สม.4


ทำไม ศสช. ต้องมีกิจกรรมในชุมชน
ทำไม ศสช. ต้องมีกิจกรรมในชุมชน จากกระแสการปฎิรูปสุขภาพ ที่มุ่งเน้นให้เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน (All For health ) โดยยึดหลักการสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมสุขภาพ การจัดบริการที่เป็นเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ โดยการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ รวมถึงการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ซึ่งจากแนวคิดดังกล่าว ร่วมกับการปฎิรูประบบบริการปฐมภูม ซึ่งมุ่งเน้นครอบครัว และชุมชนเป็นศูนย์กลางพัฒนา โดยปรับบทบาทและวิธีคิดของเจ้าหน้าที่ ศสช. ในการรับผิดชอบสำรวจ ครอบครัว/ ชุมชน เพื่อให้รู้จัก – เข้าใจ ครอบครับ/ ชุมชน อย่างแท้จริงและสามารถร่วมแก้ปัญหา – พัฒนาสุขภาพของครอบครัว/ ชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว – ชุมชน กิจกรรมชุมชนเป็นอีกหนึ่งใน 8 กิจกรรมของ ศสช. ซึ่งเจ้าหน้าที่ควรรู้ – ปฎิบัติ ทั้งนี้เนื่องจากฐานประชาชน/ผู้รับบริการ/ครอบครัว/ชุมชน นั้นอยู่ในชุมชน คำว่าชุมชนนั้น อาจจำแนกเป็นได้หลายประเภท เช่น หมู่บ้าน วัด โรงเรียน สถานประกอบการ เป็นต้น ในการบริการสุขภาพของเจ้าหน้าที่ ศสช. โดยใช้ครอบครัว – ชุมชน เป็นฐาน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายบริการที่พึงประสงค์ของ ศสช. มีหลักการแนวคิด และวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในชุมชน ดังนี้ หลักการ – แนวคิด 1.ศสช. เป็นการจัดกิจกรรมที่ใช้ ครอบครัว / ชุมชน เป็นฐานโดยกำหนดบทบาทหน้าที่เป็นเจ้าของผู้ป่วย/ครอบครัว เน้นสัมพันธภาพในลักษณะหุ้นส่วนของการดูแลสุขภาพเท่าเทียมกัน 2. การจัดกิจกรรมต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากผู้ป่วย – ครอบครัว และชุมชน จึงจะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน (สัมธภาพในลักษณะเท่าเทียมกันในการแก้ปัญหา) โดยการค้นหา ระดม และสนับสนุนด้วยภาพของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนในการแก้ปัญหาร่วมกัน 3.การจัดกิจกรรมในชุมชน เน้นการทำงานเป็นทีมสุขภาพที่มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม โดยมีเจ้าของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน เป็นผู้เชื่อมโยงประสานให้เกิดการแก้ปํญหาร่วนกันระหว่าง ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และผู้ให้บริการที่หลากหลายสาขา 4. ใช้ Family Folder และ Comumnity Folder เป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงปํญหาสุขภาพเข้ากับ ครอบครัว เครือญาติ ชุมชน และมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการเข้าใจปัญหาอย่างเป็นองค์รวม ต่อเนื่องและเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการ วัตถุประสงค์ของกิจกรรมในชุมชน 1. เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน 2. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน ในการดูแลสุขภาพตนเอง 3. เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพชุมชน อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 76717เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ศสช.คือกระทรวงสาธารณสุขย่อยครับ..งานสร้างสุขภาพอาจไม่ใช่งานของหมออนามัยเพียงคนเดียว ต้องมีการประสานงานกับทุกภาคส่วน..เช่น ครู วัด อบต กศน เกษตร เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราต้องมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ (KAP)..เน้นงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับครับ แต่..บางครั้งก็รุกไม่ไหว "ขุน"ไม่ขยับ กับก็เลยเท่าเดิม..ฮ่า!
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท