ชาวบ้านกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น


ชวนทุกท่านร่วมคิดว่า คุณลักษณะสำคัญของนักวิจัย ที่จะเข้าไปเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน ควรมีคุณลักษณะอย่างไร
                       เมื่อเอ่ยถึงงานวิจัย  เชื่อได้ว่าโดยภาพรวมผู้คนจะเข้าใจและหมายถึงงานอะไรสักอย่างที่ดูยุ่งยาก เกินกว่าคนธรรมดาสามัญทั่วไปจะเข้าใกล้หรือทำได้   ถามว่าความเข้าใจเช่นนั้นถูกหรือผิด  ถ้าถามผมก็ตอบได้ทันทีว่าไม่ผิดและไม่ถูก  ผิดถูกอยู่ที่เหตุผลแห่งการกระทำ                       

                      ในกระบวนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  สำนักงานภาค  ได้เริ่มชี้ให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นว่า  ชาวบ้านกับงานวิจัยไม่ได้ห่างไกลกันอย่างที่หลายท่านคิด และจากที่ได้ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาบ้าง จึงมีแนวคิดมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่าน ในประเด็นชาวบ้านกับงานวิจัย 
       
ท่านเชื่อหรือไม่ว่า 
             
                 
                   1.ชาวบ้านเป็นนักบันทึกข้อมูลนักวิเคราะห์ข้อมูล   

                     สามารถหยั่งรู้ฟ้าดิน   

           
                 
2.   ชาวบ้านเป็นนักนวัตกรรม   ชั้นยอด    
          
        
                
                 
3.   ชาวบ้านเป็นนักวิจัยและพัฒนา    ที่หาตัวจับยาก
 
 
                
4.    ชาวบ้านเป็นนักเผยแพร่    นักประชาสัมพันธ์     
                 
ด้วยศาสตร์และศิลป์ชั้นบรมครู   
                  


               
หากว่าการคิดค้น การทดลอง  การบันทึกข้อมูล   การวิเคราะห์ข้อมูล    การคิดหาสิ่งใหม่    การใช้สิ่งที่คิดค้นได้ให้เกิดประโยชน์   เป็นส่วนประกอบของการวิจัย  เราคงพอที่จะตอบได้ว่า ชาวบ้านทำงานวิจัยมาหลายชั่วอายุคนแล้ว   และถ้าท่านยังมีข้อสงสัย   ลองนึกถึง การทำว่าว   การทำบ้องไฟ   การทอผ้าไหม   สมุนไพร   การทำอาหาร   ผักพื้นบ้าน    การทำนายฟ้าฝน    การดูความสมบูรณ์ของดิน     การคัดเลือกพันธุ์พืช  การใช้ประโยชน์จากดิน  น้ำ  ป่า  ฯลฯ  แล้วท่านจะประจักษ์ชัดว่าชาวบ้านทำวิจัยอย่างไร  
                    

                  คำถามใหม่น่าจะเกิดขึ้นว่า  แล้วที่บอกว่า งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  นั้นทำหน้าที่อย่างไร  ตอบได้สั้นๆคือการเข้าไปเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านสิ่งที่ดีอยู่แล้วจะทำอย่างไร  สิ่งที่เคยดีแล้วหายไปจะทำอย่างไร  สิ่งที่ไม่ดีจะทำให้ดีได้อย่างไร    ที่สำคัญต้องเกาให้ถูกที่คัน    แล้วท่านละครับคิดอย่างไรกับประเด็นชาวบ้านกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  
                  

                    ทิ้งท้ายวันนี้ ชวนทุกท่านร่วมคิดว่า  คุณลักษณะสำคัญของนักวิจัย ที่จะเข้าไปเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน  ควรมีคุณลักษณะอย่างไร 
หมายเลขบันทึก: 76745เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การเริ่มต้น ในการเชื่อ และ เชื่อมั่นในศักยภาพของคนที่แตกต่าง เป็นคุณสมบัติที่ดีของ นักวิจัย นักพัฒนา และนักวิจัยและพัฒนาครับ :)

ผมเชื่อ และ ผมศรัทธา สิ่งที่เป็น รวมถึงศักยภาพที่แฝงในตนตัว ครับ

  • ผมเชื่อมั่นในศักยภาพของนักวิจัยชาวบ้านครับ
  • นักวิจัยที่ดีต้องเข้าใจชาวบ้านอย่างแท้จริง
  • กล้าลุย กล้าทำงานกับชุมชน
  • ผมว่าที่ขอนแก่นมีหลายท่าน
  • ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าใครครับ

นักวิจัยที่จะไปร่วมลปรร กับชาวบ้านจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญหลายอย่าง

 

1.  มีความจริงใจ  ดังผญาว่า  "อย่ามาติแถลงเว้า..."  เมื่อมีความจริงใจต่อกัน  งานจะเดินเร็วมากค่ะ

 

2. รู้เท่าทันเหตุการณ์  สภาวะที่จะย้อนกลับมา

 

3.  อย่าโกหก  แม้ว่าในบางครั้งจะบอกหมดไม่ได้ แต่อย่าโกหก

 

4.  ความสม่ำเสมอ  เสมอต้น เสมอปลายกับทุกๆ คน  แม้ว่าชาวบ้านคนนั้นจะไม่ได้อยู่ในทีมวิจัย

 

5.  การตอบแทนในน้ำใจของทีมงาน  แม้ไม่มีสิ่งของให้  แค่ขวัญและกำลังใจก็เพียงพอ

 

6.  ดูแลให้ทั่วถึงทั้งทีมวิจัยและคนใกล้ตัว

 

และยังมีอีกหลายข้อค่ะ  ขอ ลปรร ในโอกาสต่อไป

ขอบคุณค่ะ

นักวิชาการต้องมีวิชาการอยู่ในหัว และชิวิตจริงๆอยู่ในใจครับ

ตำว่าชีวิตจริงคือความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติที่เป็นจริง

สรุปคือเป็นคนจริงๆ รู้ร้อนรู้หนาว ไม่ใช่หุ่นยนต์(สากล) หรือหุ่นกระบอก (ไทยๆ) ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท