มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

สรุปการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง Camfrog


สรุปการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง Camfrog ตัวอย่างที่กำลังบ่งชี้ว่าสังคมไทยตกต่ำทางศีลธรรมถึงขีดสุด กับทางแก้และหาทางออก

วันพฤหัสบดี ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๗.๓๐ น.
ห้องประชุม ๑ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ พหลโยธิน ๒๒

<p>สรุปสาระสำคัญจากการเสวนา </p><p>1. Camfrog คืออะไร... อิทธิพลและผลของ Camfrog เป็นอย่างไร Camfrog เป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ 2 ทาง (two-way communication) ซึ่งเป็นการพูดคุย (chat) ระหว่างบุคคลที่เป็นชุมชนทางอินเทอร์เน็ต โดยแบ่งออกเป็นห้องๆ ตามหัวข้อในการสนทนา โดยในปัจจุบันจะมี 2 โซนหลักๆ คือ โซนทั่วไป (general) และโซนผู้ใหญ่ (18+only) ซึ่งการพูดคุยจะมีการผนวกกับกล้อง (web camera หรือ web cam) โดยผู้สนใจสามารถลงทะเบียนใช้งานเหมือนโปรแกรมสนทนาทั่วไป หลังจากนั้นจึงสามารถเข้าไปเลือกห้องสนทนาพูดคุยได้หลายๆ คนพร้อมกัน </p><p>เมื่อเข้าไปแล้วโปรแกรมจะแสดงว่ามีคนใช้บริการภายในห้องกี่คน และใครที่เป็นเจ้าของห้อง (owner) ในปัจจุบันปัญหาที่พบ คือ การแสดงโชว์ลามกในรูปแบบต่างๆ ผ่านกล้อง ไม่ว่าจะเป็นการโชว์เปลื้องผ้า การแสดงท่าทางเล้าโลม การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ทั้งแบบเห็นหน้าและไม่เห็นหน้า ในอดีตจะเป็นชาวต่างชาติโชว์ แต่ปัจจุบันจะเป็นคนไทยโชว์เสียมากกว่า โดยการเปิดห้องของคนไทยขึ้นมาเอง ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย และที่สำคัญคือช่วงเวลาที่คนเข้าไปมากที่สุดคือช่วงเย็น จึงมีข้อน่าสังเกตว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่เด็กเลิกเรียนใช่หรือไม่? </p><p>จุดเปลี่ยนที่ทำให้คนสนใจโปรแกรมดังกล่าวมากขึ้น เนื่องมาจากการประโคมข่าวผ่านสื่อต่างๆ การบอกต่อๆ กันมา รวมไปถึงการตีข่าวของหน่วยงานราชการบางแห่งที่พยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาทั้งๆ ที่ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจน จึงกลายเป็นการจุดประกายให้เกิดปัญหาหนักขึ้นเรื่อยๆ เรากำลังประสบกับความเสื่อมทรามทางจริยธรรมในสังคมไทยจริงหรือไม่? </p><p>ปัญหาที่พบตามมา คือ เกิดช่องทางการค้าประเวณี การล่อลวงผ่านทางอินเทอร์เน็ต อันนำไปสู่ปัญหาการก่ออาชญากรรม ตลอดจนภาพพจน์ที่เสื่อมเสียของประเทศไทยในสายตาชาวต่างชาติ ในขณะผู้เล่นกลับมองว่าการกระทำดังกล่าวไม่ใช่สิ่งผิด แต่มองว่าเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ปฏิบัติกันได้ เป็นช่องทางการแสดงออก เพื่อให้เกิดการยอมรับขึ้นในสังคม เพื่อให้คนอื่นชมว่าเราดี เราเด่น เราเก่ง และมองข้ามปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาได้อย่างง่ายดาย เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ ปัญหาดังกล่าวก็เหมือนกับวัฏจักร เพราะในอนาคตก็จะมีโปรแกรมในรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย มีการพัฒนาไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด </p><p>หากสังคมยังคงปล่อยให้พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้แทรกซึมอยู่ในสังคมไทย เยาวชนไทยจะมองว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องปกติธรรมดา </p><p>2. ข้อคิดเห็นจากนักวิจัย </p> <pre> ผศ.ดร.วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
</pre> <p>ได้กล่าวถึงการวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการสนทนาผ่านโปรแกรมแคมฟรอก (camfrog)” ว่า ได้รู้จักโปรแกรมดังกล่าวจากที่นักศึกษาแนะนำ จึงได้ download มาดู และพบว่าสถิติคนเข้าไปดูโปรแกรมดังกล่าวมีมากขึ้นภายหลังจากการเผยแพร่ข้อมูลของคนที่แสดงโชว์ลากมกทางโปรแกรมดังกล่าวผ่านสื่อทางโทรทัศน์ ส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อคลายความตึงเครียดจากการทำงาน การเรียน ตลอดจนการระบายความต้องการทางเพศ บางคนเข้ามาโชว์เพราะรู้สึกว่าตนเองเป็นดาราเนื่องจากได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปที่เข้ามาเล่นเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ตามมาคือการ capture ภาพและนำไปใส่ใน website เพื่อให้คนทั่วไปสามารถ download มาดูเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ได้นำมาซึ่งปัญหาทางสังคมในรูปแบบต่างๆ มากมาย </p><p>ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าคนให้ความสนใจและเข้าไปลงทะเบียนโปรแกรมนี้มากเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ว่าคนที่เข้าไปนั้น เข้าไปทำอะไร วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารในราคาประหยัด มีหนทางในการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้มากมาย แต่ตอนนี้คนในสังคมกำลังใช้โปรแกรมนี้ไปในทางที่ผิด อีกทั้งเด็กและเยาวชนกลับมองเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดา น่าสนใจ และกระตุ้นให้อยากเข้ามาเป็นอย่างมากจนติดเป็นนิสัย สิ่งนี้ต่างหากที่กำลังสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ </p><p>3. ความพยายามในการแก้ไขปัญหา และภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม </p> <pre> ประสบการณ์จากองค์การยูเนสโก
</pre> <p>จากประสบการณ์ขององค์การยูเนสโก ได้สนใจเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อกับเด็กและเยาวชนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 โดยได้มีการเตรียมความพร้อมในระดับหนึ่งเพื่อการรับมือกับสื่อในรูปแบบต่างๆ ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ทำอย่างไรให้เด็กใช้สื่อให้เป็น” มีการสร้างสรรค์สื่อขึ้นมาเพื่อสร้างสามัญสำนึก สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อ เช่น คู่มือการเรียนรู้สื่อสำหรับครูในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งในอนาคตได้มีแผนว่าจะมีการจัดทำคู่มือสำหรับผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปขึ้น เพื่อให้เกิดการขยายเครือข่ายจากโรงเรียนไปสู่ครอบครัวและชุมชน เพราะตระหนักว่าการสร้างความรู้พื้นฐานแก่เด็กและเยาวชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งสถาบันการศึกษาและสถาบันครอบครัวถือว่าเป็นสถาบันแรกๆ ที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด </p> <pre> มุมมองของนักจิตวิทยา
</pre> <p>นายแพทย์กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้กล่าวว่า ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับโปรแกรมดังกล่าวนั้นเชื่อมโยงไปที่ปัญหาด้านเซ็กส์ (sex) และความรุนแรง การใช้คำหยาบอย่างแพร่หลายนั้น แสดงถึงความก้าวร้าวของคนในสังคมที่มีมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผู้เล่นเสียเวลา เสียสุขภาพโดยไม่รู้ตัว เพราะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับอินเทอร์เน็ตจนเคยชิน ต้นเหตุของการติดอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลักๆ คือ 1. ด้านสมอง (ความต้องการทางด้านสมอง) 2. ด้านพฤติกรรม และ 3. ด้านสังคม แต่ที่สำคัญ คือ ตัวบุคคลแต่ละคนที่ติดกับการเล่นอินเทอร์เน็ต เพราะถือว่าเป็นการให้รางวัลกับสมองของตนเอง ซึ่งอาจเชื่อมโยงไปกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของแต่ละคน บางคนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการระบายอารมณ์ อันเนื่องจากมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ในที่นี้หมายถึง พวกที่ชอบโชว์ ชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก เป็นต้น ตลอดจนเป็นผู้ที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องการให้ผู้อื่นชื่นชม ต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น เป็นผู้ที่ขาด Self esteem ดังนั้น คนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวอาจไม่ใช่คนที่เสื่อมทรามทางจริยธรรม แต่อาจเป็นคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตอยู่ </p> <pre> ข้อสังเกตจากผู้เฝ้าติดตามความเปลี่ยนแปลงของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
</pre> <p>นายตฤณ ตัณฑเศรษฐี จากมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า สิ่งที่เรากำลังประสบปัญหากันในปัจจุบันนั้น เราควรตั้งคำถามร่วมกันว่า ทำไมคนบางคนถึงเลือกที่จะเข้าเว็บไซต์ดังกล่าว ทั้งๆ ที่ในโลกของอินเทอร์เน็ตนั้น มีเว็บไซต์ดีๆ และมีประโยชน์อีกมากมายให้เลือก การแก้ปัญหาในลักษณะปราบปรามจึงไม่ได้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำ เหมือนเกมแมวไล่จับหนูตลอดเวลา บางทีปัญหากับวิธีการแก้ไขนั้นไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มักจะเป็นการตัดตอนปัญหามาทำเป็นเรื่องๆตามขอบเขตของหน่วยงาน ตามกระแส จริงๆ เมื่อพิจารณาดีๆ จะพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดในลักษณะเครือข่ายสังคม (เพื่อน ค่านิยม ความทันสมัย) ดังนั้น เราน่าจะต้องไปแก้ทั้งระบบ ไม่มีคำตอบเดียวที่แก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดอย่างราบคาบ หากปัญหาเริ่มต้นจากเครือข่ายสังคม ก็น่าจะแก้ด้วยเครือข่ายสังคม แต่การแก้ไขปัญหาในปัจจุบันเป็นการแก้ไขปัญหาแบบคนละทิศคนละทาง จึงไม่แปลกหากปัญหาจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น เหมือนสงครามที่ไม่มีวันชนะ เราต้องตระหนักว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาสังคมที่ทุกคนต้องช่วยกันอย่ามองว่าธุระไม่ใช่แล้วก็ไม่สนใจ การสร้างแรงกระตุ้น สร้างแรงจูงใจในทางบวก เพื่อให้คนตระหนักถึงทางเลือกที่ดีกว่า เปลี่ยนพลังและความอยากรู้อยากเห็นไปในทางสร้างสรรค์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอีกด้วย ลองสังเกตดูว่า ทำไมปัจจุบัน (ปี 2550) ปัญหาการตีกันของเด็กอาชีวศึกษาจึงลดน้อยลง ไม่ใช่ปาฏิหารย์ แต่เป็นการร่วมมือร่วมใจของสื่อหลายๆ สื่อที่พยายามส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดทัศนคติของเด็กพันธ์ “อา” ในรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา เน้นการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์มากขึ้น บางทีเราอาจต้องพิจารณาจากปรากฎการณ์ทางสังคมในเรื่องต่างๆ ที่พัฒนาไปในทิศทางที่ดีให้มากขึ้น เพื่อให้เราสามารถมองหาทางออกร่วมกันได้ </p> <pre> ประสบการณ์การแก้ไขปัญหา
</pre> <p>ความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาต่างประสบกับความล้มเหลว ไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะอะไร? จากประสบการณ์การประชุมเพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆ ที่ผ่านมา สิ่งที่พบ คือ ไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ เพราะทะเลาะกันเองบ้าง โทษกันเองบ้าง ตลอดจนการไม่ร่วมมืออย่างจริงจังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการไม่ร่วมกันหาต้นเหตุของปัญหาและร่วมกันแก้ไขในรูปแบบที่แต่ละหน่วยงานมีความรับผิดชอบและสามารถดำเนินงานได้จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ แล้วจะทำอย่างไรต่อไป? จะปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นโดยที่เรามองข้ามเสีย แล้วคิดอยู่เสมอว่าไม่ใช่ธุระของเราจริงหรือไม่? แล้วอนาคตของประเทศชาติจะฝากไว้ที่ใคร? บางคนอาจมองเป็นเรื่องเล็กเพราะไม่รู้ว่าจะแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร? บางคนมองว่าเป็นสิ่งไกลตัวเพราะเราไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ถ้าเรามองดีๆ จะพบว่า นี่คือปัญหาของสังคมไทย สังคมที่เรากำลังอาศัยอยู่และลูกหลานของเรายังคงต้องเติบโตอยู่ในสังคมนี้ต่อไป การเรามองปัญหานี้ร่วมกันและปรับทัศนคติการมองปัญหาร่วมกันจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ การเทกองความคิดที่แตกต่างร่วมกันจึงเป็นหนทางหนึ่งในการเริ่มต้นแก้ไขปัญหา ซึ่งจากการเสวนาในครั้งนี้เราได้มุมมองในการแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย ดังนี้ </p> <pre> การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (การปราบปราม, การป้องกัน และการส่งเสริม)
</pre> <p>• การสร้างโลกเสมือนจริงในการแก้ไขปัญหา โดยการใช้ช่องทางที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ได้แก่ การเปิดห้องของภาครัฐ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา เพื่อการพูดคุยถึงปัญหาและเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ (เป็นที่พึ่งทางเลือก) เช่น ห้องของกระทรวง ศึกษาธิการ ให้คำปรึกษาด้านการศึกษา, ห้องของกรมสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาด้านปัญหาต่างๆ ตลอดจนห้องรับแจ้งข่าว จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น
• การใช้สื่อเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ เมื่อเกิดปัญหาต้องเสนอว่าสิ่งดังกล่าวเป็นปัญหา ตลอดจนการสร้างตัวอย่างที่ดีผ่านสื่อให้มากขึ้น เพื่อสร้างค่านิยมและกระแสนิยมให้แก่สังคม
• การผสานความร่วมมือในการสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิด เช่น การให้ข้อมูล การร่วมหาแนวทางในการรองรับกับปัญหาในหลายๆ รูปแบบ เป็นต้น
• การสร้างแนวทางความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนสมาคมครู ผู้ปกครอง
• สถาบันการศึกษา ควรมีรูปแบบการสอนและสื่อที่ทันสมัย เพื่อให้เยาวชนรู้เท่าทันโลกปัจจุบันให้มากขึ้น จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่ออย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
• การผลิตสื่อที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนได้ เช่น สื่อมัลติมีเดีย หนังสือการ์ตูน ละครทางโทรทัศน์ เป็นต้น </p> <pre> การแก้ไขปัญหาในเชิงจิตวิทยา
</pre> <p>• ตัวผู้เล่นเอง เนื่องจากในเชิงจิตวิทยาพบว่าปัญหาสำคัญเกิดจากตัวผู้เล่นเอง ดังนั้นการแก้ไขปัญหาต้องเริ่มที่ตัวของผู้เล่น ผู้เล่นต้องมีความเข้มแข็ง และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
• ครอบครัว ครอบครัวต้องเข้มแข็ง เอาใจใส่บุตรหลานให้มากขึ้น ให้ความรักและความเข้าใจ มีการฝึกวินัยในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมแก่เด็กตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งตามหลักจิตวิทยาแล้วควรมีการสอดแทรกจริยธรรมแก่เด็กในวัยก่อนอายุ 6 ขวบ จะเป็นช่วงที่เด็กมีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
• สถานศึกษา สถาบันการศึกษาควรสอนให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ กับภัยร้ายที่ควบคู่มากับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทันต่อโลก ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดได้ ตลอดจนการปลูกฝังค่านิยม จริยธรรมให้รู้จักผิดชอบชั่วดีมากขึ้น </p> <pre> การแก้ไขปัญหาระยะยาว
</pre> <p>• การหาแนวทางการจัดการ ตลอดจนการกำหนดมาตรการในระยะยาว เพื่อการผลักดันให้เป็นนโยบายระดับชาติ ระดับหน่วยงาน โดยอาจศึกษาจากแนวทางของต่างประเทศ </p> <pre> แนวคิดที่ควรมีการทบทวน
</pre> <p>• การ block โปรแกรม และการจัด rating ของโปรแกรมต่างๆ สำหรับแนวคิดนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาหลายท่านมีความคิดเห็นว่าการ block โปรแกรม ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาในระยะยาว หากเรา block โปรแกรมนี้ ก็จะมีโปรแกรมอื่นเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะโปรแกรมไม่ใช่สาเหตุของปัญหา เป็นเพียงช่องทางที่คนนำไปสร้างปัญหา ดังนั้น การช่วยกันระดมความคิดว่าปัญหาอยู่ที่ไหนสำคัญมากกว่า เพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุดและยั่งยืน </p><p>บทสรุปจากแนวคิดต่างๆ เหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า สังคมไทยต้องตระหนักว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นปัญหาก่อนในลำดับแรก และร่วมมองปัญหาในจุดเดียวกัน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทางสังคมที่ทุกคนต้องช่วยกัน บางทีเราอาจจะแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุดก็ได้ แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้จึงอาจจะเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดังนั้น เวทีนี้จึงเป็นเวทีเริ่มต้นที่อยากจะพัฒนาให้เกิดแนวคิดที่สานต่อต่อไป ไม่ใช่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นจะขยายไปเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นได้โดยเฉพาะปัญหาทางด้านอาชญากรรมที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาทางสังคมที่เราคงไม่อยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน </p><p>การแก้ไขปัญหาจึงควรเป็นการแก้ไขทั้งในเชิงวิชาการ เชิงกระแส และเชิงนโยบาย ตลอดจนการสร้างความตระหนักในด้านจริยธรรมให้แก่คนในสังคม การแก้ปัญหาเปรียบเสมือนการต่อจิ๊กซอว์ร่วมกัน แต่ละจิ๊กซอว์ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น เราอาจเป็นเพียงแค่จุดเล็กๆ แต่ว่าจุดเล็กๆ นี้ คือ จุดสำคัญที่จะแผ่ขยายความร่วมมือ ความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์สังคมให้กลายเป็นสังคมน่าอยู่ พวกเรายังคงหวังต่อไป เพียงแต่การแก้ไขปัญหานั้นต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามพวกเราก็ยังไม่ละความพยายามเพื่อที่จะร่วมหาแนวทางที่เหมาะสม ภายใต้การทำงานอย่างตั้งใจของคณะทำงานภายใต้ชมรมจริยธรรมบนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สื่ออิเล็กทรอนิกส์)อย่าลืมว่าสังคมเราเต็มไปด้วยความแตกต่างของคน จริงอยู่จริยธรรมในสังคมสร้างยากแต่ถ้าเราไม่เริ่ม แล้วใครล่ะจะเริ่ม…? </p> <pre> ชมรมจริยธรรมบนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สื่ออิเล็กทรอนิกส์)</pre><p>ที่มา : http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/</p><hr width="100%" size="2" /><p> </p>
หมายเลขบันทึก: 76583เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
สำหรับผมแล้ว....  Camfrog  ไม่ใช่ตัวปัญหา...  แต่ตัวมันหาคือคนมากกว่า  เทคโนโลยีมีทั้งดีและโทษ...  คนมีสตินั้นใช้ในด้านดี...  คนเสียสติใช้ในด้านร้าย...  การพูดคุย (chat)  ด้วยโปรแกรมทุกโปรแกรมักมีพวกแอบแฝงเสมอ...  ไม่สามารถจับมือใครดมได้  อาจมีทั้งเด็กที่อยากเป็นผู้ใหญ่  หรือไม่ก็ผู้ใหญ่ทำตัวเป็นเด็ก...  ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับสติของตัวเอง... 
ขอบคุณข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ครับ และขอบคุณที่ทำให้รู้จักกับ

ประชาคมความรู้ NECTEC*PEDIA


http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php/Main_Page 

NECTEC*PEDIA ทำงานคล้าย WikiPedia แต่เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศไทยด้วย ICT โดยเฉพาะ สิ่งที่จะนำมาลงใน NECTEC*PEDIA ขอให้เป็นเรื่องที่ได้รับการกลั่นกรองมาแล้วพอควร ไม่ใช่เ้ป็นความเห็น หรือการพูดคุยสไตล์เว็บบอร์ด และไม่ใช่เป็นที่แสดงวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลในปริมาณมากเช่น Blog ซึ่งในกรณีเหล่านั้น ขอเชิญท่านสร้าง Blog ส่วนตัวของท่านได้ที่เว็บบริการ Blog อื่นๆ เช่น blogspot.com (ฝรั่ง) หรือ gotoknow.org (ไทย) ได้ตามสะดวก

เห็นด้วยกับคุณ ผู้ชาย... (ป้ายเหลือง) ไม่รู้ว่า คนไทยมีความสามารถใช้สิ่งที่มีประโยชน์ให้ไม่เกิดประโยชน์ได้เก่งกว่าชาติอื่นๆหรืออย่างไร ทั้งๆที่โปรแกรมและเทคโนโลยีต่างๆ สามารถที่จะใช้พัฒนาความรู้ ศักยภาพของตนให้เพิ่มสูงขึ้น แต่กลับทำตรงกันข้าม
ใช้งานอย่างไม่คุ้มค่ากับความสามารถของตัวโปรแกรมนั้นๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท