา......หนักมาก  ผมหมายถึง..ภาระ นะครับ ทั้งงานในหน่วยและปริญญาโทที่จะต้องเรียน แต่ก็ยังมั่นใจในความหนัก..แน่นของศักยภาพเขาครับ 

ว่างๆ ผมคงต้องชวนอาจารย์ Kae และคุณ k-jira มาถกกันว่า เราจะเป็นฝ่าย ดูด Gotoknow ได้อย่างไร หมายถึง ดูดความรู้ นะครับ โดยไม่โดนดูดเวลาครับ

คุณเอื้อ หมายถึงอาจารย์เต็ม start เครื่องแบบนี้ ไปโลดแน่  ส่วนหนึ่ง เพราะอาจารย์เป็นผู้ถ่ายทอดได้ดีที่ดี เป็นทุนอยู่แล้ว

เคยคิดว่า g2k ดุดเวลาเราไปเช่นกันค่ะ  แต่ตอนนี้ ไม่คิดเช่นนั้น  คิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของงาน เวลาของ g2k ไม่ใช่เวลานอกที่จะต้องหาให้  อยู่ที่ให้ความสำคัญและจัดเวลา ดังที่ใครบางคนพูดถึงไม่นานนี้ว่า เวลานี้เป็นของเรา  เราเป็นผู้กำหนดเวลา

เขาเรียกว่า "ติด Blog" หรือเปล่าอาจารย์? ดีใจจังที่มีคนติดBlog เหมือนเรา

จริงๆผมจะกลับมาเขียนความในใจเรื่อง "ดูดเวลา" จริงหรือ

แต่พอเห็นข้อคิดเห็นของ อ.หมอ.ปารมี แล้ว ผมขอสนับสนุนครับ...ตรงใจผมจัง

 

PPP ครับ

ผมว่าผมเริ่มปรับตัวได้บ้างแล้วครับ แต่ตอนช่วงแรกนี้ ไม่เป็นอันกินอันนอนเลย แล้วผมก็ใช้เป็นที่หัดพิมพ์ดีดด้วย เลยช้า

ขอบคุณครับ 

เขาเรียกว่า "จิ้มดีด" เหมือนกันค่ะ อาจารย์ ดิฉันเองจิ้มผิดบ่อยมากเลยค่ะ

ไม่โดเดียวค่ะ อาจารย์ ดิฉัยเป็นรังสีเทคนิคคนหนึ่งที่ใช้ CoP นี้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและอาจารย์

 

ผมนึกภาพ "คลำดีด" ได้ครับ

แต่ฟังดู"เสียวๆ" นะครับ

ไม่ได้มาดูดอะไรหรอกนะคะ...มาตามรอยที่อาจารย์ไปทิ้งไว้ค่ะ...ทุกวันนี้กะปุ๋มก็จิ้มดี...บันทึกใน GotoKnow ค่ะ...แต่เป็นแบบจิ้มเร็วๆ กว่าปกติน่ะค่ะ...

(^______^)

ปล.ทุกอย่างทั้งสิ้นอยู่ที่ตัวเราค่ะ..ที่เราจะสามารถจัดการตนเองได้ดีแค่ไหน...ซึ่งแม้แต่ในตัวเราก็ยังไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวเลยค่ะ...

มีทั้ง "คลำ ดีด ดูด จิ้ม" อะไรก็ไม่รู้!!

พี่เต็มทำเป็น knowledge sharing ของคณะแพทย์ไปเลยดีไหมครับ หรือว่ายังไม่กว้างขวางขนาดนั้น ยังไงๆตอนมี session นี้ แอบกระซิบหรือ post ลง community นี้หน่อย จะไปร่วมฟังด้วย

สำหรับผมแล้ว Blog ไม่ "เสียเวลา" เลยแม้ว่าเราได้ "ใช้เวลา" ไปเป็นสัดส่วนที่เยอะพอประมาณ เนื่องจากคำว่า "เสียเวลา" นั้น ก็เหมือนคำว่า "ไม่มีเวลา" คือเป็น สัมพัทธ์

"สัมพัทธ์กับอะไร?" ก็สัมพัทธ์กับลำดับความสำคัญ ความคาดหวังของแต่ละคน ดังนั้น้เวลาเราบอกว่าเรื่องอะไรที่เราไม่ทำนั้น แปลตรงๆก็คือ "ยังไม่ถึงลำดับความสำคัญสูงสุด ณ เวลานั้นๆ" 

ที่น่าสนใจคือกิจวัตรประจำวันที่ "สำคัญนักหนา" นั้น บางทีมันไม่ได้สำคัญอย่างที่เรา (แอบ) ตั้งไว้ แต่เป็นการทำเพื่ออื่นๆมากกว่า เช่น แต่งหน้าตา ทำผม อาบน้ำ แคะขี้มูก เกา ฯลฯ ตัดออกหมดปรากฏว่ามีเวลาเพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงก็มีนะครับ

ดังนั้นที่พี่เชิญมาใน Blog สำหรับผมก็ยังอยู่ใน category "The Best thing (yet) ever happens to me" rating ยังไม่ตกครับ ยังคงเสพต่อไปเรื่อยๆ

อาจารย์ kanitta ครับ

  • ดีใจมากครับที่อาจารย์ให้เกียรติแวะเข้ามา
  •  เมื่อทางสงขลาเริ่มกิจกรรมแล้ว หวังว่าคงได้มีโอกาส ลปรร. กันนะครับ

อาจารย์ เอก ครับ

  • ผมตั้งใจจะใช้คำว่า พิมพ์สัมผัส แต่ก็รู้สึกว่ามันยังห่างไกลเหลือเกิน เพราะเห็นสภาพตัวเองแล้ว เป็น คลำ มากกว่า สัมผัส ครับ
  • อาจารย์อย่าคิดมากนะครับ

อาจารย์ Ka-Poom ครับ

  • ทราบจากอาจารย์เสาวรัตน์ พยาธิ ว่าอาจารย์จะมาบรรยายที่มอ.
  • เสียดายจังครับ ผมมีสัมมนาหน่วยที่กระบี่ตรงกัน
  • ผมเห็นด้วยกับ ข้อความใน ป.ล. ของอาจารย์มากครับ

อาจารย์ สกล ครับ

  • เดี๋ยวนี้ ผมเลยเลิกนิสัย นอนเอกเขนกหน้าทีวีิ แล้วหลับไปให้ทีวีดู ตอนเย็น ไปได้อย่างเหลือเชื่อ เพราะ blog นี้ละครับ 

ฮา ฮา ผมเล่น blog ตอนดึกครับ แต่ยังไงๆ นอนเอกเขนกหน้าที่วี แล้วหลับให้ทีวีดูตอนเย็น ยังเป็น the most favourite อยู่อย่างเหนียวแน่น มันสบาย อบอุ่น อ่อนโยน ผ่อนคลาย .... zzzzzzz.......
ยินดีค่ะอาจารย์ที่จะได้ร่วมเล่าสู่กันฟังเรื่องบล๊อกพร้อมกับพี่โอ๋ค่ะ
ยินดีเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ อ.เต็มศักดิ์ เพื่อนบ้านใกล้เคียงแค่นี้เอง นัดวันกันมาได้เลยค่ะ คุณเอื้อ"ให้ใจ"อย่างนี้แล้ว มีหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างเราจะปฏิเสธ อยากจะตะโกนโฆษณาให้ทั้งคณะแพทย์มาตั้งนานแล้วค่ะ เขียนบทความลงในข่าวคณะแพทย์ กับ KM news มา 2-3 ครั้งแล้ว เพื่อจะขายไอเดียการเขียนบล็อกเพื่อพัฒนาตัวเองนี่แหละค่ะ

อาจารย์ จันทวรรณกับ คุณโอ๋ ครับ

  • ขอบคุณมากเลยครับ
  • ผมได้วันมาแล้ว จะขอเป็น  ศุกร์ ๓๐ มีนาคม ช่วง ๑๒.๐๐ ถึง ๑๓.๓๐ น. ได้มั้ยครับ
  • มารับประทานข้างเที่ยงด้วยกันก่อนแล้วค่อยเริ่มครับ
  • จะทำหนังสือเชิญเป็นทางการอีกครั้ง ถ้าอาจารย์ทั้งสองท่าน OK นะครับ

 สกล ครับ 

  • อะไรมัน ยืด ตรงมุมปากหรือเปล่า 

 

วันนี่ต้องขอขอบคุณ คุณ โอ๋ มากเลยครับ ที่อุตส่าห์แวะมาถ่ายทอดกลเม็ด แบบ F2F ถึงถิ่นของผมที่รังสีรักษา

- การอำนวยความสะดวกให้เพื่อนร่วมงานเข้าถึง G2K ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงาน

- การใช้ G2K เป็นรายงานภาระงาน

- การค้นหาจุดเด่นและดันดาราเป็นรายคน 

- การจัด workshop แนะนำ G2K แบบสัมผัสหน้าจอ  คนต่อคน

และที่สำคัญ... ต้องใจเย็น

ขอบคุณอีกครั้งนะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท