คนดีวันละคน : (26) ศ. ปรีชา ช้างขวัญยืน


         ขณะนี้ ศ. ปรีชา  ช้างขวัญยืน  อายุ 58 ปี   ตำแหน่ง ศ.11  ภาควิชาปรัชญา  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   และเป็นประธานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  สาขาปรัชญา

         ผมได้สัมผัสคุ้นเคยกับท่านใน 2 โอกาส   โอกาสแรกจากการที่คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  สาขาปรัชญา  เชิญผมไปร่วมประชุมเรื่องการวิจัยในสาขาปรัชญาเป็นครั้งคราว   ทำให้ผมได้มีโอกาสได้รับฟังความ "ปรีชา" ในการอธิบายและตีความเรื่องต่าง ๆ สมชื่อของท่าน

         อีกโอกาสหนึ่งคือเมื่อ 5 ปีที่แล้ว   เราร่วมทีมกันไปทำงานให้ สมศ. ประเมินมหาวิทยาลัยบูรพา   ศ. ดร. ปรีชา ได้ช่วยเรียบเรียงข้อสรุปผลการประเมินได้อย่างสละสลวย   จน สมศ. เอามาเป็นตัวอย่างรายงานผลการประเมิน

ศาสตราจารย์ปรีชา ช้างขวัญยืน

การศึกษา
อักษรศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (ปรัชญา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานที่ทำงาน / สถานที่ติดต่อ
- ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.พญาไท กรุงเทพฯ 10330  โทรศัพท์ 0-2218-4656  โทรสาร 0-2218-4652

ตำแหน่งปัจจุบัน
ศาสตราจารย์ ระดับ 11

ตำแหน่งหน้าที่อื่น ๆ
- ราชบัณฑิต สาขาวิชาจริยศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน
- ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา
- รองผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธศาสน์ศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย   สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- อนุกรรมการจัดทำพจนานุกรมปรัชญา ราชบัณฑิตยสถาน
- กรรมการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของสำนักงานมาตรฐานการศึกษา
- กรรมการพิจารณาการขอเปิดดำเนินการและหลักสูตรและการรับรองมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและประวัติศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย
- ฯลฯ

ประวัติการทำงาน
- รองคณบดีฝ่ายวางแผน คณะอักษรศาสตร์
- รองคณบดีฝ่ายบริหาร  คณะอักษรศาสตร์
- หัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์
- รองคณบดีฝ่ายวิจัย  คณะอักษรศาสตร์
- รองประธานศูนย์การแปล คณะอักษรศาสตร์
- บรรณาธิการสำนักพิมพ์จุฬา
- เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน
- อุปนายกราชบัณฑิตยสถาน

ความเชี่ยวชาญ
- ปรัชญา พุทธศาสนา ภาษาไทย ปรัชญาการเมือง
- การวิจัยด้านภาษาไทย ปรัชญาและพุทธศาสนา

 

วิจารณ์  พานิช
 15 ม.ค.50

หมายเลขบันทึก: 77069เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

นอกจากความรู้ด้านการเขียน งานวิชาการและ การสอน ในสาขาที่ท่านเชี่ยวชาญ กล่าวได้ว่าอาจารย์ปรีชาฯ ท่านมีความปรีชาสมชื่อจริงๆครับ  นอกจากนั้นท่านยังมีความเป็นครูสูงมาก มีความอบอุ่น ไม่ถือตัว และ มีอารมณ์ขัน เป็นกันเองกับลูกศิษย์ .... สมแล้วที่ได้รับยกย่อง เป็นคนดี ในคอลัมส์นี้อีกแห่งหนึ่ง

วีราศินี โภคสุวรรณ

เคยร่ำเรียนกับอาจารย์ช้างในวิชาปรัชญาตะวันตก ขอยืนยันเลยว่าอาจารย์เก่งมากสอนได้เข้าใจทะลุปรุโปร่ง เมตตาลูกศิษย์ ไม่ถือตัว มีติตวิญยาณของครูอย่างแท้จริงค่ะ

ขอโทษนะคะไอแผดสะกดผิดค่ะ...จิตวิญญาณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท