จักรยานยังไม่จบ


                           ก่อนเที่ยงวันนี้ คุณธีรพนธ์ พมจ.น่านโทรเข้า ไม่ได้รับเพราะติดประชุม ๆ เสร็จ โทร.หาได้ความว่า ท่านผู้ว่าลงนามในเกียรติบัตร จะส่งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างไร เขาต้องการที่อยู่

                          เย็นวันเดียวกันนี้ พบ นพ.ชาตรีฯ ท่านมอบเงินที่รับจากคุณพิเชษฐ์ ลีลาเรืองแสง ประสงค์บริจาคทรัพย์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมจักรยาน นพ.ชาตรี รับมา 3,000 บาท ส่งมอบแก่เรา ๆ รับมาจะส่งกองกลางที่มี อ.สมเดชฯ เป็นประธานฯ ต่อไป

                          จึงเขียนได้ว่าจักรยานน่าน ดูว่าจะไม่จบ เพราะความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจ  มีเรื่องเล่าเกี่ยวจักรยานมิตรภาพโอซาก้าสู่น่านหลายเรื่อง เช่น มีผู้จะเอารถจักรยานใหม่แลกจักรยานที่เด็กได้รับ เด็กปฏิเสธ หรือจะเอาเงินมาซื้อเด็กก็ไม่รับ  และจักรยานที่บางหน่วยได้รับไป ยังเผยแผ่ให้แก่หน่วยงานอื่นที่จำเป็นอีก 

                          ที่น่าสนใจ จักรยานกองกลาง จะเพิ่มพูนให้เกิดกองทุนจักรยานขึ้นอีก เป็นกองทุนเพิ่มพูนจากน้ำใจ ไม่มีการเรียกร้องกำหนดกฎเกณฑ์เป็นค่าตอบแทนการยืมใด ๆ

คำสำคัญ (Tags): #จักรยานมิตรภาพ
หมายเลขบันทึก: 76731เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แท้จริงกระบวนการที่ได้จักรยานมานั้น  ล้วนเดินมาด้วยความรักและมิตรภาพเป็นที่ตั้ง   แต่วิธีคิดที่คิดแบบเอาเงินและธุรกิจกำไรขาดทุนเป็นตัวตั้ง  มันก็ตามมาเคาะถามหาตลอดเส้นทางนี้ด้วย (อาจจะถามใจคุณด้วยก็ได้)  วิธีคิดที่จะช่วยเหลือกันโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนนั้น   มันมีผลกระทบอย่างมากมาย  อย่างแรกคือตัวผู้ให้เองนั้นจะเกิดความสุข  ความภาคภูมิใจ  รู้ตัวเองว่ามีค่าต่อผู้อื่น (ไม่คิดฆ่าตัวตายหรือฆ่ายกครัว) ฯลฯ  เราเรียกว่าความสุขร่วม  ไม่ใช่ความสุขเดี่ยว(ซึ่งพวกเราถนัด)   นี่คือ  จดหมายจากเพื่อนเอ็ดเวิร์ด สิงคโปร์  และจิมมี่ ฟิลิปปินส์ที่เขา  เขียนโต้ตอบกัน  ในเรื่องโครงการจักรยานของเราที่น่าน

7 Feb 2007Dear Jimmy, Niran's bicycle project in Nan, Thailand is highly commendable with the support from JAFS.  Bicycles don't use fuel and therefore don't contribute to global warming.  Maybe, we should all campaign for the greater use of bicycles and encourage people to switch from motorised vehicles to bicycles.   China used to have millions of bicycles but, with affluence and wealth, many have switched to motorised vehicles. Besides reducing global warming and pollution, cycling is very good for fitness and health. Probably, with every little effort and part that is made, it will snowball to a great advance to save our earth that we live in. God bless,Edward   Dear Edward,     Thanks for your email on the bicycle project of Niran in Nan; and I agree with your observation that the use of bikes would help fight global warming, in addition to savings on importation of fuel and health aspect..     Since 2003 I have been bringing into my country shipments of bicycles from Cycle Aid, a joint project of Osaka Prefecture and JAFS. Our main target beneficiaries are school children in the rural areas whose schools are some kilometers away from their homes. Two children ride in tandem to and from their schools. About 10 thousand students in the rural Philippines have so far benefited from the Cycle Aid program.     In my country alone, there are so many requests for bicycle donation submitted to AFS chapters and affiliates. JAFS simply could not meet all the requests -- considering that we are also sending bikes to Cambodia, India, Sri Lanka, Indonesia, Thailand and other Asian nations..     I agree with you that biking in south countries would be very beneficial -- for health, for environmental care, and for savings from transportation/fuel expense.     Perhaps in Singapore you may also campaign for donation of used, but still serviceable bicycles, say through the Rotary, Lions or other service clubs, among your circle of influence in the business and civic groups. How about that?     Thanks for your support in our efforts to protect the environment and avert the clear and eminent danger posed by global warming. Please mobilize your friends to be vigilantes against greenhouse gas emissions.     Keep up the good work, my dear Asiafriend. Cordially,JIMMY C   Dear Jimmy, Glad to learn that you've had the Cycle Aid project also in the Philippines. In Singapore, both the Ministry of Environment and the NGO, Environment Council are doing their part relating to these issues.  Our other problem is the annual smog we get from Indonesia because of "slash and burn" method used by wealthy land owners.  It's a quick and cheap way for land clearance.  However, the heavy smoke pollutes the airspace, sometimes the whole cities in Singapore & Malaysia, not to mention their own.  Effective control and laws relating to this problem is lacking.  And, of course, this contributes also to global warming. Yes, you're right, we all have to do our part. Best regards,Edward

 

ขอบพระคุณข้อคิดดี ๆ จากต่างแดน และจาก Tafs โดยคุณนิรันทร์อันที่จริงกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ ในหลายพื้นที่ ทั่วทุกมุมโลกมีอยู่แล้ว หากแต่รอคอยการค้นพบ  และหนุนเสริม

มิครภาพบนโลกใบนี้ผมเชื่อว่า มีจริงแม้ว่าโลกเปลี่ยนด้วยอิทธิพลที่เข้ามาในชีวิตหลายร้อยรูปแบบ  เราชาวโลกควรตั้งสติให้ดี แล้วสำคัญไม่หวาดระแวง จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรต้องมองโลกแง่ดี

แว่นกันแดด ในบางวาระก็จำเป็นเมื่อแดดจ้า  หากเข้าร่วมหรือในสถานการณ์ทั่วไป  ไม่ควรใส่แว่นกันแดน เพราะจะดูโลกมืดบอด ตำราภาษาอังกฤษที่เราเรียนกัน จำได้ แว่นตาคู่นั้น  ไงล่ะ

 

ได้สำเนาจดหมายแจ้งผลและขอบคุณ  ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน  มาเพื่อให้ท่านทราบว่าการทำงานนั้นเป็นทีมที่ประสานกันแบบเครือข่าย  ไม่ใช่ความเก่งของใครคนใดคนหนึ่ง  หรืออยากทำไปตามใจปรารถนาของตนเอง  เพราะเป็นบ้านเกิดของตนเอง  แท้จริงแล้วทุกส่วนนั้นสำคัญมากตั้งแต่โอซาก้า  มาประเทศไทย  โยงไปถึงน่านที่มีกรรมการท้องถิ่นที่เอาใจใส่   เพียงแต่บางคนอาจไม่คุ้นที่กรรมการมีประชุมน้อยไม่สมกับงานใหญ่เช่นนี้  โดยเอาหัวมาสุมกัน(brain storming)เพียงครั้งเดียว  แท้จริงนั้นเราได้ส่งข่าวสารประสานกันตลอดเวลาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เป็นประโยชน์ คือ  อีเมล  โทรศัพท์มือถือ  แฟ็กซ์  เป็นต้น   ฉะนั้นขอตอบคำถามบางคนที่ถามว่าทำไมต้องน่าน  ไม่ไปที่อื่นบ้าง  ง่ายนิดเดียวที่ไหนก็ได้เพียงแต่คนในท้องถิ่นที่นั่นเอาจริงตั้งแต่ต้นจนจบเป็นกลุ่มกรรมการ   เพราะในขั้นตอนนั้นมีความยากอยู่ด้วยต้องทำร่วม  มิใช่ทำเพื่อ....  เช่น  ปีนี้ 2007  ต้องคิดเคลื่อนไหวตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป   น้อยๆ  แน่ๆ  นานๆ

ทุกวันฉันนั่งบนหลังอาน(จักรยาน)                               ขับขี่ผ่านถนนหลายสาย ลัดเลาะขอบเส้นทางกลัวอันตราย สู่ที่หมายด้วยใจทรนง บางคนมองว่าบ้า บางคนมองว่าโง่ บางคนมองว่า..โถ(ตามกระแส)แต่ถ้าแน่..มาขี่ด้วยกันมั้ย..... เหงื่อไหลไคลย้อยค่อยๆถีบ กล้ามเนื้อขาหนีบแรงแข็งขัน ร้องเพลงไปสูดหายใจคลายครบครัน เธอกับฉันมั่นหมายใจเดียวกัน

ที่โรงพยาบาลพุทธชินราชก็มีคนใช้จักรยานกันมากเหมือนกันครับ  ที่จะเอาจริงจังมากอาจจะเป็นคุณหมอสุรพงศ์และภรรบาที่ขี่ไปทำร้านเลย คุณหมอสาโรจน์ก็ขี่มาทำงาน (ระยะทางสั้นหน่อย แต่เห็นไปขี่รอบสระน้ำกลางคืน คือใช้เป็นทั้งพาหนะไปทำงานและเป็นเครื่องออกกำลังกาย) ที่แฟลตพักแพทย์เฟื่องฟ้าก็มีรถอยู่สิบกว่าคัน   ทางเภสัชก็ขี่กันทุกเย็นวันศุกร์  คุณหมอสานิตก็ไปเป็นประธานชมรมจักรยานของจังหวัด (ถ้าจำชื่อชมรมไม่ผิด)  ดูทุกคนมีความสุขดีครับ

ร่วมแบ่งปันกับ"เหลี่ยมจงกล" และรพ.พุทธชินราช  ว่า  ความดี  ความสุข  ที่เราแน่ใจ  และไม่เบียดเบียนใคร  เป็นความแน่แท้ยั่งยืนนาน 

ใครจะว่าเราเป็นนักฝัน....  ก็ไม่ใช่คุณคนเดียวหรอก  มีเพื่อนโลกนี้อีกมากมายที่เป็นเพื่อนคุณ   เพียงแต่ไม่ได้อยู่ใกล้ๆคุณเท่านั้น  

ความอยุติธรรม  ความไม่ถูกต้อง  ไร้จริยธรรม  ไร้คุณธรรมนั้น  แม้กระแสโลกทั้งโลกไปทางนั้น  เราก็ควรพร้อมจะยืนหยัดบอกว่า"ไม่"  กาลเวลามันจะพิสูจน์เราเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท