ผลของการท่องจำ


ถ้าเราให้เด็กอนุบาล "ท่องจำ" (ทำซ้ำ, เรียนซ้ำ) ว่า  " ก - รูปไก่", "ข-รูปไข่", "ค-รูปควาย", --- "ฮ - รูปนกฮูก"  เรียนซ้ำๆ นับ ๑๐๐ ครั้ง จนจำได้หมด  แล้ว  "ความรู้"ที่ได้ก็คือ " ก - ฮ " เป็นความรู้ประเภทความจำ

แต่มากกว่านั้น ครับ !

ขอให้สังเกตว่า  เมื่อเห็น "ก" แล้วเด็กจะคิดถึง "รูปไก่" 

เห็น "ก" ทีไรแล้วก็จะคิดถึง "รูปไก่" เสมอๆ  หรือทุกครั้ง

เหตุการณ์เช่นนี้เราเรียกว่าเกิด "การโยงสัมพันธ์"ระหว่าง "ก" กับ "รูปไก่" เป็น " ก - รูปไก่"  เหตุการณ์เช่นที่ว่านี้ก็เกิดกับ "ข - รูปไข่" และตัวอื่นๆ ไปจนถึง "ฮ - รูปนกฮูก" เหมือนกัน ครับ

เมื่อเห็น "ก" แล้วจะคิดถึง"รูปไก่" "อย่างเดียว"  ไม่เคยคิดถึง "กิ้งก่า, แก้วน้ำ, กางเกง, กลโกง, เกาะแก่ง, กายกรรม, ---- " เลยครับ

เรียกว่า "เห็นทางเดียว"  "คิดทางเดียว"  หรือ "Convergent Thinking" แต่ถ้าเป็นอย่างหลัง ก็เรียกว่า "คิดหลายทาง" หรือ "Divergent Thinking"

นี่คือ "ผลของการท่องจำ"  คือ "การคิดทางเดียว" ครับ   ผลอันนี้เรียกว่า "ทักษะการคิด" (Thinking Skill)  แต่เป็น "ทักษะเกี่ยวกับการคิดทางเดียว"  ได้จากการท่องจำ  ถ้าระบบการศึกษาทั้งระบบเน้นท่องจำ เราก็จะได้เด็กที่พัฒนา "ทักษะการคิดทางเดียว" เต็มบ้านเต็มเมืองแหละครับ  !!  รวมทั้ง ผม และท่านด้วย จริงไหมครับ !!!

"การคิดทางเดียว"  "คิดหาคำตอบเดียว" มัน "ตรงกันข้าม" กับ "คิดหลายทาง"

และคิดหลายทางก็คือ "ความคิดสร้างสรรค์" !!!

ถ้าเด็กของเราที่เกิดมาบริสุทธิ์ผุดผ่อง  มี "เสรีที่จะคิด" มาตั้งแต่เกิด ต้องตกมาอยู่ในระบบที่สอนเน้นจำ ------ ???

ถ้าระบบการศึกษามี ๑๐,๐๐๐ ชม. และเด็กดังกล่าวต้อง "ถูก" ทำเช่นนี้ทั้ง ๑๐,๐๐๐ ชม. แล้วละก้อ ----- !!! ???

คำสำคัญ (Tags): #การท่องจำ
หมายเลขบันทึก: 76626เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ ดร.ไสว

อาตมาสนใจข้อวิพากษ์ของอาจารย์ เรื่องการท่องจำ  เป็นพิเศษ....

การศึกษานักธรรม สมัยก่อนเน้นการตีความขยายความ ปัจจุบันหันมาเน้น ความจำ เป็นหลัก

การศึกษาบาลี ใช้ระบบจำเป็นเกณฑ์สำคัญที่สุด

และอภิธรรม ต้องใช้ความจำพื้นฐานมาก ...ต้องจำเป็นหัวข้อเป็น พันๆ หัวข้อ (หรืออาจเป็นหมื่น ไม่เคยนับแต่เยอะมาก จึงจะมีความคิดครบวงจรได้)...

ก็ติดตามงานของอาจารย์เรื่อยๆ เพื่อว่าจะเกิด "ความโพลง" บางอย่างขึ้นมา

เจริญพร 

ดิฉันและอีกหลายๆท่านได้ดีเพราะการท่องจำ

พระคุณเจ้าคิดอะไรแปลกๆ สดุดใจผมบ่อยๆ ครับ อย่างเช่น "ความโพล่ง" ในคราวนี้ครับ  เป็นภาษาไทยแท้  และความหมายลึก

ความคิดลักษณะนี้ปรกติผู้คิดจะต้อง "ผจญกับปัญหาอะไรสักอย่างหนึ่ง"  อยู่ก่อนหน้านั้น + ครุ่นคิดแก้ปัญหานั้น + ระเวลาหนึ่ง  แล้ว "ทันใด" ก็เกิดได้คำตอบขึ้นมา !   เมื่อถามว่าคิดได้อย่างไร  ก็ตอบไม่ได้ มันเกิดขึ้นมาเอง  คือ ผู้คิดอธิบายที่มาของคำตอบไม่ได้

ถ้าความคิดโพล่งนี้มีความหมายดังกล่าว  ก็จะตรงกับคำว่า "พิปัสญาณ"  "การหยั่งเห็น"  "ความคิดแวบ"  หรืออะไรทำนองนั้น

แต่ --- เอ-- คนที่ฝึกจำมามากๆ จะคิดทำนองนี้หรือเปล่า --น้อ ?  น่าจะทำการวิจัยจริงๆครับ

ผมก็ตอบสนองความเห็นไปเรื่อยๆครับ

ผมขอแสดงความยินดี และ เห็นด้วยกับ คุณ ไม่แสดงตน ครับ ผมก็อยู่ในระบบท่องจำมาก่อนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท