การศึกษาชุมชน


เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2549 ผมได้ไปศึกษาชุมชนในฐานะของนักศึกษา สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน ของม.ราชภัฏนครราชสีมา โดยการไปศึกษาครั้งนี้กลุ่มผมไปด้วยกัน  6  คน จากประสบการณ์การทำงานของทีมงานได้แก่   นักวิชาการสาธารณสุข  พยาบาลวิชาชีพ  และพนักงานเภสัช  หมู่บ้านที่ศึกษาคือบ้านตะคลองแล้ง ตำบลโค้งยาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของชุมชน พบว่าหมู่บ้านนี้ก่อตั้งมาประมาณ 80 ปี โดยอพยพข้ามลำตะคลองจากฝั่งบ้านโค้งยางที่เป็นหมู่บ้านเก่าแก่เดิม ลักษณะภูมิประเทศด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มติดลำตะคลองที่ไหลมาจากเขื่อนลำตะคลอง และที่ดอนด้านทิศตะวันตก มีจำนวนหลังคาเรือน ประมาณ 140 หลังคาเรือน มีโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 1 โรง มีสถานีอนามัย 1 แห่ง มีวัด 1 แห่ง ลักษณะถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต สลับกับลูกรัง อาชีพส่วนใหญ่ทำนา และรองลงมาคือรับจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรม  การศึกษาชุมชนครั้งนี้ใช้เวลา  2  วัน  และใช้ เครื่องมือ  7  ชิ้นในการศึกษาได้แก่    แผนที่เดินดิน  ผังเครือญาติ   โครงสร้างองค์การชุมชน   ระบบสุขภาพชุมชน ปฏิทินชุมชน  ประวัติศาสตร์ชุมชน  และประวัติชีวิตบุคคลที่น่าสนใจ   การศึกษาใช้วิธีการสำรวจ   สัมภาษณ์   จากชาวบ้านและกลุ่มองค์กรต่าง   พร้อมทั้งรวบรวมจากข้อมูลด้านสุขภาพที่มีการบันทึกไว้ที่สถานีอนามัยโค้งยาง   หลังจากนั้นทีมงานกลุ่มก็ได้นำเสนอผลการศึกษาชุมชนในห้องเรียนโดยมีคณะอาจารย์ประจำวิชาและผู้ช่วยอาจารย์(Facilitator)  เป็นผู้วิพากย์การทำงานของกลุ่มต่างๆและเติมประเด็นที่ขาดไป  ทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์และสามารถประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงได้  ตามหลักการของการศึกษาสาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชนที่ว่า  Learning   by   doing   and   Doing   from   learning

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77013เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 07:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท