โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

ตัวอย่างเรื่องเล่า..จากครูพัชรี


เรื่องเล่าเร้าพลัง

จากประสบการณ์การสอนที่ยาวนานของดิฉัน..อยากจะนำเสนอประสบการณ์ที่ยากจะลืมเลือนที่ทำให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของความเป็นครู  หากจะเรียนถามทุกท่านว่า สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ยากไหมถ้ายังไม่มีประสบการณ์การเลย ดิฉันขอตอบเลยว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ไม่รู้ว่าจะทำอะไร บางครั้งสู้นักเรียนไม่ไหวต้องแอบร้องไห้หลังห้องเรียน แต่ดิฉันก็ไม่เคยท้อแท้พยายามหาวิธีการต่างๆ  นานามาช่วยให้บรรยากาศห้องเรียนดีขึ้น แรกๆ ก็ใช้วิธีตามตำราทำดีตบมือ กล่าวชื่นชม ซึ่งแรกๆ ก็พอจะได้ผลบ้าง แต่พอนานๆ บรรยากาศห้องเรียนก็กลับมาเหมือนเดิม พอเป็นอย่างนี้ก็เป็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของดิฉันอีก แล้วดิฉันจะต้องทำอย่างไร ... คืนนั้นนอนคิดทั้งคืน สุดท้ายก็ปิ้งไอเดียขึ้นมาว่า ธรรมชาติของเด็กต้องการของรางวัล ของตอบแทนก็เลยลองใช้วิธีการใหม่โดยจัดตู้ของรางวัลขึ้นในห้องเรียนโดยแบ่งของรางวัลออกเป็นระดับตามผลงาน ถ้าทำสำเร็จไว เรียบร้อย ก็จะได้ของรางวัลชิ้นโต และคนที่ส่งก็จะได้ของรางวัลทุกคน ส่วนคนไหนไม่ส่งผลงานก็จะไม่ได้ของรางวัล พอเห็นเพื่อนได้ของรวงวัล เด็กๆ จากที่ไม่ค่อยสนใจเรียนก็ทำงานเด็กมีความกระตือรือร้นและทำงานได้เรียบร้อยขึ้น จึงทำให้ดิฉันประทับในใจครั้งนี้

                                    เรื่องเล่า จาก  คุณครูพัชรี  ศิริเจริญ ครู คศ.3

หมายเลขบันทึก: 76633เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ขอบคุณค่ะ คุณครูพัชรี ข้อเขียนนี้ทำให้นึกถึงช่วงเวลาแห่งความทุกข์ นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการที่ครูตัดเกรดต่ำๆนั้นเป็นความสุขของครู สำหรับดิฉัน ประมาณ 3 วันก่อนตัดเกรดจะนอนไม่ค่อยหลับ ทั้งๆที่ชั่วโมงแรกก็จะชี้แจงเรื่องคะแนนและการตัดเกรดไปแล้ว คนเป็นครูนะคะ ช่วงเวลาที่มีความสุขมากคือ นักเรียนเรียนรู้ และได้ดี นอกจากให้รางวัลแบบนี้แล้ว เราจะมีเทคนิคอะไรได้อีกไหมคะ

อาจารย์คะ

     ทางคณะวิจัยได้เดินทางไปเยี่ยมหลายองค์กรแล้วพบว่า เขาได้ดำเนินงานครบวงจรและ ท่าน ดร.สุวัฒน์ได้แนะนำว่า ฟอร์มที่ท่าน ผอ. คิดแบบรายงานและแนวความคิดเกี่ยวกับโมเดลการจัดการความรู้ของโรงเรียนเป็นตัวอย่างที่ดีมาก

    พอดีขณะนี้ดิฉันยังไม่เข้าที่ทำงานจึงยังไม่สามารถค้นเอกสารทั้งแบบรายงานและโมเดลดังกล่าวได้ แต่พอมีโอกาสที่จะนำทั้งสองสิ่งนี้ไปใส่ใน website งานวิจัย

    และเนื่องจากวัฒนธรรมการจัดการความรู้จะให้ความเคารพแก่ผู้เป็นเจ้าของความคิด จึงอยากจะสร้างวัฒนธรรมนี้ให้อยู่ในการทำงานของพวกเรา ดิฉันจึงจะขออนุญาต ผอ.และทางโรงเรียน ตั้งชื่อ ดังนี้ คือ

     แบบฟอร์มที่ผอ. ให้อาจารย์ในโรงเรียนกรอกเกี่ยวกับการจัดการความรู้  ขอเรียกว่า ศักดิ์เดชฟอร์ม

      โมเดลการจัดการความรู้ ขอเรียกว่า เพาะชำโมเดล  (อันนี้ ดร.สุวัฒน์ชอบมาก บอกว่าความหมายดี)

      คณะวิจัยจะนำไปเผยแพร่ให้กว้างขวางขึ้น ดังนั้นจึงขอความกรุณาช่วยส่ง แบบฟอร์มและโมเดลไปทางอีเมล์ได้ไหมคะ

         [email protected]

อ่านของอาจารย์ทัศนีย์แล้ว  โรงเรียนเมืองแปงก็อยากได้ครับ   ขอบ้างนะครับ  จะได้เอาไปลองใช้ที่แม่ฮ่องสอนครับ

เมล : [email protected]  ครับผม

ขอขอบพระคุณทุกท่านมากที่ให้ความสนใจ..ตอนนี้ท่าน ผอ.ไดแนบไฟล์ส่งให้ อ.ทัศนีย์ แล้วนะครับ...

นางลำใย รัตนพันธุ์

ขอให้ครูพัชรีสู้ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท