กิจกรรมในคุณแม่ตั้งครรภ์...กับพัฒนาการของลูก ตอนที่ 3


คุณแม่คุณพ่อใกล้จะได้เห็นหน้าลูกน้อย สมาชิกใหม่ของครอบครัวให้ชื่นใจกันแล้ว  พัฒนาการลูกเราเป็นอย่างไรบ้างแล้ว ตามดูกันนะคะ

สัปดาห์ที่ 30 ลูกจะดูสมบูรณ์ มีเนื้อหนังมากขึ้น ไขมันใต้ผิวหนังทำให้เปล่งปลั่ง รอยเหี่ยวย่นตามใบหน้า ลำตัวเลือนหายไป ผมงอกยาว ขนคิ้ว ขนตาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และเริ่มฝึกการมองเห็นได้ในครรภ์ ยังสื่อความต้องการและความรู้สึกตอบโต้คุณแม่ได้ด้วยการดิ้น และเตะ คุณแม่สังเกตพบว่าถ้าทานอาหารช้าไป หรือมีเสียงดังมากๆลูกจะเตะและดิ้นแรง สมองของลูกจะโตเต็มคับกระโหลกศีรษะ และมีร่องหยักบนเนื้อสมองเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเก็บข้อมูล เซลล์ประสาทเชื่อมโยงเครือข่ายต่อกันอย่างสมบูรณ์ และตื่นตัวเต็มที่ ปอดยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ถ้าทารกคลอดก่อน 32 สัปดาห์อาจมีปัญหาในเรื่องการหายใจบ้าง เนื่องจากปอดจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่อครบกำหนดคลอด ตาของลูกเริ่มกระพริบ เพ่งมองในจุดที่สนใจได้                 ในระยะนี้คุณแม่จะปวดหลังมากขึ้น หายใจยากขึ้น บางครั้งรู้สึกชาที่มือและเท้า    บางครั้งเป็นตะคริวที่ขาและน่อง นอนไม่ค่อยหลับไม่รู้จะนอนท่าไหนให้สบายตัว คุณแม่ควรนอนตะแคงท่ากอดหมอนข้างจะช่วยให้สบายขึ้น หนุนเท้าให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย หลีกเลี่ยงการนอนหงายนานๆ เพราะมดลูกที่โตขึ้นจะไปกดทับเส้นเลือด ทำให้คุณแม่อาจหน้ามืด เวียนศีรษะได้ง่าย ควรงีบหลับเท่าที่จะทำได้ จะช่วยให้สดชื่นขึ้น เมื่อใกล้คลอดท้องจะเริ่มลด เนื่องจากลูกเริ่มกลับหัวเพื่อเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน ลูกจะดิ้นน้อยลง เพราะตัวโตเต็มที่คับมดลูกแล้ว แต่ยังคงเตะถีบในบางครั้ง ตัวจะยาวประมาณ 50 ซม.หนักประมาณ 3000 กรัม

" จากนั้นก็จะเข้าสู่ขบวนการคลอด...ที่เราอยากให้คุณแม่คลอดตามธรรมชาติได้ทุกคน  ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ เราจึงมีโครงการลามาซ สนับสนุนให้คุณพ่อเข้าห้องคลอดเพื่อไปดูแลคุณแม่ในห้องคลอด ในรายที่คลอดตามธรรมชาติ ไม่ผ่าตัดคลอด ให้ฟรีคะ"

หมายเลขบันทึก: 76865เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท