เรื่องราวของศุนย์สิรินทร


ชวนกันมาทำ KM ของชาวศุนย์สิรินทร

เราได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเป็นวิทยากรกับทีมวิทยากรของกรมอนามัยอีกครั้ง คราวนี้ไปที่ศูนย์สิรินทร ที่อยู่ไม่ไกลจากกรมของเราเลย แถมมีลักษณะงานคล้ายๆกับของศูนย์เราด้วย  ครั้งแรกได้รับการประสานจากคุณศรีวิภา ว่าจะจัดตั้งแต่เดือนม.ค แล้ว  แต่เลื่อนมาเป็นวันที่6-7.พ มาเป็นวันที่6-7.พ                  ภาพ

แรก กลุ่ม1 เล่ากันสนุก(สังเกตุวัยด้วยนะคะ)

                                                                         

  

บรรยากาศที่ทำให้เห็นว่าทีม KM ดาวรุ่งเหล่านี้ ว่ามีความเข้มแข็งมากแค่ไหน

ภาพสอง เป็นกลุ่มใหญ่ที่รวมกันสรุปปัจจัยความสำเร็จหรือแก่นความรู้

ภาพสามกลุ่มที่1 สมาชิกยังมาไม่ครบ ทะยอยกันมา เลยดูหลอมแหลมไปหน่อย

ภาพที่4กลุ่มที่3 ที่บอกว่าบรรยากาศครึมๆ

ภาพที่5 เริ่มแข็งขันกัน2แถว มาเขียนเหตุผลที่ต้องทำ KM และไม่ทำ ดูซิว่าใครจะมีเหตุผลมากกว่ากัน

ภาพที่5 คือภาพความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เพราะท่านผอ. เข้าร่วมกิจกรรมตลอด ทำตัวกลมกลืนกับทีมไปด้วย  ทำให้ทีมของเรา เป็นปลื้มมากๆ ที่ท่านมีSPIRIT สุดยอด อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ได้ใจและมีพลังขับเคลื่อนแน่

                           ท่านเป็นผู้บริหารหรือ CKO ที่สุดยอดค่ะ  ความรู้สึกครั้งแรกที่ไปถึง สถานที่น่าอยู่ ไม่พลุกพล่านเหมือน ร.พ ทั่วไป และก็ได้ทราบต่อมาจากการเล่าเรื่องในกลุ่มว่าที่นี่ให้บริการฟื้นฟูคนพิการที่มีการให้บริการทั้งรับและรุก คือรุกออกหน่วยเคลื่อนที่ไปให้บริการตามจังหวัดต่างๆด้วย ซึ่งการออกรุกก็ต้องแบ่งคนทำงานไปถึงครึ่งหนึ่งที่มี จึงทำให้รู้ว่าเป็นงานที่หนักเอาการ ต้องทำงานหลายๆหน้าเพราะมีงานที่ต้องตอบคำถามของ กพร. ประเมินHA  จึงทำให้ทุกคนกังวลกับสิ่งนี้มาก <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และที่แน่ๆก็ได้รับรู้เรื่องราวของKM มามากแล้ว หลายคนบอกว่างงๆอยู่ ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้อย่างไร จะทำให้เกิด CoP เพื่อตอบ กพร 2CoP “ได้อย่างไร</p>    แต่เมื่อทีมวิทยากรอย่างอ.นันทา และคุณศรีวิภา (รวมเรา2คน จากศูนย์อนามัยที่1) มาครั้งนี้ ได้นำฝึกปฏิบัติจริงๆกันเลย (แอบอิจฉา สมัยเราเริ่มต้นที่ต้องให้เล่าว่าไปทำKMแล้วได้อะไร อยู่เป็นปีๆแน๊ะ)  อ้อ ลืมบอกไปว่าทีมงานที่เข้าร่วมครั้งนี้มีหลากหลาย เรียกว่าสหวิชาชีพเลยแหละ ซึ่งก็มีแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด  พัศดุ  การเงิน โสติ  แถมอายุเฉลี่ยของ จนท. น่าจะอยู่ประมาณ 30กว่า ดูจากน่าตาที่สาวสวยและ ACTIVE  จำนวนคนเข้าร่วมครั้งนี้ประมาน30กว่าคน(พอๆกับอายุเฉลี่ยเลย)หัวปลาครั้งนี้ คือ ความสำเร็จในการมีส่วนร่วมดูแลผู้พิการ  แบ่งกลุ่มได้3กลุ่ม เล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่ได้ดูแลผู้พิการ จนครบทุกคน ซึ่งบรรยากาศแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป  เรามีภาพมาฟ้อง    กลุ่มที่1 เล่าด้วยความสนุกสนาน ด้วยความเห็นในกลุ่มว่าไม่มีผู้ใหญ่  (เราอยู่กลุ่มนี้) เราเน้นบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนซึ่งก็ได้ผลนะเพราะตอนแรกๆทุกคนดูยังเกร็งๆ (แต่ก็ไม่ออกนอกประเด็นที่จะแลกนะจ้ะ)    กลุ่มที่2 มีประเด็นที่สงสัยเป็นระยะๆซึ่งคุณศรีวิภาดูแลกลุ่มนี้ จึงเหมาะมากเพราะว่าเธอจะแก้ข้อสงสัยได้อย่างอยู่หมัด    กลุ่มที่3 ช่างตั้งใจเล่าดีมาก ใช้เวลาเล่าอย่างต่อเนื่องชนิดลืมกินข้าวกลางวันเชียว(เลยเวลาไปเป็น12.40น.)แต่ท่าน ผอ.แอบมากระซิบกลุ่ม1ว่ากลุ่มนี้สนุกกันดีนะได้ยินเสียงหัวเราะเป็นระยะๆ กลุ่มนั้นนะ(ที่3)เล่าเรื่องเหมือนหนังผีเลย ดูน่ากลัว  ท่านเข้าใจเปรียบเทียบ ว่าบรรยากาศคงเงียบๆ  วันนั้นทั้งวันที่กลุ่มได้ฟังเรื่องเล่าของกันและกัน  จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มรวบรวมสรุปปัจจัยความสำเร็จที่ได้ให้เป็นหมวดเดียวกัน  แล้วให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ    แถมยังให้กลุ่มคัดเลือกเรื่องเล่าเร้าพลัง มาเป็นตัวอย่างการเล่าที่มีTACIT K. ที่ดี  ในวันต่อมากลุ่มก็ได้รับฟังเรื่องราวของศูนย์เขต1 ที่เริ่มทำ KM เราทำอย่างไรกัน ล้มลุกกลุกคลานกันมาแล้ว เริ่มทำแบบไม่สนใจว่าจะใช่ไม่ใช่ไปก่อน แล้วค่อยๆเรียนรู้ไปว่าแบบนั้นแบบนี้ โดยมีโอกาสหลายๆทางเช่นจากทีมKMกลางของกรมที่เข้าไป SITE VISIT ให้ด้วย เข้าร่วมกิจกรรม KM ที่ทางกรมจัดอย่างต่อเนื่อง ได้รับรู้เรื่องราวอื่นๆที่ต้องนำมาปรับใช้กับบริบทของตัวเองไปอีก รวมทั้งได้รับโอกาสไปร่วมกับทีมวิทยากรมของอ.นันทา  เป็นการเติมความรู้ให้นำมาปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา  เรา2คน (น้องปลาอีกคน) ผลัดกันเล่า มีคนสนใจซักถามค่อนข้างมาก คำถามมีเช่นทำอย่างไรกับภารงานที่มากเพราะทราบว่าเปนหัวหน้างานด้วย  เราตอบว่า อย่ามองแยกส่วน งานที่เข้ามาช่วยทำให้เราคิดเป็นระบบมากขึ้นถ้าเรารู้จักบริหารจัดการกับมัน คนที่มีน้อยกว่างาน นั้นหมายถึงต้องทำได้หลายๆหน้า ต้องสอนให้น้องทำเหมือนเราให้ได้ ตัวเองใช้วิธีเขียนบอก ให้ดูแล้วถามว่าคิดอย่างไร เปิดโอกาสให้ตัดสินใจ ไม่ต่อว่าไม่ตำหนิ ใช้คำชมเป็นแรงเสริมใช้การพูดคุยปรับแก้กันอยู่ตลอด พูดเชิงบวกกับน้อง ให้มองเห็นภาพใหญ่ที่จะเกิดขึ้น ตัวเองต้องเป็นตัวอย่างในการทำงานที่ดีให้น้องเห็น เขาก็ยอมรับ ทำหลายๆอย่างได้เหมือนๆกับเรา  และอีกหลายๆคำถามที่ล้วนแต่sharp  จนมาถึงช่วงบ่ายของวันที่2 ให้แบ่งกลุ่มกันได้2กลุ่ม ช่วยกันดึงปัจจัยความสำเร็จในการนำKMไปใช้ (จากที่ฟังเรื่องเล่าของศูนย์1)เท่าที่รวบรวมได้จากสมาชิกกลุ่ม มีดังนี้  1.ลงมือทำเลย อย่าลังเล2.สร้างบรรยากาศที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยน    3.ไม่ท้อถอย  4.ผู้นำต้องสนับสนุน   5. มีกิจกรรมต่อเนื่องสมำเสมอ 6.เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็น7.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 8.ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน 9.ให้กำลังใจกัน  10.ต้องมีFAที่เข้มแข็ง/อดทน/ฝึกฝนอยู่เสมอ  11.คิดนอกกรอบ12.มีที่ปรึกษา/เครือข่าย  13.ต้องมีความกระติอรื้อร้น  /ใฝ่รู้/เสียสละ  14.สิ่งแวดล้อมทีดีทำให้อยากแลกเปลี่ยน  15.มีเป้าหมาย  15.เผยแพร่ผลงานที่ประสบความสำเร็จ      <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังจากนั้นก็ให้กลุ่มช่วยกันคิดเหตุผลที่ทำ KM ในองค์กร  /  เหตุผลที่ไม่ควรทำKM  ก็มาดูกันเลยว่าข้างไหนที่มีนำหนักกว่ากัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> ลองดูเหตุผลคนที่คิดว่าต้องทำเพราะ1.ต้องการเป็น excellent center                                                                              2.สร้างนวัตกรรมใหม่  3.     กระบวนการ KMจะช่วยให้กลุ่มเอื้ออาทรกัน4.ไหนๆก็จะทำโครงการมาหมดแล้ว ทำดพิ่มอีกอย่างจะเป็นไร5.เพื่อให้องค์กรอยู่รอด6.เพื่อให้เกิดการพัฒนาความคิดในการทำงานมากขึ้น7.กระจายความรู้ ความรู้อยู่ที่ตัวคน8.มีเครือข่าย9.อยากรู้ อยากอยู่ในกระแส(ทันสมัยป10.การปฏิรูประบบราชการ ทำให้องค์แห่งการเรียนรู้11.เพื่อสร้างสัมพันะที่ดีในหน่วยงาน12.สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ให้แก่องค์กร13.เปิดโอกาสให้คนระดับล่างได้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่14.ได้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานและผู้รับบริการ15.นำความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวคนมาทำให้เกิดประโยชน์16.อยากเปลี่ยนวิธีคิดของตนเองและผู้ร่วมงาน17.ทำให้เกิดคความสามัคคีในหน่วยงาน/องค์กร18.ทำให้งานง่ายขึ้น19.พัฒนางานได้โดยใช้ประสบการณ์ตรง20.เล็งเห็นบุคคลความรู้เกิดในองค์กร21.ได้ WORK INSTRUTION22.จัดการความรู้ให้เป็นระบบ23.คาดว่าจะทำงานได้อย่างมีความสุข24.พัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ25.เป็นการแก้ปัญหาที่ทุกคนมีส่วนร่วม26.ประสบความสำเร็จในการให้บริการ27.จนท.จะรักกันมากขึ้น28.รู้จักเพื่อนร่วมงานมากขึ้น29.เป็นนโยบาย30.อยากให้ดูดี31.เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี32.เพื่อให้ผ่านHA33.อยากให้งานเป็นระบบ/ลดขั้นตอน34.ทำงานเดียวได้2ผลงาน35.โดนบังคับ36.ให้รู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร37.ทำให้อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ                                                                                                                                             เหตุผลที่ไม่ควรทำKM  1.ขาดแคลนงบ2.ไม่สามารถนำไปปรับใช้กับงานประจำได้3.ทำไปแล้วไม่เกิดประโยชน์4.บุคคลกรไม่ให้ความสำคัญ5.เพิ่มภาระงาน6.ผอ.ไม่เห็นความสำคัญ7.บรรยากาสไม่เอื้อให้ทำ KM8.บุคคลกรขาดความเข้าใจเรื่องKM9.ไม่มีความเสียสละ10.ไม่รู้ไม่ชี้11.ไม่ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน12.ขาด FAที่เข้มแข็ง13.บุคคลมีความขัดแย้ง14.ตัวจริงไม่มา ส่งตัวแทน15.ไม่ให้ความร่วมมือ16.ขาดความชัดเจน17.ขาดจุดยืน18.ขาดบุคคลากรที่จะมาเป็นเดรือข่าย19.เซ็งเรื่องใหม่20.ยั่งยืนหรือเปล่า เป็นกระแส?21.เบื่อกับอะไรที่ไม่เห็นประโยขน์ ดูแล้ว กลุ่มก็สรุปว่า เหตุผลที่ต้องทำมันมีมากกว่าที่จะไม่ทำ  จึงทำให้เราได้รูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆอยู่ตลอดจากเทคนิค ของอ.นันทา    นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันที่6-7 ก.พ  ในอีกส่วน ที่จะเพิ่มเติม อยากให้ท่านอ่นในบล็อกคุณศรีวิภา  ซึ่งจะเก็บเรื่องเด็ดๆมานำเสนอต่อให้ครบถ้วน  อย่าลืมเข้ามาเติมสิ่งที่ท่านคิดว่าจะเป็นกำลังใจให้ศุนย์สิรินทร  ของเราต่อไปด้วยนะคะ 

หมายเลขบันทึก: 77106เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ ที่นำเรื่องดีๆ มาเผยแพร่ ...

เราได้ทั้งเรื่องของ

  • ปัจจัยความสำเร็จของการนำเอา KM ไปใช้ จากบทเรียนรู้ จาก ศูนย์ฯ 1 และ
  • เหตุผลที่ต้องทำ KM

มีหลายประการเลยค่ะ เพราะฉะนั้น สรุป ว่า ใช้ KM ในการทำงาน ก็ดีกว่าไม่ใช้แน่นอนใช่ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท