Emergent: ตัวอย่างระบบ (1) - สติสัมปชัญญะ


ตัวอย่างทางจิตวิทยา

สติสัมปชัญญะ ในทัศนะของทางตะวันออก เป็นที่ยอมรับกับโดยพื้นฐานว่า มีระดับความลึกตื้นต่าง ๆ ที่เหล่าโยคีฝึกฝนกันมาตั้งแต่ยุคก่อนพุทธกาลแล้ว

ในทัศนะของโลกตะวันตก ก็มีนักจิตวิทยาให้ความสนใจไม่น้อย ดังเล่าไว้ในงานเขียนของ โรเบิร์ต ออร์นสไตน์ (Robert Ornstein) ชื่อ "The Psychology of Consciousness" ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เรื่องนี้มีความลึกลับ ลุ่มลึก แฝงอยู่มาก ซึ่งเป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก เพราะแม้พยายามอิงกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แต่วิธีการเขียน มีลูกหยอดแพรวพราว

คำนี้ ภาษาอังกฤษหาคำแปลตรง ๆ ยาก

สติ-สัมปชัญญะ เวลาใช้คู่กัน ใช้ awareness + consciousness คิดว่า คงพอจะเป็นคำแปลที่คงพอเทียบเคียงกันได้

ยกมาเป็นกรณีตัวอย่างแรก ที่เราคุ้น

คุ้นกับคำ คุ้นกับความหมาย

แต่เพราะความคุ้น เราจึงสูญเสียสมรรถนะในการ "รู้สึกพิศวง"

เราสูญเสียความรู้สึกดื่มด่ำของการได้หายใจ ของการได้ดื่มน้ำ และของการได้ตระหนักถึงการดำรงสติสัมปชัญญะ  การได้ตระหนักถึงการดำรงอยู่

ความรู้สึกพิศวงอย่างลึกซึ้ง หากยังเหลืออยู่บ้างในสังคม ก็อาจต้องไปมองหาในแววตาของเด็กนอยที่ยังไร้เดียงสาดอกกระมัง 

เป็นความรู้สึกที่อ่อนจางกระไรปานนั้น ่เบาบางกระไรปานนั้น แต่เกือบจะเป็นเนื้อหาหลักของชีวิตด้านในก็ว่าได้

สติสัมปชัญญะ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการผุดบังเกิด ที่ทำให้เกิดการตระหนักว่า "เราเป็น เป็นเรา และเราคือประจักษ์พยาน"

 

หมายเลขบันทึก: 76321เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท