บทเรียนจากการเป็น "นายหนัง"


อยู่กันแบบพี่แบบน้องมากกว่าที่จะเป็น "นายหัว" กับ "ลูกน้อง"

          ตอนที่เรียนอยู่ชั้น  ม. 4  ในรายวิชาภาษาไทย มีเรื่อง แข่งหนังตะลุง  ซึ่งเมื่อพูดถึงหนังตะลุง  เป็นมหรสพที่ขึ้นชื่อใน ทางภาคใต้  อาจารย์ที่สอนหานักเรียนที่มีแววในการเป็น "นายหนัง" (คนเชิด และพากย์) หนังตะลุง  ผมได้สมัครเข้าแข่งด้วยทั้งหมดแข่งกัน  5  คน ผมได้เข้าเป็นนายหนัง ส่วนคนที่เหลือ ก็ต้องมาเป็นลูกคู่ (คนเล่นดนตรีหนังตะลุง) ผมดีใจมากแต่ยังคร้ามๆ อยู่เพราะไม่รู้ว่า พ่อจะว่าอย่างไร

           กลับถึงบ้านผมเล่าให้พ่อฟัง ปรากฎว่าพ่อชอบมาก ส่งเสริม และสนับสนุนทุกอย่าง พาไปแนะนำให้ผมรู้จักกับ "นายหนัง" ในละแวกนั้น ซึ่งผมก็ได้คำแนะนำจากนายหนังหลายคณะ  เพราะพ่อชอบมาก  ผมเล่นหนังตะลุงได้ตอนผมอายุ 16 ปีกว่าๆ 

           หนังตะลุงสอนอะไรผมเยอะแยะ  ในการ "พาโรง" หมายถึง การที่เราต้องบริหารงานให้คณะหนังอยู่ได้ด้วยดี ผู้ที่อยู่กับเรา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผุู้มีอายุ แต่เราก็ทำงานร่วมกันได้   (อาจเป็นเพราะเขาสงสารผมที่ยังเป็นเด็กก็ได้)  แต่ทุกครั้งที่ผมออกแสดงทุกอย่างผมไม่เคยปล่อยให้คนที่เป็นลูกน้อง ทำตามลำพัง  สิ่งใหนที่ผมทำได้ผมจะช่วยเขาทำทุกอย่าง...  ซึ่งสิ่งที่ทำมันก็เกิดทักษะความรู้กับเรา   ถ้าถามว่าเวลา "ขึงจอหนัง" จะผูกเชือกเส้นใดก่อน  หากเราไม่ทำก็คงจะไม่รู้หรอกว่า  "เส้นดูก" ของจอจะต้องผูกให้ตึงก่อนเส้นอื่น เพื่อที่จะให้จอหนังตรง ได้ฉาก  นอกจากนั้นสิ่งที่รู้ก็คือความเอื้ออาทร  เงินที่ได้จากการแสดง ผมจะจ่ายให้กับ "ลูกคู่" ในลักษณะของการแบ่งกันใช้ไม่ใช่จ่าย แบบค่าจ้าง  ทุกคนก็รับส่วนแบ่งด้วยความเต็มใจเรา อยู่กัน แบบพี่น้องมากกว่าที่จะเป็น  "นายหัว" กับ "ลูกน้อง"

            พ่อบอกว่า "ลูกคู่" หนังที่จะอยู่จำโรง (อยู่ประจำกับเรา) หายากต้องทำให้เขาอยู่กับเราให้ได้  วิธีการที่ผมใช้ไม่มีคนใดปฏิเสธ ไม่เคยมี "ลูกคู่"  คนใหนไปกับหนังคณะอื่น ทั้งที่เป็นหนังที่มี ชื่อเสียงแล้วก็ตาม... สิ่งที่ผมได้จากพ่อก็คือ ความรัก ความจริงใจ ต่อกัน  การเอื้อเฟื้อ  แบ่งปัน  การไม่มองเห็นประโยชน์ส่วนตน  การรู้จักแบ่งเบาภาระตามแต่จะทำได้ 

           แม้ตอนน้ีผมจะไม่ได้เล่นหนังตะลุง(โอกาสไม่เอื้ออำนวย)  อยู่ไกลห่างจากบ้านเกิด แต่ผมก็ยังรัก และเป็นห่วงทุกคนที่เคย ร่วมงานกับผม  หลวงคริ มือกลอง  หลวงแดงมือปี่  พี่นงค์มือทับ  หลวงจำมือโหม่ง  พี่เจ้าเหวียนมือไวโอลิน  เมื่อผมมีโอกาส กลับบ้านที่สงขลา ผมไปเยี่ยมทุกคนและทุกคนก็ยังคงเป็น "ลูกคู่" หนังตะลุง ด้วยความรักและหวงแหนมรดกอันล้ำค่าบองบรรพบรุษ...

                 หนังตะลุงปักษ์ใต้  หนังตะลุงของเรา
 

 

คำสำคัญ (Tags): #พ่อของแผ่นดิน
หมายเลขบันทึก: 76371เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 04:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ดิฉันไม่เคยดูหนังตะลุงแบบแสดงสดเลยค่ะ เคยดูแต่ในหนังอีกที  หรืออ่านในหนังสือเท่านั้นค่ะ   อยากดูการแสดงสดเหมือนกันนะคะ  แต่ก็ไม่รู้จะหาดูได้ที่ไหนเพราะตอนนี้อยู่ที่อีสาน
  • เป็นวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านของชาวใต้ที่เราควรจะรณรงค์ไม่ให้สูญหายไปไหนนะคะ
  • ดีใจนะคะ ทีได้รู้จักกับนายหนังค่ะ

เรียน...คุณอ้อ-สุชานาถ

  • คิดว่าหนังตะลุงคงจะอยู่คู่ภาคใต้ของไทยไป อีกนานครับ ... ปัจจุบันน้ีมีการส่งเสริมให้เด็กๆ ในโรงเรียนช่วยกันอนุรักษ์ไว้ครับ...
  • หากมีโอกาสลองมาเที่ยวนครศรีธรรมราชซิครับ  โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสารทเดือนสิบ (ประมาณเดือนกันยายน) มีหนังตะลุงให้ชมในงานทุกคืนเลยครับ...
  • ขอบคุณครับ...ที่เข้ามา  ลปรร
                                   ครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ
มีโอกาสพบกันเมื่อใด  อย่าลืมว่าบทหนังให้ฟังสดๆ  มั่งนะครับ

เจริญพร นายหนัง

เพิ่งมาเจอนายหนังในบล็อก กำลังจะทำวิจัยเรื่องนี้

http://gotoknow.org/blog/talung 

จะทำวิจัยเรื่องแนวคิดปรัชญาในหนังตะลุง แต่ยังสร้างกรอบความคิดและหัวข้อชัดเจนไม่ได้

ขอเชิญคุณครูนายหนังเข้าไปแวะชม และเสนอความเห็นบ้างตามโอกาส

เจริญพร 

 

  • ไม่เคยได้ดูแบบสดๆ  เคยได้อ่านบ้างในหนังสือ
  • ครูราญน่าจะลองออกแบบให้เป็นสื่อการเรียนรู้ อีกแบบหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจ นะครับ

เรียน...อาจารย์เม็กดำ 1

        ขอบพระคุณมากครับที่ให้แนวคิดดีๆ  ผมเพ่ิงมองออกว่าจะใช้แนวคิดของอาจารย์ นำไปใช้เป็นสื่อนวัตกรรมตัวหนึ่ง ที่จะใช้อธิบาย เนื้อหาเรื่องราวที่ชาวบ้านเข้าใจยากเพราะนับวันจะมีคนประดิษฐ์ศัพท์ คำพูดแปลกๆ มามาก จนชาวบ้านตามไม่ทัน ผมคิดว่าจะใช้ตัวตลกตะลุง  ซึ่งใช้ภาษาถิ่นใต้  มาเป็นตัวอธิบาย เนื้อหายากดังกล่าว  และคิดว่า  ถ้าได้สื่อสารผ่านตัวตลกตะลุงแล้ว นอกจากความสนุกสนาน ก็ยังได้ทำความเข้าในเนื้อหาไปพร้อมๆ กันด้วย...

  • ขอบพระคุณอีกครั้งครับ...ที่ทำให้ผมเกิด ไอเดีย น้ีขึ้นมา
  • ขอบคุณ G2K  ที่ได้สร้างเวที  ลปรร  ให้คนอยากรู้อยากเรียน
                      ครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท