เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอาการสมาธิสั้น


เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอาการสมาธิสั้น
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอาการสมาธิสั้น             อาการสมาธิสั้นเป็นปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่เกิดขึ้น ในเด็กที่มีสมาธิสั้นร่วมกับอาการซุกซนอยู่ไม่นิ่ง หุนหัน พลันแล่น พบร้อยละ 2 - 7 พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4 - 6 เท่า ลักษณะอาการที่พบ1.  สมาธิสั้น เด็กไม่สามารถสนใจเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้นาน เพราะจิตใจวอกแวกถูกรบกวนจากสิ่งกระตุ้น ภายนอกได้ง่าย2.  อยู่ไม่นิ่งหรือ ซุกซนมากกว่าปกติ3.  หุนหันพลันแล่น มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด ไม่อดทน ไม่คิดก่อนทำหรือพูดอาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก สาเหตุ1.  พันธุกรรม พบว่าพ่อแม่ พี่น้อง ของเด็กเหล่านี้มีโรคสมาธิสั้นและโรคทางทางจิตเวชอื่นสูงกว่าประชากรทั่วไป นอกจากนี้ยังพบว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางอย่างร่วมกับโรคอื่นด้วย2.  ความผิดปกติของสมอง เช่น สมองส่วนที่ควบคุมสมาธิทำงานผิดปกติ สมองได้รับอันตรายถูกกระทบกระเทือนหรือตรวจพบว่าคลื่นสมองผิดปกติ การช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นเด็กเหล่านี้ส่วนมากจะมีเชาว์ปัญญาปกติหรือค่อนข้างฉลาด แต่ผลการเรียนไม่ดีและไม่ประสบความสำเร็จด้านการเรียนเท่าที่ควรอาจเกิดจากปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่นจึงต้องการความช่วยเหลือจากหลายๆ ฝ่าย ได้แก่ พ่อ แม่ ครู แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา โดยมีแนวทางดังนี้1.  การปรับพฤติกรรม ฝึกให้ควบคุมตัวเองไม่ให้แสดงความก้าวร้าว ฝึกความอดทนฝึกเด็กรู้จักรอคอยโดยการให้รางวัล คำชมเชย เมื่อเด็กทำได้หรือการทำโทษเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมด้วยวิธีต่างๆ เช่น ตัดสิทธิ์ไม่อนุญาตให้ทำในสิ่งที่เด็กชอบ2.  การปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม v  จัดลำดับขั้นตอนในการทำงาน การแก้ไขปัญหา v  ประเมินตัวเองว่า ทำไมไม่มีเพื่อน ทำไมเพื่อนไม่อยากเล่นด้วย เมื่อเด็กเข้าใจถูกต้องแล้ว อาจให้รางวัลหรือแรงเสริมทางบวก  3.  การฝึกฝนทักษะทางสังคมv  จัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้เด็กฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคม v  พ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดูเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อให้เด็กฝึกฝนโดยการเตือนและให้กำลังใจ v  กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียนหรือกิจกรรมย่อย จะช่วยเด็กได้มากกว่าการทำกลุ่มในคลินิก v  การช่วยเหลือเด็กในการควบคุมความก้าวร้าว ความวู่วามและช่วยแนะแนวทางแก้ไขปัญหา  4.  การทำจิตบำบัดการทำจิตบำบัดในเด็ก โดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะช่วยให้เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รักษาช่วยเหลือเรื่องความภาคภูมิใจในตัวเองให้แก่เด็กและทำให้เด็กร่วมมือในการรักษามากขึ้น5.  การช่วยเหลือครอบครัวพ่อแม่หลายท่านที่มีลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น มักประสบความยุ่งยากในชีวิต อย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอบรมสั่งสอน การเข้าสังคม ปัญหาการเรียนหรือปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนและญาติพี่น้อง พ่อ แม่ อาจขัดแย้งกันเองในการอบรมเลี้ยงดูลูก บางครั้งอาจรู้สึกท้อแท้กับปัญหาที่ลูกก่อขึ้นทุกวันและไม่รู้จะจัดการกับลูกได้อย่างไร ดังนั้นพ่อแม่ควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ควรได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากญาติ เพื่อนฝูงและแพทย์ในรูปแบบต่างๆ กัน
หมายเลขบันทึก: 76895เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท