การเล่นแชร์ และการเป็นหัวหน้าวงแชร์


เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงรวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย

เราคงจะได้ยินคำว่าแชร์ หรือเคยเล่นแชร์มาแล้ว และบางคนอาจเป็นหัวหน้าวงแชร์หรือถูกโกงแชร์มาบ้างแล้วก็ได้ ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2534 เรายังไม่มีกฏหมายเกี่ยวกับการเล่นแชร์ ดังนั้นการให้ความหมายการตีความ หรือความเข้าใจ จึงไม่ชัดเจน คลุมเครือ ไม่แน่นอนตลอดมา อาทิเช่น แชร์น้ำมัน แชร์หมู่บ้านจัดสรร แชร์ท่องเที่ยว หรือการกินโต๊ะแชร์เป็นการเล่นแชร์หรือไม่ ซึ่งหลังจากมีการล้มสลายของวงแชร์ต่าง ๆ เป็นผลให้เศรษฐของประเทศทรุดโทรม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจึงได้มีการพยายามให้ความหมายของคำว่า "แชร์" โดยดูเจตนาที่แท้จริงในการเล่นในประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2534 จึงได้มีการประกาศกฎหมายเกี่ยวกับการเล่นแชร์คือพระราชบัญญัติแชร์ พ.ศ.2534 ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 129 โดยมีผลบังคับใช้เป็นกฏหมาย ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2534 เป็นต้นมา ซึ่งมาตรา 4 ของพระราชบัญญัตินี้ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "การเล่นแชร์" หมายความว่า การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใด รวมเข้าเป็นทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไป โดยการประชุมหรือโดยวิธีอื่นใดและให้หมายความรวมถึง การรวมทุนในลักษณะอื่นตามที่ กำหนดในกฎกระทรวงด้วย อันที่จริงแล้ว เจตนาของการตั้งวงแชร์และการเล่นแชร์นั้นดี เป็นการช่วยเหลือผู้ที่จำเป็นต้องใช้เงินด้วยการจัดตั้งกองทุน แต่มีความรู้สึกอยู่อย่างหนึ่งที่แก้ไขได้ยากตอนเล่นแชร์ก็คือ เมื่อประมูล (เปียแชร์)ได้แล้ว ไม่ค่อยมีอารมณ์อยากจะส่งแชร์ต่อไป ...การเป็นหัวหน้าวงแชร์... ผู้ที่ตั้งวงแชร์ขึ้นมาย่อมมีความรับผิดชอบสูงและหวังที่จะได้ผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งกฎหมายคือพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 (4) ได้กำหนดให้นายวงแชร์มีสิทธิที่จะได้รับเฉพาะทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ในงวดใดงวดหนึ่งโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเท่านั้น ส่วนผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นกฎหมายเขาห้ามไม่ให้ได้รับ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องมีระวางโทษจำคุกตามกฎหมายการเล่นแชร์ คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับนอกจากนี้การเป็นนายวงแชร์ เขายังห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแช่ร์ รวมทั้งเข้ามายุ่งเกี่ยวในลักษณะอื่น ๆ เช่น สัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้ที่จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์เพราะกฎหมายเขากลัวว่าจะมีการแอบแฝงเข้ามาใช้ชื่อว่าเล่นแชร์ นิติบุคคลใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนายวงแชร์ได้ก็มีเฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น และต้องเข้าเงื่อนไขของกฎหมาย ดังต่อไปนี้ 1.เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ มีจำนวนวงแชร์รวมกันไม่เกิน 3 วง 2.มีจำนวนสมาชิกวงแชร์ (ลูกแชร์)รวมกันทุกวงไม่เกิน 30 ซึ่งนิติบุคคลถึงแม้เป็นนายวงแชร์ไม่ได้..แต่เป็นลูกแชร์ได้ 3.มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวด รวมกันทุกวงเป็นมูลค่าไม่เกิน 300,000 บาท

วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ออกมาควบคุมการเล่นแชร์นั้น ก็เพื่อป้องไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในรูปของการจัดธุรกิจเงินทุน โดยแฝงใช้ชื่อคำว่า "แชร์" ส่วนการเล่นแชร์ของประชาชนโดยทั่วไปที่มิได้ดำเนิการเป็นธุรกิจ ก็ยังให้กระทำได้ต่อไป

..แต่ถึงอย่างไรบรรดาลูกแชร์ก็ยังกลัวนายวงแชร์หนีหรือล่องหนหายไป..นะครับ!

ขอมูลจาก รองศาสตราจารย์เพิ่มบุญ แก้วเขียว

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 76861เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เล่นแชร์ค่ะได้มือสุดท้าย แต่เค้าคงเห็นเราใจดี ไม่ทวงก็เลยได้รับเงินช้าไป 1 เดือน พอเราทวงถามเรากลับอายแทนทั้งๆที่เป็นเงินของเราแท้ๆๆ  แย่จัง

 

เล่นแชร์..ต้นเท่าไรครับ(แฮ่ ๆ ขอผมยืมมั่ง!)..ดีใจด้วยที่ได้เก็บเงิน (แม้จะได้ช้าไปหนึ่งเดือนก็เถอะ) แสดงว่าเราไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน..ถ้าเป็นผมละก็แทบจะเปียร์มือที่หนึ่งด้วยซ้ำไป!ฮ่า..ฮ่า..

เล่นแชร์ค่ะ แต่ถูกเถ้าแชร์โกง พอจะมีกฏหมายอะไรที่สามารถดำเนินคดีได้มั้ยค่ะ เถ้าเค้าตั้งแชร์ประมาณ2วง วงหนึ่งเกิน30คน พอจะมีกฎหมายอะไรเอาผิดคนเหล่านี้ได้มั้ยค่ะ ใจนึกก็อยากทำบุญให้กับคนเหล่านี้ แต่อีกใจนึงก็ทนไม่ได้กับความหน้าด้านหน้าทนของพวกนี้ค่ะ อยากเอาผิดเท้าแชร์มาก...ก...ค่ะ

สวัสดีคะ ดิฉันมีเรื่องหนักใจมากๆเกี่ยวกับการเล่นแชร์ เนื่องจากแม่ของข้าพเจ้าเป็นเจ้ามือในการเล่นแชร์แต่เล่นมาแล้วหลายปีลูกโซ่กลับเกิดความระแวงพากันเบี่ยวไม่ยอมจ่ายค่าแชร์(กลุ่มที่เอาเงินออกไปแล้ว)แล้วลูกโซ่คนอื่นที่ยังไม่ได้ออกก็ไมพอจัยจะให้แม่ของดิฉันใช้หนี้แทนพวกนั้น โดยพวกนั้นได้ร่างรายชื่อผู้ที่เล่นแชร์จำนวน20คนจะเอาไปฟ้องศาลหากแม่ของข้าพเจ้าไม่ยอมชดใช่ แล้วบอกว่าจะแจ้งคดีฉ้อโกง แต่แม่ของข้าพเจ้าก็ยอมจ่ายในส่วนที่แม่ดิฉันนำออกไปแต่คนกลุ่มนั้นไม่ยอมจะให้แม่ของข้าพเจ้าชดใช้ทุกบาททุกสตางและเนื่องด้วยแมของข้าพเจ้าไม่มีความรู้และเป็นคนจน จากการที่ตั้งวงเล่นแชร์ก็ด้วยความไม่รู้ และไม่เคยได้รับค่าตอบแทนใดๆจากการเล่นครั้งนี้ ดิฉันอยากรู้ว่า กฎหมายมีข้อบังคับอย่างไรในการตัดสินคดีในเรื่องนี้ และมีการละวางโทษอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ

แม่ของดิฉันเครียดมากจนจนต้องเข้าโรงพยาบาลประสาทเพราะกลุ่มคนหัวหมอเหล่านั้น

วอนขอความเห็นใจให้แก่ชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ด้วยนะคะ

ช่วยตอบกลับมาด้วยนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

เป็นท้าวแชร์ค่ะ  ลูกแชร์หนี  แต่รับผิดชอบส่งต่อ เล่นเป็นอาทิตย์ วันอังคารส่ง 10,000 บาท ส่ง 20 อาทิตย์ วันศุกร์ส่ง 17,600 บาท ส่ง 10 อาทิตย์ ตอนนี้แย่มากๆๆๆๆ....

ชลดา ชื่นแพ พงษ์พิทักษ์ชัย

ดิฉันได้เล่นแชร์กับที่บริษัท โดยวงนี้มีผู้เล่นทั้งหมด 70 มือ เริ่มตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน 2549 จนถึง 20 กันยายน 2552 ส่งเดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 5 และ 20 ซึ่งเป็นวันเงินเดือนออกของบริษัท ส่งครั้งละ 1,000 บาท ดอกเบี้ยตายตัวที่ 300 บาท โดยเถ้าแชร์ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ถ้าต้องการได้แชร์ก็ให้แจ้งล่วงหน้า ดิฉันได้เล่นทั้งหมด 4 มือ (ส่งครั้งละ 4,000 บาท เดือนละ 2 ครั้ง = 8,000 บาททุกเดือน) ส่งตรงเวลาทุกครั้ง โดยฝากพี่ในฝ่ายไปให้ เนื่องจากไม่รู้จักกับเถ้าแชร์ แต่พอมาถึงมือที่ 40 (20 มิถุนายน 2551) พี่ที่ฝ่ายบอกว่าให้ไปจับฉลากว่าจะได้แชร์มือที่เท่าไร เพราะมีบางคนไม่พอใจกับระบบเดิม ดิฉันจับได้วันที่ 20 สิงหาคม 2551, 5 มิถุนายน 2552, 5 สิงหาคม 2552 และ 20 สิงหาคม 2552 พอหลังจากนั้นไม่ถึงสัปดาห์ เถ้าแชร์ก็โทรมาบอกว่าไม่ต้องส่งต่อแล้วเพราะมีบางคนไม่พอใจกับผลของการจับฉลาก และขอเลิกเล่น เถ้าแชร์บอกว่าไม่ต้องส่งต่อแล้ว ให้รอคิวที่จะได้เงินของตัวเองที่จับฉลากเอาไว้ก่อนหน้านี้ โดยเถ้าแชร์จะไปเก็บจากคนที่ได้เงินไปแล้ว 40 มือแรก รวมกับดอกอีก 39 มือ แต่พอถึงวันที่ต้องได้แชร์งวดแรก 20 สิงหาคม 2551 ดิฉันก็ยังไม่ได้โทรไปทวง เนื่องเข้าใจว่าเถ้าแชร์ต้องใช้เวลาในการรวบรวมเงิน รอจนวันที่ 2 (21 สิงหาคม 2551) ก็ยังไม่ได้รับการติดต่อจากเถ้าแชร์อีก พอวันที่ 3 (22 สิงหาคม 2551) ดิฉันจึงตัดสินใจขอเบอร์พี่ที่ฝ่ายเพื่อโทรไปทวง เถ้าแชร์บอกว่ายังเก็บไม่ครบ ดิฉันจึงบอกว่าเอามาให้เท่าที่เก็บได้ก่อนในตอนเย็น เพราะดิฉันต้องรีบใช้เงิน แต่แล้วก็ไม่มา พอวันที่ 4 (23 สิงหาคม) ดิฉันโทรไปทวงอีก เถ้าแชร์บอกว่าจะโอนให้ตอนเย็น ๆ แล้ววันนั้น เถ้าแชร์ก็โอนให้แค่ 15,000 บาท ดิฉันจึงบอกไปว่า เงินทั้งหมดต้องได้ 51,700 บาทไม่ใช่หรอ เถ้าแชร์ก็บอกกว่าจะโอนให้อีก 5,000 บาท ในวันที่ 26 สิงหาคม 2551 แต่ก็ไม่ได้โอน ดิฉันจึงโทรไปตามในวันรุ่งขึ้น (27 สิงหาคม 2551) เถ้าแชร์ก็โอนเงินมาให้ หลังจากนั้นดิฉันก็โทรตามทุกวัน แต่เถ้าแชร์ปิดมือถือบ้าง ไม่รับสายบ้าง ดิฉันฝากข้อความเสียง ไว้ก็ไม่เคยติดต่อกลับ ผ่านไปเป็นสัปดาห์ กว่าจะโทรติดก็ปาไปวันที่ 5 กันยายน 2551 ซึ่งเป็นวันเงินเดือนออกอีกรอบ และเป็นรอบถัดไปที่อีกคนจะต้องได้เงิน เถ้าแชร์ก็บอกว่าจะโอนมาให้อีก 30,000 บาท แต่จนถึงวันนี้ (18 กันยายน 2551) ก็ยังไม่โอน และไม่เคยรับโทรศัพท์อีกเลย ดิฉันทั้งฝากข้อความเสียง และส่งข้องความ ก็ไม่เคยติดต่อกลับ พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันเงินเดือนออกอีกรอบ (19 กันยายน 2551 เนื่องจากวันที่ 20 เป็นวันเสาร์ เงินเดือนก็เลยออกเร็วกว่าปกติ 1 วัน) ซึ่งก็หมายความว่าครบ 1 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ได้เงินที่เหลือของงวดแรกเลย และก็คงไม่ได้อีก 3 งวดที่เหลือแน่ ดิฉันจะแจ้งความขอให้ชดใช้เงินที่เหลือได้หรือไม่ และต้องทำยังไงบ้าง

ตอนนี้โดนโกงค่ะคนโกงทำราชการ อ้างว่ามีเงินสำรอง3แสนจริงๆแล้วไม่มี เอาเงินลูกแชร์ไปลงบ้านอื่น ท้าวแชร์ทำงานอะไรขออุ้ปไว้ก่อนค่ะ แต่ทำราชการ จำนวนเงินเกือบ200000 รวมทั้งหมดนะคะไม่ใช่ของเราคคนเดียวของเราแค่2500แต่เงินนะค่ะกว่าจะหามาได้ ถามญาติๆนางบอกนางมีแต่หนี้สิ้นแต่กลับมาหลอกคนอื่นว่าเอาเงินปล่อยตลาดมีเงินสำรองโกหกไปเลื่อยเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท