โรคอ้วนในเด็ก


โรคอ้วนในเด็ก ข้อควรระวัง
โรคอ้วนในเด็ก
     เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการได้รับอาหารมากเกินไป ทำให้มีน้ำหนักมากไม่เหมาะสมกับส่วนสูง ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและสุขภาพ เป็นโรคเรื้อรังต่างๆในเด็ก ได้แก่ มีขาโก่ง ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง และลดน้ำหนักได้ยากมากยิ่งขึ้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน โรคเรื้อรังดังกล่าวจะมีความรุนแรงมากขึ้นและเสียชีวิตได้ง่าย ข้อควรระวัง
  • ถ้าลูกมีส่วนสูงค่อนข้างสูง หรือส่วนสูงตามเกณฑ์อายุแต่อยู่เหนือเส้นประ แม่ควรดูแลส่วนสูงของลูก อย่าเบี่ยงเบนเข้าหาเส้นประ มิฉะนั้น ลูกมีโอกาสเตี้ยได้
  • ถ้าลุกมีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุแต่อยู่ต่ำกว่าเส้นประ แม่ควรดูแลส่วนสูงของลูก อย่าเบี่ยงเบน ออกจากเส้นประมิฉะนั้น ลูกมีโอกาสเตี้ยได้
การประเมินการเจริญเติบโตของเด็กโดยใช้กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
     เป็นการดูลักษณะของการเจริญเติบโตได้ว่าเด็กมีน้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงหรือไม่ เพื่อบอกว่าเด็กมีรูปร่างสมส่วน อ้วนหรือผอม ตามเกณฑ์อ้างอิง น้ำหนักส่วนสูง และเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาของประชาชนไทย อายุ2 วัน - 19 ปี กรมอนามัย พ.ศ. 2542
เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน แบ่งเป็น 2 ระดับย่อย คือ
      อยู่เหนือเส้น +2 S.D หรือ +3 S.D แสดงว่ามีน้ำหนักมากกว่าเด็กที่มีส่วนสูงเท่ากัน เป็นเด็กอ้วนระดับ 1 เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นผู้ใหญ่อ้วนในอนาคต
     อยู่เหนือเส้น +3 S.D มีภาวะโภชนาการเกินมากเป็นโรคอ้วนระดับ 2 เด็กมีโอกาสเสียงต่อการเป็นผู้ใหญ่อ้วนมากยิ่งขึ้นในอนาคต
แนวทางแก้ไขเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน (เริ่มอ้วน/อ้วน)
  1. ติดตามการชั่งน้ำหนักทุกเดือนและวัดส่วนสูงทุก  6 เดือน
  2. แนะนำการให้อาหารครบทุกกลุ่มได้แก่ เนื้อสัตว์/ไข่/นม ข้าว-แป้ง ผัก ผลไม้ และน้ำมัน ในปริมาณที่เหมาะสมและควรกินให้หลากหลาย
  3. ลดอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ อาหารประเภทข้าว-แป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน เป็นต้น และอาหารไขมัน เช่น น้ำมัน กะทิ ควรหลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด ผัด แกงกะทิหรือขนมใส่กะทิ
  4. งดกินจุกจิก เช่น ขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม
  5. ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20 นาที และเครื่องไหวร่างกายเป็นประจำ เช่น เล่นกีฬา วิ่งเล่น เดินขึ้น-ลงบันได
ตาราง แสดงร้อยละของภาวะโภชการเกินในเด็กนักเรียน  ระดับอนุบาลและประถมศึกษาแยกตามภาค
ปี พ.ศ. ร้อยละของภาวะโภชนาการเกิน
จำนวนจังหวัด ประเทศ กทม. ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้
2543 12 13.6 - 16.9 11.5 14.0 14.6
2544 65 12.3 - 13.3 11.7 13.4 10.4
2545 37 12.88 - 13.71 10.72 13.17 12.10
2546 47 13.42 - 14.64 12.97 13.16 11.85
2547 15 12.8 -        
2548 57 9.7   13.3 7.7 10.4 7.5
 
หมายเลขบันทึก: 76897เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท