ถอดบทเรียนบัณฑิตอาสา ๑: ปลาสองหัว


วันที่ ๒๗-๒๘ มกราคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเปิดบ้านรับและเป็น กระบวนกร ในกิจกรรม ถอดบทเรียนของบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (บอ.มอ.) ซึ่งเป็นโครงการของสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) ที่มี ศ.นพ.วีระศํกดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เป็นผู้อำนวยการ มีพี่แอ็ด..วัลภา ฐาน์กาญจน์ เป็นผู้ประสานงาน  

ตั้งใจจะเอาประสบการณ์การเป็นกระบวนกรมาเล่า และขอความคิดเห็นจากทุกๆท่าน ตั้งแต่เพิ่งเสร็จงานใหม่ๆ แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ผมไม่สามารถเรียบเรียงเรื่องนี้ได้ต่อเนื่อง จึงต้องปล่อยให้เวลามันล่วงเลยมาเป็นอาทิตย์  ผมจะขอนำเสนอเป็นตอนๆ ไปทีละตอนนะครับ

  ถอดบทเรียนบัณฑิตอาสา ๑: ปลาสองหัว 

บัณฑิตอาสาที่มาประชุมกันครั้งนี้เป็นรุ่นที่ ๑ และ ๒ จำนวน ๒๐ กว่าคน รวมทั้งพี่เลี้ยงภาคสนามที่เป็นผู้ติดต่อผม แจ้งความประสงค์จะให้ผมเป็น วิทยากร ทั้งๆที่ผมก็ไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับ งานลงชุมชน แบบน้องเขา แต่ได้รับปากพี่แอ็ดและน้องเขาไปเพราะคิดว่า การเป็นแค่ กระบวนกร.. เป็นผู้จัดกิจกรรมให้น้องเขา คงพอทำได้ และใจก็อยากทำ อยากรู้เรื่องของเขา และที่สำคัญ..อยากลองทำ เพราะเชื่อคำของครู..ท่านอาจารย์วิจารณ์ ที่ว่า การจัดการความรู้..ไม่ทำไม่รู้ 

ก่อนอื่นผมก็บอกน้องเขาว่า ให้ช่วยตั้งหัวข้อมาหน่อย ว่าเราอยากจะคุยกันเรื่องอะไร ผมคิดถึง..หัวปลา ของอาจารย์นะครับ ผมรู้มาว่าเป้าหมายครั้งนี้ น้องอยากถอดบทเรียนเพื่อถ่ายทอดให้รุ่นต่อๆไป 

ก่อนวันประชุม น้องเขาโทรมาบอกหัวข้อผมว่า ทำงานให้มีความสุขและพัฒนางานให้มีคุณภาพ 

ผมรู้สึกว่าหัวข้อมันมี ๒ ประเด็น คือ สุข กับ ดี คือ ทำให้สุข และ ทำให้ดี กลัวว่าจะกลายเป็น ปลาสองหัว กลายเป็นสัตว์ประหลาด กลัวว่าประเด็นมันจะแตกเป็นสองเรื่อง แต่ก็ตัดสินใจว่า ลองดูก็ได้ เพราะถ้าจะให้คิดในภาพรวม ทำให้ดีแล้วก็มีสุข มันน่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน จึงตกลงว่าเราจะยึดหัวข้อนี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร

 

                                                                     ถอดบทเรียนบัณฑิตอาสา ๒: ทักทาย เรื่องเล่าวัยเด็ก >>

หมายเลขบันทึก: 76754เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

อาจารย์ครับปลาพันธุ์ประหลาดแบบนี้ สมควรที่จะเพาะพันธุ์ให้เยอะๆนะครับ

และหากผสมพันธุ์ได้ปลาหัวเดียวที่มีทั้ง "สุข" และ "ดี" คงจะเยี่ยมมากนะครับ

น่าสนใจมากครับ คิดว่าอาจารย์จะเขียนประเด็นนี้ต่อ ผมจะรอติดตามครับ

 คุณ เอก ครับ

ไวจังเลยนะครับ ผมยังแก้คำผิดไม่เสร็จเลย

ขอบคุณมากนะครับ 

อ่านต่อตอน ๒ ไปเลยนะครับ ที่นี่

เรียนอาจารย์ค่ะ

ก่อนกิจกรรม ถอดบทเรียน ชะห์ อานัติและเปิ้ล ก็กังวลว่ากิจกรรมจะออกมาในรูปแบบใหน?......แต่กิจกรรมวันนั้นได้รวมพล (บอ.มอ.) ถึงแม้ไม่ครบ ได้นึกถึงช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตกับชาวบ้าน ความประทับใจ ยิ่งบางเรื่องราวเพิ่งได้ยินก็วันนั้น..น้องๆพี่ๆ เสียดายที่มีเวลาน้อยเกินไป

ตอนนี้น้องๆ ได้สรุปกิจกรรมถอดบทเรียนเสร็จแล้ว .แต่ยังเป็นเนื้อหาล้วนๆ คิดว่าจะใส่อารมณ์ ใส่ความรู้สึก ใส่รสชาติลงไปอีกนิดหน่อยค่ะ..แล้วจะให้อาจารย์ช่วยดูเพิ่มเติมนะค่ะ..

พี่แอ็ดเสียดายที่ไม่ได้เข้าร่วม..และอีกหลายคน

หนูคิดว่า ที่อาจารย์กลัวประเด็นจะแตกเป็นสองเรื่องนั้น แต่สุดท้ายกิจกรรมที่ได้ทำก็ "ทำให้สุข" และ "ทำให้ดี" โดยที่ทุกคนได้กลั่นกรอง และถอดมาจากความภูมิใจ ความประทับใจ จากประสบการณ์ที่พวกเขาเหล่านั้นมิอาจลืมเลือน และถ้ามีโอกาสก็จะทำอย่างนี้อีกต่อไป

สุดท้าย...ชะห์ดีใจมากที่อาจารย์จตุพรได้เสนอแนะเรื่องนี้ด้วย..(เพราะติดตามผลงานอาจารย์อยู่บ่อยๆ)

ขอบคุณอาจารย์เต็มศักดิ์อีกครั้งที่ยอมสละบ้านของตัวเองให้พวกหนูได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้

แล้วจะติดตามตอนต่อไปค่ะ

 

 

 

ขอบคุณ ชะห์ มากครับ

เราน่าจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใน gotoknow ต่ออีกสักยกนะครับ 

ผมคิดอะไรได้อีกอย่างหนึ่ง น่าจะจับ อาจารย์เอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร มาเป็น พี่เลี้ยงภาคไซเบอร์ด้วย ผมจะไปลองชวนอาจารย์มานะครับ

ขอบคุณอาจารย์เต็มศักดิ์มากค่ะ หนูก็อยากให้อาจารย์จตุพรมาเป็นพี่เลี้ยง หรืออาจารย์ที่ปรึกษางานชุมชนอยู่เหมือนกันค่ะ "พี่เลี้ยงภาคไซเบอร์" น่าสนใจนะค่ะ ...

ขอบคุณค่ะ

เรื่อง "พี่เลี้ยงไซเบอร์"

จำได้ว่าคุยกับคุณ  Chah บ่อยๆ เรื่อง กระบวนการทำงาน และทราบว่าทำงานในส่วนของ บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (บอ.มอ.)  และครั้งหนึ่งคุยกันเรื่อง "หลักสูตรท้องถิ่น"

ช่วงนั้นผมต้องออกตัวว่าผมไม่ได้อยู่ในวงการศึกษาแบบเต็มตัว เรื่องหลักสูตรท้องถิ่นก็รู้ในมุมของ นักวิจัยครับ

และ เข้าใจว่า กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักสูตร สำคัญมากกว่า เพราะ เป็นการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของ

ปรากฏว่าทาง บอ.มอ. น้องๆทำได้ดี อาจมีปัญหาบ้างแต่นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของคนทำงาน

ผมหวังว่า บทเรียนเป็นการก้าวต่อ อะไรที่มีปัญหา นั่นหละ คือ ทุนทางปัญญาที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวภายใต้ประสบการณ์ที่หลากหลาย สังเคราะห์เข้าด้วยกัน

และนอกจากนั้นก็คุยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานในหลายๆประเด็น

ซึ่งผมก็ขอบคุณครับ ที่ได้แลกเปลี่ยนกับผม ผมก็ถือว่าผมได้เรียนรู้ร่วมด้วยทางอ้อม บริบทบางอย่างที่ใต้ผมไม่ทราบ แต่ผมเข้าใจว่า กระบวนการมีส่วนร่วม มาจาก การทำงานที่เข้าใจ "ธรรมชาติ" ของคนทำงาน ของชาวบ้าน

หากเราเข้าใจหัวใจของการทำงานตรงนี้ เมื่อนั้น กระบวนการไม่ใช่เรื่องสำคัญมากที่สุด

ผมมองเห็นคุณูปการที่ นศ. ที่ผ่านการทำงาน บอ.มอ.ในส่วนของการทำงานกับชุมชน  จะเป็นแรงสำคัญในการพัฒนาตนเอง  ครอบครัว และสังคม

โลกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ การเป็นบุคคลเรียนรู้ จะช่วยให้"รอด" ได้ ในสังคมแห่งปัญญาที่เป็นประดุจอาวุธ

ผมขอให้กำลังใจ

ขอบคุณอาจารย์หมอเต็มศักดิ์ และคุณ Chah ที่ให้เกียรติผมครับ

 

 

ขอบคุณอาจารย์เอกมากครับ

น้องๆเขากำลังสรุปอยู่ เมื่อเสร็จแล้วจะค่อยๆ ทยอยนำเสนอนะครับ หวังว่าอาจารย์จะให้คำแนะนำพวกเราด้วยครับ

เอ.. แต่ไปรู้จักกันได้ยังไงเนี่ย..

ข้อสงสัยนี้

อาจารย์ ถามคุณ Chah ได้เลยครับ

เรียนอาจารย์ เต็มศักดิ์ ก่อนอื่นต้องขอบคุณอาจารย์ที่มีพื้นที่ให้มาพูดคุยและขอขอบคุณที่อาจารย์มาเป็นวิทยากรถอดบทเรียน คิดว่า บอ.มอ.ทั้งรุ่น1และ2 ได้ประโยชน์และเป็นแนวทางรุ่นต่อไปด้วย ก็ถือว่าพูดกันแบบสบายๆ บรรยากาศในบ้านก็เป็นกันเอง ส่วนหัวข้อการพูดคุย ผมก็คิดไปคิดมาอยู่หลายรอบเหมือนกัน นั่งคุยกับ ชะห์ เปิ้ล สรุปออกมาเป็นปลา 2 หัวเลย(สุขกับดี) ไปปรึกษาอาจารย์ เกรงอยู่เหมือนกันว่าจะไม่ได้ แต่อาจารย์บอกว่าได้ (ดีใจมาก) ขอบคุณครับ อานัติ

อานัติครับ

ผมกำลังลงทุนกับอาจารย์เอก เพาะพันธุ์ ปลาสองหัว ออกขาย

อาจารย์ค่ะ บอกวิธีเพาะพันธ์ได้ไหมค่ะ หนูจะลงทุนด้วยคน

ชะได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วคะ  อยากอ่านตอนต่อไปเร็วๆจังคะ  อยากรู้ว่าอาจารย์จะเขียนถึง บอ.มอ อย่างไรบ้าง 

น้อง ชะห์ (chah volunteer2) ค่ะ ...ดีใจจังเลยที่น้องได้อ่านบทความนี้ ลองบอกเพื่อน ๆ บอ.มอ. เข้ามาเสนอแนะ อาจารย์มี ตอนที่ 2 แล้วนะ....

ชะห์หนึ่งและสอง ครับ

  • ดีใจครับ ที่แวะเข้ามาเยี่ยม
  • อย่ามัวแต่รอผมเขียนนะครับ แสดงความเห็นด้วยจะดีมากเลย
  • ผมกำลังรอข้อมูลจากน้องๆที่สรุปอยู่ครับ หรือว่า จะให้ผมเขียนแต่เรื่องกระบวนการ แล้วน้องๆแต่ละคนเข้ามา post เรื่องเล่าของตัวเองกันเองดี 
อาจารย์เต็มศักดิ์ค่ะ ตอนนี้ชะห์กำลังรวบรวมและดูเนื้อหาอยู่ค่ะ คาดว่าอีกสองสามวันจะส่งให้อาจารย์ดูค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท