แลกเปลี่ยนเรียนรู้(ทีมสหวิชาชีพระดับอำเภอ)


กฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ 2546 ให้นำมาปฏิบัติให้ได้จริงๆ

            ช่วงเช้าได้มีโอกาสไปให้ความรู้ทักษะการให้คำปรึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ในการทำงานด้านเด็กและสตรี  ซึ่งได้นำประสบการณ์ในช่วงที่ทำงานอยู่ที่องค์กรพัฒนาเอกชน(มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์) มาเกือบ 14 ปี เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่ให้การดูแล  ช่วยเหลือเด็กและสตรีมา ซึ่งการทำงานที่ผ่านได้ให้การบำบัดจิต  เด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง จากครอบครัว คนใกล้ชิด คนแปลกหน้า และชุมชนที่เขาเหล่านี้ได้อาศัยมา

         ให้กับทีมสหวิชาชีพในระดับอำเภอกันทรวิชัย ซึ่งทีมงานโรงพยาบาลกันทรวิชัย เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดทีมขึ้น ซึ่งผู้ประสานหลักคือ คุณสลิดา พยาบาลวิชาชีพ เพื่อจัดการฝึกอบรมด้วยกัน 2 วันระหว่างวันที่8-9 กุมภาพันธ์ 2550 ผู้เข้าอบรมจำนวน 30 คน ประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่ตำรวจ  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  องค์การบริการส่วนตำบล  ครู- อาจารย์ระดับมัธยม  พยาบาลวิชาชีพ  เพื่อที่เชิญวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกในการมาให้ความรู้ทางด้านกฎหมายคุ้มครองเด็ก   เทคนิคการให้คำปรึกษา  การได้เรียนรู้บทเรียนจากโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการเปิดศูนย์พึ่งได้ ด้านเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง

           เริ่มจากการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เล่นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้เข้าแถวเป็นตอนลึก 2 แถว เท่ากัน และให้ตัวแทนหัวแถวได้มารับข่าวที่จะกระซิบต่อไปในแถวของตนเอง ใช้เกมกระซิบ ที่เป็นประโยค หรือสำนวนยาวๆ เพื่อที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรม

         กติกา คือแต่ละคนกระซิบได้ครั้งเดียว ไม่ให้ถามซ้ำ ให้ใช้ความเร็วมากที่สุด แถวไหนเร็จก่อน ให้คนที่อยู่ท้ายแถว วิ่งมาด้านหน้าเพื่อจะบอก ประโยคที่ตนเองได้ยินจากการกระซิบ ทั้ง 2 แถวจะทำเหมือนกัน

       เมื่อคนสุดท้ายทั้ง 2 แถวได้นำเสนอแล้ว จะต้องถามว่ามีข้อความอะไรที่เพิ่มขั้นมาบ้าง  ข้อความอะไรที่ขาดหายไป เพื่อที่จะให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มช่วยกันเพิ่มเติมให้สมบูรณ์และครบถ้วน

         สิ่งที่ได้ คือ การตั้งใจฟัง  การสื่อสารเนื้อหาให้ครบถ้วนก่อนที่จะสื่อไปยังอีกฝ่าย   การได้ยินข่าวอะไรมาจะต้องมีการตรวจเช็คให้ถูกต้องก่อน จะไม่ทำให้เกิดความเสียหาย การที่ไม่กลั่นกรองสาร จะทำให้เสียหายได้ 

           ซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น การทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ ติดเอดส์ ติดยาเสพติด ถูกปล่อยปละละเลย ถูกทอดทิ้ง ขายบริการทางเพศ  เมื่อมามองผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่  ที่ตกเป็นเหยื่อมักจะเป็นเด็กและสตรี  จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเหมื่อนกัน

          ทำไม/...ผู้กระทำมักจะมุ่งเป้าไปที่ผู้ที่อ่อนแอกว่า บางคนบอกว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมักจะไปโทษสื่อที่เน้นด้านธุรกิจมากเกินไป  เด็กและเยาวชนสามารถที่จะเข้าถึงได้ง่ายเกินไป พื้นที่ของเด็กในสังคมอาจจะมีไม่เพียงพอในการที่จะให้เด็กและเยาวชนได้มีพื้นที่สร้างสรรค์ กิจกรรม  เรียนรู้  จัดทำพื้นที่ให้เป็นสังคมที่น่าอยู่  การที่เด็กจะทำให้เกิดความสำเร็จได้จะต้องมีผู้ใหญ่ใจดีในการที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงการมีคุณธรรม จริธรรมที่พร้อมมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น   จะทำอย่างไรความรุนแรงเหล่านี้ จะลดน้อยลงไปจากสังคมได้

            จากนั้นได้ให้ข้อมูลด้านสภาพจิตของเหยื่อ ที่ถูกกระทำความรุนแรงว่ามีสภาพจิตเป็นอย่างไรบ้าง  เพื่อที่จะให้ทีมสหวิชาชีพได้เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก  สภาพจิตใจพื้นฐานของผู้ที่ถูกกระทำ เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำปรึกษาได้

           ได้ให้ทักษะการให้คำปรึกษาเบื้องต้น ว่าจะต้องมีเทคนิคอย่างไรให้การให้คำปรึกษาแก่เด็กและสตรี ซึ่งเป็นความละเอียดอ่อนในการที่จะให้บริการปรึกษา การดูแล การคุ้มครอง การประสานในการส่งต่อเครือข่าย ถ้าเกินศักยภาพในการให้ความช่วยเหลือของเรา มุ่งหวังที่จะให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์มากที่สุด

          ผู้รับการฝึกอบรมให้ความสนใจ ตั้งใจในการรับความรู้อย่างจริงจัง และสนใจในการที่จะถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มีท่านหนึ่ง ได้ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในห้อง ว่า มีบางองค์กร หรือสื่อมักจะนำเด็กที่เป็นผู้เสียหายออกทางสื่อ โดยการปิดอำพรางหน้าตาของเด็ก แต่ได้เอ่ยชื่อบ้านและที่อยู่ของเด็ก ทำให้เด็กได้รับผลกระทบไม่สามารถที่อยู่ในชุมชนได้ 

         ในห้องเรียน ได้แสดงความคิดเห็น ไม่เห็นด้วยที่จะนำเด็กออกมาทางสื่อ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นมีมาก คงจะต้องช่วยกันในการที่จะสะท้อนปัญหาเพื่อที่จะให้คนที่ทำงานด้านเด็ก  ได้เกิดความตระหนักมากขึ้น สิ่งไหนบ้างที่ควรทำได้ ให้ยึดหลักกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ 2546  ให้นำมาปฏิบัติให้ได้จริงๆ

           และสุดท้ายสมาชิกได้ทิ้งคำถาม จะทำอย่างไรในการสอบปากคำเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องใม่ให้ผู้เสียหาย  และ ผู้ต้องหา    มาพบกัน  เพียงเพื่อที่จะรอเข้าห้องสอบปากคำ  ซึ่งมีเพียงห้องเดียว  ทำให้ผู้ที่เสียหายไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร  ในทางปฎิบัติเป็นไปได้ยากที่จะมีห้องสอบปากคำคนละห้อง ที่แยกกันคนละแห่ง  เพราะ............../....

 

หมายเลขบันทึก: 77258เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เย้เย้ พี่นงค์มีสีสันแล้ว  น่าอ่านมากค่ะ
  • น่าสนใจมากเลยค่ะพี่นงค์ เนื้อหาน่าจะทำเป็นหลายๆตอนนะคะ  จะรอเก็บเกี่ยวค่ะ ^__*
  • กำลังใจเป็นสิ่งที่ให้พลังอันยิ่งใหญ่
  • ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะ
  • ขอบคุณที่มีสิ่งดีๆได้เรียนรู้และเก็บเกี่ยว
  • หัวข้อในการบรรยายเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
  • ในปัจจุบันจะพบว่า เด็กและสตรี เป็นกลุ่มที่ถูกทำร้ายอยู่เสมอและได้รับข่าวอย่างต่อเนื่อง
  • เห็นควรมีพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่คุ้มครองให้ความปลอดภัยเด็กและสตรีมากขึ้นและกระทำอย่างจริงจัง
  • ในห้องเรียนและหลักสูตรควรมีการปลูกฝังให้เด็กและสตรีมีวิธีป้องกันตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงจากเหล่าอาชญากรรมทั้งหลาย
  • ดีใจจังที่คุณป้าศินา ที่ให้ความคิดเห็นดีๆ และพยายามอ่านให้จบ
  • เห็นด้วยกับสิ่งที่นำเสนอมาค่ะ
  • กฎหมายคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546  ได้ประกาศใช้เมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ 2547   แต่มีปัญหาในทางการนำมาปฎิบัติค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท