ร่างพรบ.ปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ตอนที่ ๑ นิยามตามมาตรา ๓


ร่างพรบ.นี้ออกมาเพื่อใช้ประกอบกับป.อ.มาตรา ๒๘๗ ซึ่งมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมถึงการกระทำบางอย่าง

เมื่อวันอังคารที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมาธิการว่าด้วยสื่อลามก

ในวันนี้มีการนำร่างร่างพรบ.ปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตรายเข้าประชุมเพื่อเตรียมเข้าสนช.ในวันรุ่งขึ้น

เนื้อหาของร่างพรบ.ปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตรายฯพูดถึงนิยามของ

"วัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย" หมายความว่าเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ เสียง วัสดุบันทึกเสียง วัสดุบันทึกภาพ วัสดุบันทึกของข้อมูล เสียงหรือถ้อยคำทางโทรศัพท์ ข้อมูล ข้อความ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในสื่อชนิดใดที่กระตุ้น ส่งเสริม หรือยั่วยุการกระทำดังต่อไปนี้

(๑) ให้มีการกระทำวิปริตทางเพศ

(๒) ให้มีการกระทำทางเพศกับเด็ก

(๓) ให้มีการฆ่าตัวตาย

(๔) ให้ใช้ยาเสพติด

พิจารณาจากประเภทของสื่อ จะเห็นได้ว่ารวมตั้งแต่สื่อกระดาษ เสียง ข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกซ์ และโทรศัพท์มือถือ รวมถึง ๑๙๐๐ ทั้งหมดที่มีปัญหา

"การกระทำวิปริตทางเพศ" หมายความว่า การกระทำที่กระทำระหว่างหรือโดยสื่อที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเพศ ดังต่อไปนี้

(๑) ระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

(๒) โดยใช้ความรุนแรง ถึงขนาดที่น่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือต่อร่างกายขนถึงขั้นบาดเจ็บสาหัส

(๓) โดยการบังคับขู่เข็ญหรือข่มขืน

(๔) การร่วมประเวณีระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้น และรวมถึงการร่วมประเวณีหมู่ด้วย

(๕) โดยร่วมเพศกับสัตว์หรือโดยชำเราศพ

"เด็ก" หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และรวมถึงตัวแสดงในวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตรายที่มีลักษณะทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นเด็ก

"การฆ่าตัวตาย" หมายความว่าความต้องการที่จะฆ่าตัวตาย การแสดงขั้นตอนในการฆ่าตัวตายและการลอกเลียนแบบการฆ่าตัวตายด้วย

"ยาเสพติด" หมายความว่า ยาเสถติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารระเหยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ ๓ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

"รัฐมนตรี" หมายความว่ารัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

พิจารณาถึงความวิปริตทางเพศ มีข้อความแตกต่างไปจากกฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่เคยประกาศใช้มาแล้วเช่น พรบ.ปราบปรามวัตถุยั่วยุ..พ.ศ.2471 ซึ่งยกเลิกโดยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287  แต่ข้อความในปอ.ม. 287 ก็มิได้ระบุถึง การกระทำวิปริตทางเพศ เลย ดังนั้นร่างพรบ.ฉบับนี้จึงมีความแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้บังคับอยู่แล้ว

ทำไมอนุกรรมาธิการจึงไม่เลือกใช้วิธีการแก้ไขปอ.มาตรา 287 แทนที่การออกเป็นพรบ.ฉบับใหม่

หมายเลขบันทึก: 76409เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตั้งคำถามสุดท้ายแล้ว จะตอบเองไหมคะ

ครูอ้อยไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้มาก่อน...พออ่านแล้ว..ก็รู้เรื่องขึ้นเยอะเลยค่ะ   ขอบคุณค่ะ

 

 ออกกฎมาแบบนี้ มันจะไม่ทำให้ดูแย่ไปหน่อยเหรอคับ

กฎหมายงี่เง้า ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน นึกว่าประชาชนทั้งประเทศจะโง่เหมือนพวกคุณเหรอ เอาเเต่"ห้ามๆๆๆๆๆๆ" ไม่เคารพสิทธิเสรีภาพประชาชนเลย

อันที่จริงกฎหมายตัวนี้เคยถูกเสนอเมื่อหลายปีก่อนแต่ก็ตกไป

ในความเห็นผมมีคำถามว่า "จะใช้แนวคิดอะไรในกฎหมายนี้" นะครับ

ผมค่อนข้างมีคำถามเยอะกับคำนิยามของคำว่า "การกระทำวิปริตทางเพศ"

ใน (๔) เนี่ยเห็นชัดๆเลยว่าเป็นแนวคิดอนุรักษ์นิยม เนื่องจากมันปฎิเสธคนที่มีรสนิยมทางเพศแบบนี้ เราต้องยอมรับความจริงนะครับว่ามีมนุษย์ที่นิยมมีเซ็กหมู่มันก็มี ในบางสังคมมันเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับได้ด้วยซ้ำ (ยังนึกตัวอย่างไม่ออกนะครับ) แต่ถ้าจะเอาแนวคิดเรื่องสุขอนามัยของประชาชนเข้ามาอธิบาย ก็ควรไปออกเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสุขภาพดีไหม? ถ้าจะ Orgy กันต้องป้องกันนะ อะไรแบบนี้เป็นต้น

ใน (๕) นี่เป็นอะไรที่ไม่ไม่สมเหตุสมผลที่สุด คือถ้าบัญญัติแบบนี้คือต้องกลับไปไล่แบนวรรณคดีไทยให้หมดเลยนะครับ พระอภัยมณี พระสุธน-มโนรา ฯลฯ ซึ่งมันจะตลกมากๆเลยนะครับ

ผมอยากเสนอนะครับว่า เรากลับไปดูกฎหมายอาญาที่มีอยู่แล้วไหม ฐานความผิดที่มีอยู่แล้วเราจะมานิยามมันให้มันเหมาะสมกับสภาพสังคมได้ไหม ซึ่งผมมองว่าที่น่าจะต้องแก้ที่สุดคือ "การรวมศูนย์อำนาจการตีความกฎหมายไว้ที่สถาบันตุลาการ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท