มองสกว.ย้อนดู นครศรีธรรมราช (5)


เป็นการทำงานเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นเจ้าของเรื่อง(คุณกิจ) ส่วนราชการเป็นฝ่ายสนับสนุน(คุณอำนวยและคุณเอื้อ)

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เริ่มจากโครงการนำร่องจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน3ตำบลในปี2548 ซึ่งท่านได้เข้ามาเรียนรู้อย่างจริงจังต่อเนื่อง ร่วมกัน9หน่วยงานภายใต้งบประมาณบูรณาการผ่านทางสำนักงานพัฒนาชุมชน ขณะนั้นงบบูรณาการจังหวัดได้กระจายไปยังเสนาบดีจังหวัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดด้านต่างๆโดยกลไกของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ทั้งเกษตรจังหวัด พัฒนาการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด กศน.จังหวัด เป็นต้น โดยมีโครงการเสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืนที่ปกครองจังหวัดทำร่วมกับเครือข่ายยมนาภายใต้ชื่อการทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองจำนวน400หมู่บ้าน ซึ่งวางเป้าหมายต่อเนื่อง3ปีครอบคลุมทั้งจังหวัดรวม1,551หมู่บ้าน

เมื่อการเรียนรู้จากโครงการนำร่อง3ตำบลประสบผลเป็นที่น่าพอใจ ท่านได้ขยายโครงการจัดการความรู้ต่อยอดโครงการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งกำหนดแผนที่นำทางไว้6ปี

โดยแนวคิดของการทำแผนแม่บทชุมชนคือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนเพื่อให้รู้เท่ารู้ทันรู้กันรู้แก้คือ รู้จักตนเอง รู้จักชุมชน และรู้จักโลกผ่านการทำบัญชีครัวเรือน บัญชีชุมชนเพื่อวางแผนการพัฒนาชุมชนอย่างรอบด้าน โดยเน้นการพึ่งตนเอง และพึ่งพาอาศัยกันเป็นหลัก

เรื่องเหล่านี้มีรายละเอียดในBlogก่อนหน้านี้แล้ว โดยสรุปคือ เป็นการทำงานเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นเจ้าของเรื่อง(คุณกิจ) ส่วนราชการเป็นฝ่ายสนับสนุน(คุณอำนวยและคุณเอื้อ)

 โดยการจัดกลไกเรียนรู้ผ่านคุณเอื้อประเด็นและคุณเอื้อพื้นที่ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการจัดกลไกABCของสกว.ก็คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด เปรียบเสมือน ผอ.สกว.
สำหรับผอ.ฝ่ายต่างๆคือ นายอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดในคน ๆเดียวกัน เพราะผอ.ฝ่ายซึ่งดูแลประเด็นมาก่อนได้รับบทบาทให้ดูแลพื้นที่ด้วย
กลไกของสกว.ที่เชื่อมผ่านหัวหน้าชุดโครงการเชิงประเด็นถูกออกแบบเพื่อประสานพลังลงไปเสริมงานพื้นที่อย่างบูรณาการตามศักยภาพภายในของแต่ละพื้นที่ โดยมีเครือข่ายนักวิจัย(ความหมายของนักวิจัยมิใช่จำกัดเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่เป็นคุณกิจที่สนใจใคร่รู้ในความเป็นไปของตนเองและสังคม)ตามฐานประเด็นเป็นขุมกำลังสำคัญ

ในแง่ของการจัดการความรู้ กลไกของอำเภอคือนายอำเภอซึ่งเป็นคุณเอื้อพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับคุณเอื้อประเด็นคือหัวหน้าส่วนราชการอำเภอ โดยมีคุณอำนวยประเด็นของแต่ละส่วนราชการเป็นทีมงานสนับสนุนในพื้นที่ รวมทั้งการเชื่อมต่อกับคุณเอื้อตำบลทั้งอบต.และกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็น โครงข่ายการทำงานที่ซ้อนทับกันอย่างซับซ้อนเพื่อลงไปสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชนผ่านกระบวนการแผนแม่บทชุมชนและกลุ่มจัดตั้งตามสายงานที่มีอยู่เดิม

การจัดการความรู้คือ การกำหนดบทบาทหน้าที่ เพื่อพัฒนาความสามารถให้ทำหน้าที่นั้นได้อย่างมีความสุข และประสบผลสำเร็จ ได้ทั้งเพื่อน งานและความงอกงามในจิตใจ

การจัดการความรู้นอกจากให้คุณค่าของความเป็นมนุษย์แล้ว ยังเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ สอดคล้องกับกรอบคิดทางศาสนา

การจัดวางกลไกของสกว.ในABC Researchต้องสร้างการเรียนรู้ข้ามประเด็นและเชื่อมโยงประเด็นนำสู่การใช้งานในพื้นที่อย่างบูรณาการ มีความยากของฝ่ายงานที่เป็นประเด็นเชิงเทคนิคอยู่มาก หลายคนไม่คุ้นเคยกับการทำงานข้ามฝ่ายโดยเฉพาะการทำงานเชิงสังคมที่เกี่ยวข้องกับคน

ในขณะที่กลไกของจังหวัดที่ซ้อนทับกันก็มีความยากตรงวาทกรรมที่มีอยู่เดิมซึ่งคุ้นเคยกับคำสั่งและผลสำเร็จตามสายงาน มิใช่การเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้พื้นที่และคนเป็นเป้าหมาย

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 77206เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท