เตรียมการ ใหญ่๒


บัดนี้อิ้วนั้นวางตั้งอย่างสง่างาม อยู่ท่ามกลางแมกไม้ ใกล้กับบริเวณแปลงอ้อยรวมของเรา พร้อมที่จะกัดกินอ้อยแล้วคายน้ำให้พวกเราได้เคี่ยวเป็นน้ำตาล โดยฝีมือการประกอบของพี่น้องยางคำ

ประชุม๔กพ๕๐

ผ่านไปแล้ว การประชุมเตรียมงาน
วันที่ ๔  กพ. ที่นาพ่อบน ดงหลวง
หลังจากพวกเราทั้งกลุ่มใหญ่เจอกันครั้งสุดท้ายคือการไปดูงานที่ขอนแก่นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จากนั้นมาก็ได้แต่ฟังข่าวกันและกันเป็นระยะ

อ.แสวง ประชุม๔กพ๕๐


  <p>คณะฝ่ายหญิงของเรา</p><div style="text-align: center">ฝ่ายหญิง</div><p>คณะฝ่ายชายของเรา</p><p> </p><div style="text-align: center">ฝ่ายชาย</div><p>ฝ่ายเสบียง</p><div style="text-align: center">เสบียง</div><p>วันนี้เราไปเยี่ยมไร่นาของเพื่อน ๆ ที่ดงหลวง และจะคุยกันเรื่องสำคัญคือการเตรียมการทำน้ำอ้อย บ้านที่เคยมีประสบการณ์ในการทำน้ำตาลจากอ้อยแบบชาวบ้านที่ถูกเรียกว่า น้ำอ้อย มี ๒  บ้านคือ บ้านเหล่า กับ บ้านยางคำ กระนั้นก็ไม่ใช่จะทุกคนที่เคยทำน้ำอ้อย ยิ่งคนรุ่นใหม่ แม้แต่เห็นก็ไม่เคยเห็นด้วยซ้ำ</p><p>พอบ้านยางคำเลิกการทำน้ำอ้อยเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว ซึ่งมีเหตุผลเพียงเพราะว่า ได้รับคำติติงจากลูกค้าว่า น้ำอ้อยมันดำ สีไม่สวย ไม่เหมือนของเจ้าอื่น แล้วเขาก็เลือกไม่ซื้อ เลยต้องหยุดทำ หันเหไปทำอย่างอื่น ทันทีที่หยุดผลิตเครื่องไม้เครื่องมือซึ่งเคยมีครบก็เลยต้องเก็บเข้าพิงด้านในสุด ฝุ่นเขรอะ อยู่ใต้ถุนบ้าน </p><p>เมื่อไม่เกินหนึ่งปีก่อนที่พวกเราจะเริ่มปรารภว่า เราจำเป็นต้องทำน้ำอ้อยของเราซะแล้ว  พ่อบุญยกก็เอ่ยเบา ๆ  ว่า ผมก็เคยทำน้ำอ้อย อิ้วอ้อยก็มี ผมจะไปถามป้าดูก่อน ยืมของแกมาใช้ได้ </p><p>ประชุมครั้งถัดมาพ่อบุญยกมารายงาน โอย  มีคนมาเพิ่งมาซื้อไปไม่นานนี้เอง
แกขายเท่าไร   พวกเราถามพร้อมกันหลายคน
หกร้อยบาท
โอ๊ย….ร้องพร้อมกัน  ….เสียดาย…
มันไม่ใช่ไม้สามชิ้นธรรมดา แต่มันเป็นเครื่องมือการผลิตที่ถูกสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญาระดับสูง ระดับใหญ่ ของตระกูลพ่อบุญยก ซึ่งเป็นตระกูลที่ทำน้ำอ้อยในหมู่บ้าน
เงินไม่เมตตาใคร กัดกินหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
อยากเสพอารยธรรม อยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน ก็เอาเงินไปล่อให้เขาต้องขาย ฝ่ายผู้ขายซึ่งแก่แล้ว เห็นว่าไม่ได้ทำอีกแล้ว ไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม คิดว่าขายได้ราคาสูงแล้วล่ะ  …อยากได้ทำไมไม่ทำเองล่ะเฟ้ย… ดิฉัน โกรธเพราะดิฉันเสียดายอิ้วชิ้นนั้น </p><p>บังเอิญว่า มีสมาชิกทางฝ่ายเหนือ พ่อวิเชียร มีอิ้วของตนเอง ดิฉันกับอาจารย์ทนายก็พากันไปขนมา น้ำหนักเกือบสามร้อยกิโลกรัม</p><div style="text-align: center">อิ้ว</div><p>บัดนี้อิ้วนั้นวางตั้งอย่างสง่างาม อยู่ท่ามกลางแมกไม้ ใกล้กับบริเวณแปลงอ้อยรวมของเรา พร้อมที่จะกัดกินอ้อยแล้วคายน้ำให้พวกเราได้เคี่ยวเป็นน้ำตาล โดยฝีมือการประกอบของพี่น้องยางคำ </p><div style="text-align: center">อิ้ว</div><p>พวกเราได้ร่วมกันกำหนดวันที่ทำงานต่อเนื่องไปคือ
วันที่ ๒๒  กพ. คณะจากนาคำกลาง ดอนม่วง ชะโนดโนนทัน และยางคำ จะร่วมกันขุดเตาฮาง  ( เตาดิน )
วันที่ ๒๔-๒๕-๒๖ กพ. จะเป็นวันอิ้วอ้อย ทั้งวันทั้งคืน ลงแขกกันทั้งกลุ่มใหญ่!!!!
</p><p> </p><p> </p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 76993เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
หมู่บ้านที่กล่าวถึงอยู่ตำบลอะไรครับ หากมีเวลาจะแอบไปศึกษาบ้าง ผมก็ทำงานที่ดงหลวงครับ อยากไปสังเกตการณ์ด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท