เปิดตำราพิชัยสงคราม “ซุนวู”: การวิเคราะห์ระบบ และการบูรณาการ


การพัฒนาบุคลากรในปัจจุบันมีแต่เรื่องที่ยืนอยู่บนฐานของ “ความคิดเชิงระบบ” โดยไม่ฝึกให้เขามีความคิดเชิงระบบกันก่อน จึงทำให้ฐานความคิดไม่แข็งพอที่จะมาพัฒนาต่อได้
 

ผมคิดว่าหลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ ตำราพิชัยสงครามของท่าน ซุนวูที่กล่าวว่า

  

 รู้เขารู้เรา สู้ร้อยครั้งชนะร้อยครา มาบ้างแล้ว

  

และผมก็คิดว่าหลายท่าน ก็คงอยากจะได้ตำราเล่มนี้มาไว้เป็นหนึ่งในใจ และในความสามารถของตนเอง

  

แต่ หลายท่านก็คงทำได้แบบ

 

·         จำคำได้ แต่ไม่เข้าใจ หรือ

 

·         เข้าใจในคำ แต่ไม่เข้าใจในความหมายของคำ หรือ

 

·         เข้าใจในความหมาย แต่ไม่เข้าใจในเนื้อหา และสาระ หรือ

 

·         เข้าใจในเนื้อหา แต่ไม่เข้าใจในวิธีปฏิบัติ หรือ

 

·         เข้าใจในวิธีปฏิบัติ แต่ขาดทักษะ จึงทำไม่เป็นหรือ

 

·         มีทักษะ ทำเป็น แต่ยังไม่ได้ทำ หรือ

 

·         ลองทำแล้ว แต่ไม่ลองใช้ในชีวิตจริงๆ หรือ

 

·         ลองใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่สรุปบทเรียน หรือ

 

·         สรุปบทเรียนแล้ว แต่ยังไม่พัฒนาสู่การพัฒนาทักษะ และกระบวนการเรียนรู้หรือ

 

·         อีกหลายอุปสรรค และขีดจำกัด ที่ทำให้เรายังไม่สามารถนำตำราเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตตนเองได้

  

ดังนั้นในการที่จะใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆมาใช้ประโยชน์นั้น ดังเช่นตำราพิชัยสงคราม ซุนวู นี้ ไม่ใช่แค่ท่องได้ก็พอแล้ว

  

แต่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในคำ ในความหมาย ในเนื้อหา ในวิธีปฏิบัติ พัฒนาทักษะที่จำเป็น ลงมือทำ ลองใช้จริง สรุปบทเรียน และนำบทเรียนที่ได้สู่การพัฒนาทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ ต่อไป

  

เมื่อย้อนมองในเชิงวิชาการสมัยใหม่นั้น ก็สามารถเทียบเคียงได้กับ เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ (System analysis) ที่ต้องเริ่มตั้งแต่ System thinking (คิดอย่างเป็นระบบ) ที่เราทำกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เมื่อ ๒๐ กว่าปีมาแล้ว

  

แต่ระยะหลังๆนี้ อาจถือว่าล้าสมัย และเริ่มจะลืมๆกันไป และดูเหมือนเราจะตั้งสมมติฐานว่า ทุกคนในปัจจุบันต้องรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว จึงไม่เห็นการฝึกอบรมที่เน้นหัวข้อเรื่อง ความคิดเชิงระบบ นี้กันอีกเลย

  

และผมยังไม่แน่ใจว่าพวกเราที่ทำงานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ทุกคนมีและใช้ความคิดเชิงระบบมากน้อยแค่ไหน

  

เพราะถ้ายังไม่มี หรือไม่ใช้ คำว่า บูรณาการ ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย นอกเหนือจากการเอาไว้คุยอวดกันเฉยๆ

  

ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรในปัจจุบันมีแต่เรื่องที่ยืนอยู่บนฐานของ ความคิดเชิงระบบ โดยไม่ฝึกให้เขามีความคิดเชิงระบบกันก่อน จึงทำให้ฐานความคิดไม่แข็งพอที่จะมาพัฒนาต่อได้

  

เมื่อผู้เรียนขาดความคิดเชิงระบบ การบูรณาการก็ทำได้ยาก การทำงานแบบองค์รวมก็ไม่เกิด

  

ฉะนั้น ผมจึงขอเสนอว่า เราลองมาทบทวนและแทรก หลักคิดเชิงระบบ ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ในสาขาต่างๆ กันดีไหมครับ ก่อนที่คนรุ่นใหม่จะหลงทางไปไกลเกินไป แล้วระบบการพัฒนาการเรียนรู้ที่ปราศจากฐานที่แข็งแรงนั้น ย่อมมีปัญหาได้ง่าย ในทุกเรื่อง อย่างอาจคาดไม่ถึง

  

ดังสุภาษิตจากหนังจีนกำลังภายในว่า

  

 พื้นฐานไม่ดี ฝึกร้อยปีไม่ก้าวหน้า

  นั้นแหละครับ
หมายเลขบันทึก: 76812เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

พื้นฐานไม่ดี ฝึกร้อยปีไม่ก้าวหน้า

เห็นด้วยทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากพื้นฐานก่อน

กราบสวัสดีท่านอาจารย์แสวงที่เคารพลูกศิษย์มาแสดงความเห็นด้วยคน ขอบอกว่าชอบท่อนนี้มากครับผมจำเป็นต้องมีความเข้าใจในคำ ในความหมาย ในเนื้อหา ในวิธีปฏิบัติ พัฒนาทักษะที่จำเป็น ลงมือทำ ลองใช้จริง สรุปบทเรียน และนำบทเรียนที่ได้สู่การพัฒนาทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ ต่อไป เพราะเมื่อลงมือทำปฏิบัติจริงแล้ว ปัญญาจะเริ่มเกิดจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติขณะเดียวกันก็เกิดความศรัทธาในงานที่่ตัวเองทำขึ้นด้วย เพราะได้ลองผิดลองถูกและใช้ปัญญาตรึงตรอง มันเกิดความเชื่อมั่นในใจว่าเดินถูกทาง คนที่ปฏิบัติจะรู้ได้เข้าใจและความสุขที่เกิดจาการทำงาน/การเกษตร อยู่กับธรรมชาติ ซึ่งทำให้จิตใจอ่อนโยนขึ้นละเอียดขึ้น กระผมได้ประสบการณ์ตรงนี้จากการทำสวนที่บ้าน ยอมรับว่าการได้พบท่านอาจารย์รวมทั้งได้ฟังได้เห็นภาพจริงการเกษตรจากปราชญ์ชาวบ้านนั้น นับเป็นโชคดีและวาสนาผมโดยแท้จริง สิ่งที่อาจารย์ได้แนะนำ กระผมจะนำไปพัฒนากระบวนการคิด เพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นครับผม ท่านอาจารย์ดูหนังจีนแล้วคิดได้ไกลจริงๆ คิดว่าเมื่อเมื่อพัฒนาความคิดอย่างเป็นเชิงระบบ การจินตนาการในการคิดเชื่อมต่อจะต้องอาศัยฐานที่ดีเสมอ         ลูกศิษย์

 

หนูมีตำราหนึ่งค่ะ เข้าทำนองเดียวกับที่ อาจารย์ว่า นั่นคือ ตำราคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" ของท่านเหล่าจือ ที่สอนวิถีแห่งเต๋า อ่านทุกคืนเลยค่ะ ได้วันละนิดละหน่อย นั่นคือทฤษฎี การนำไปปฏิบัติยังห่างไกลมากค่ะ
ขอบคุณครับที่ไม่มองว่าหนักไป ตอนนี้ผมเขียนอะไรต้องระวังให้คนทั่วไปรับได้ครับ

เห็นด้วยค่ะ  แต่ทำได้ไม่หมดในทุกเรื่อง  และยิ่งเห็นด้วยคือกระบวนการคิดเป็นระบบ  ซึ่งหายไปในปัจจุบัน

สิ่งที่อาจารย์พูด บางอย่างก็ดูจะขัดต่อความจริงที่จะสามารถเป็นไปได้และขัดต่อความรู้สึกของคนฟังนะคะ แต่ก็ช่วยให้ได้มองเห็นมุมมองความคิดของคนที่คิดแตกต่างจากคนอื่นได้ดีทีเดียว (พูดถึงโดยภาพรวมของอาจารย์นะคะ).
  • กระบวนการทำงานแบบบูรณาการเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ต่อตนเอง และองค์กรอย่างยิ่งครับ
  • แต่ในสภาพปัจจุบันการรับรู้ และการเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่เป็นแบบแยกส่วน อีกทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบได้ จริงเหมือนที่อาจารย์ว่าครับ ซึ่งรวมถึงตัวผมด้วย
  • แล้วไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดีครับ จึงจะทำให้คนทั่วไป รวมตัวผมด้วยนั้นสามารถคิดวิเคราะห์ และทำงานเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบได้ดี

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

   พื้นฐานไม่ดี ฝึกร้อยปีไม่ก้าวหน้า เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะเปรียบเทียบกับตนเองแล้วยิ่งเห็นด้วยมาก ๆ ค่ะ แต่ก็กำลังปรับฐานอยู่นะคะ

                      ขอบคุณค่ะ

เราคงต้องกลับไปพัฒนาความคิดเชิงระบบกันอีกรอบแล้วกระมังครับ

เห็นไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้กัน ผมก็คิดว่าทุดคนรู้กันหมดแล้ว

ผมเคยจัดฝึกอบรมเรื่องนี้ ทั้งระดับนานาชาติ และระดับประเทศอยู่กว่า ๑๐ ปี ตั้งแต่ ๒๕๓๐-๒๕๔๔เอกสารเก่าๆยังเต็มห้องเก็บของที่คณะฯ ไฟล์ในคอมฯก็ยังมีครับ

แล้วค่อยหารือกันในรายละเอียดครับ ว่าจะทำอย่างไรดี

ทำไมเพิ่งคิดออก ประหลาดจริงๆ ครับ

เรียนอาจารย์ดร.แสวง (ผมเห็นเวลาใครเขาขึ้นต้นข้อคิดเห็นแบบนี้แสดงว่าจะแย้งความคิด เลยขอลองบ้างครับ)  

อันที่จริงผมไม่ได้จะมาแย้งความคิดอาจารย์เลยครับ ผมเองก็เป็นคนรู้น้อย ความคิดเชิงระบบ หรือการคิดอย่างเป็นระบบนั้น เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งจังเลยครับ

อย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกได้ก็คือว่าส่วนใหญ่คนจะรู้ได้ด้วยตัวเอง หรือประสบการณ์ชีวิต มากกว่าในชั้นเรียนครับ ไม่ใช่ว่าผมไม่ศรัทธาการเรียนการสอน แต่ผมออกจะขำที่มันไม่พัฒนาไปไหนเลยมากกว่า

คนเป็นครูต้องกล้าลองผิดลองถูก ต้องกล้าแสดงความคิดเห็น มีความรับผิดชอบ (ผิดก็รับ ชอบก็รับ) เราจะสร้างตรงนี้ได้อย่างไรครับ ผมคิดวนไปวนมาอยู่นานเป็นปีๆ ก็สรุปได้ว่ามันต้องเริ่มที่ครอบครัว (เท่านั้นหรือเปล่า) เพราะคิดๆ แล้วทั้งชีวิต เด็กใช้เวลาในห้องเรียน ไม่ถึงหนึ่งในสี่ (ยกเว้นพวกเรียนเป็นอาชีพแบบเรา) สิ่งที่เขาต้องได้ออกไปคือทัศนคติในการใช้ชีวิต ไม่ใช่ซากวิชาที่แยกส่วน พร้อมใช้งาน อาจารย์ว่าไหมครับ

ผมไปคิดต่อจากประเด็นที่อาจารย์กล่าวในบล็อกนี้ ซึ่งไม่ค่อยจะเกี่ยวเนื่องสักเท่าไหร่ เลยขอไปต่อยอดในบล็อกของผมนะครับ
กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ที่เคารพ ลูกศิษย์มาแสดงความเห็นแล้วครับ “เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ” (System analysis) ที่ต้องเริ่มตั้งแต่ System thinking (คิดอย่างเป็นระบบ) ผมเห็นด้วยกับประโยคนี้ครับ เมื่อคิดผิดตั้งแต่เริ่มทุกสิ่งที่ตามมาก็ผิดหมด มันเหมือนการเดินทาง เมื่อเราต้องจะไปภาคเหนือ แต่เราไปขึ้นที่ไปภาคไต้ก็คงไม่ถึงภาคเหนือแน่นอนหรืออาจถึงช้ากว่าที่น่าจะเป็น และก่อนที่จะมีการเดินทางเราควรคิดเตรียมการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ถ้ไม่เตรียมตัวเลยก็จะทำให้ขาดตกบกพร่องอะไรไปหลายอย่างเลยทีเดียว หรืออาจจะเสียผลประโยชน์อย่างที่ท่านไม่เคยคลาดคิดมาก่อนก็เป็นได้ กรแสดงความคิดเห็นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความคิดถ้าผิดพลาดประการไดขอให้เสนอแนะได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับอาจารย์วสะ กับคนเหลาดินสอ ที่มาเต็มประเด็นที่ผมมีแนวคิดไปต่อยอดในทางที่ถูกต้องครับ ทั้งสองมุมมองครับ

ชอบ blog ของอาจารย์ค่ะ  มีสาระและอ่านสนุก

ขอบคุณครับที่มาให้กำลังใจ เห็นมีแต่ว่าเรื่องที่ผมเขียน หนักไป

ผมคิดว่าขงเบ้งเก่งได้เพราะศึกษาตำราพิชัยสงครามของซุนวู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท