การใช้สารพิษ ความรู้ที่เป็นพิษ และเทคโนโลยีที่เป็นพิษ


การสนับสนุนการใช้ความรู้ที่ “เป็นพิษ” จึงทำให้เรากำลังใช้ “ความเป็นพิษ” อย่าง “เมามัน” ขาดความยั้งคิด ขาดความรู้ หรือ ไม่มีเวลาที่จะคิด ไม่คิดที่จะเรียนรู้ คิดแต่จะรับรู้ เอาแต่ความรู้ที่เป็นพิษ ไปใช้อย่างรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในปัจจุบัน เรากำลังมีปัญหาวิกฤติการขาดความรู้ที่ถูกต้อง แม้ความรู้และภูมิปัญญาเดิมที่เคยเป็นประโยชน์ ก็ยังกลับกลายเป็นโทษไปก็มี</p><p>  ในอดีต เรายกย่องการตัดไม้ ถางป่า ที่สามารถเปลี่ยนแปลง ระบบป่าไม้ ที่เป็น พิษ ในยุคอดีต เช่น ไข้ป่า สัตว์ร้ายต่างๆ และความห่างไกลจากความเจริญ มาเป็น สิ่งที่สะดวก ต่อการทำงาน และ ทรัพยากร ในการผลิตอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม ได้มากขึ้น   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่เมื่อเราใช้ภูมิปัญญาเรื่องนี้ผสมเข้ากับเทคโนโลยี และความรู้จากโลกตะวันตกในเขตอบอุ่น เราก็ทำให้ระบบนิเวศถึงแก่กาล ล่มสลาย ได้ในระยะเวลาอันสั้น เพียงไม่เกิน ๕๐ ปี จากความ อุดมสมบูรณ์ กลายเป็นความ เสื่อมโทรม ทีทำให้เราต้องดิ้นรนหา เทคโนโลยี ต่างๆมาแก้ไข แต่ก็เห็นมีแต่ซ้ำเติมให้หนักมากขึ้นไปอีก ตลอดเวลา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การดิ้นรนของเราและเกษตรกรก็ไม่คลาดสายตาของผู้หวังดี แต่ประสงค์ร้าย อย่างนักธุรกิจที่ค้าขาย สารพิษ และ เทคโนโลยีที่เป็นพิษ รวมทั้งการกระพือโหมของภาคราชการในการสนับสนุนการใช้ความรู้ที่ เป็นพิษ จึงทำให้เรากำลังใช้ ความเป็นพิษ อย่าง เมามัน ขาดความยั้งคิด ขาดความรู้ หรือ ไม่มีเวลาที่จะคิด ไม่คิดที่จะเรียนรู้ คิดแต่จะรับรู้ เอาแต่ความรู้ที่เป็นพิษ ไปใช้อย่างรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนการเสพ ยาบ้า ที่ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนร่างกายทนไม่ไหว แล้วก็ปล่อยให้แตกดับไปตามครรลอง ของระบบการใช้สารพิษ และความรู้ที่เป็นพิษ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เมื่อฤดูฝนที่แล้ว มีโศกนาฏกรรม ที่อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา พ่อจันทร์ทีประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้านแห่งเมืองย่าโม ได้เล่าให้ผมฟังว่า มีการใช้ยาคุมหญ้าในแปลงนาหว่าน แต่บังเอิญฝนตกหนักท่วมเมล็ดข้าวตายหมด เจ้าของนาก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนเป็นนาดำทันที โดยการไปขอกล้าญาติพี่น้องมาดำนาที่ขังน้ำนั้นในวันรุ่งขึ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผลปรากฏว่ามีญาติไปช่วยดำนา ๕ คน กับแรงงานในครัวเรือนอีก ๓</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">พอดำไปได้สักพัก คนที่ดำนาก็มีอาการแพ้ยา แล้วไปนอนพักที่กระท่อม (เถียงนา) แล้วตายไป ๒ ที่เหลือไปตายที่โรงพยาบาลอีก ๕ หมดกันทั้งกลุ่ม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่คนฟังหรือรู้ก็ยังคิดว่า คนทั้ง ๘ ที่ตายด้วยสารพิษนั้น ไม่ฉลาด ใช้ไม่เป็น ก็เลยต้องสังเวยชีวิตไป</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แล้วคนที่ไม่ตายทันทีแบบนั้นล่ะ เขาจะจับปลาแถวๆนาที่สะสมสารพิษ แต่ยังไม่ตายไปรับประทานกันหรือไม่ หรือข้าวที่เขาปลูกเพื่อบริโภคเหลือขาย จะดูดซับเอาสารพิษไปไว้ในข้าว มากน้อยเพียงไร</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมเคยไปสัมภาษณ์เกษตรกรที่ทำนาปีละ ๓ ครั้ง เขตภาคเหนือตอนล่าง ผมถามเขาว่า การที่เขาใช้สารพิษมากๆในการปลูกข้าวนั้นเขาไม่กลัวหรือ เขาตอบว่า เขาจะไม่ทานข้าวที่เขาปลูกเอง แต่จะขายทั้งหมด ผมถามต่อว่า แล้วเอาข้าวที่ไหนทาน เขาบอกว่า ซื้อมาจากตลาด ผมก็ถามต่อว่า แล้วทำไมไม่กลัวข้าวที่มาจากตลาด เขาบอกว่า สารพิษที่ใช้คงจะจางๆไปแล้ว ไม่น่าจะเป็นพิษมากเหมือนข้าวที่เขาปลูกขายเอง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ ว่าทำไมเขาคิดเช่นนั้น เขาขี้เกียจ หรือเขาไม่มีทางออกจริงๆ หรือเขากำลังทนอยู่กับความรู้ที่เป็นพิษกันแน่</p>  ฟังแล้วเศร้าๆทั้งนั้นเลยครับ กับความรู้ที่เป็นพิษ เทคโนโลยีที่เป็นพิษ และสารพิษในระบบชีวิตเรา <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เมื่อไหร่เราจะหนีได้ หรือ แม้แต่ตายก็ยังต้องเผชิญ ความเป็นพิษ ต่อไปเช่นเดิม</p>  เฮ้อ………เหนื่อย จริงๆ

หมายเลขบันทึก: 76319เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • ปัจจุบันนี้ สถิติเป็นมะเร็งตายของคนไทย ขึ้นแท่นอันดับ 1 แล้ว แซงโรงเรื้อรังอื่นหมด
  • ปีที่แล้ว โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งมองตลาดออก เปิดโรงพยาบาลสำหรับรักษามเร็งโดยเฉพาะ ถ้าเข้าใจไม่ผิด แห่งที่สอง-สาม คงรอคิวไม่ไกล...
  • ถ้ามองด้วยแนวคิดสถิติ ปรากฎการณ์ที่เกิดแบบเพิ่มต่อเนื่องแบบนี้ จะถือว่า "ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ"
  • คนในสังคมกำลังสนุกกับการละเล่น "สงกรานต์มะเร็ง" ครับ
  • "ฉันสาดให้เธอ เห็นไหม ฉันไม่เปียก...."
  • "ที่ฉันต้องทำดังนี้ เพราะฉันหาเงินไว้รักษามะเร็งที่เธอทำกับฉัน..."

 

 

คุณวิบูลครับ

ผมอยากเห็นนโยบายสาธารณะที่จะมาหยุดความเลวร้ายอันนี้ครับ

ไม่ทราบชาตินี้จะมีโอกาสเห็นไหมครับ

สวัสดีครับอาจารย์และทุกท่านที่เคารพ

ปัจจุบันคนมีความรู้ก็มากโขนะครับ แต่ว่าไม่รู้จักใช้ความรู้ที่มีก่อให้เกิดประโยชน์ในสังคม บ้างก็จบนอก บ้างก็จบใน แต่แล้วล้วนก็เป็นทาสของอำนาจของเงินแทบทั้งสิ้น ความรู้ที่มีก็ถูกจำกัดด้วยเงินตรา ซึ่งมองดูแล้วประเทศคงพัฒนาได้ยาก เมื่อความเจริญทางด้านวัตถุมีอำนาจเหนือความรู้ที่มี

ที่ผมกล่าวไปเช่นนั้นผมไม่ได้เหมารวมนะครับ ผมหมายถึงกลุ่มคนบางส่วน คนดีที่ตั้งใจทำงานเพื่อสังคมก็มีให้เห็นมากมาย

ขอเป็นกำลังใจให้สำหรับนักวิชาการ และชาว gotoknow ทุกท่านนะครับ

ชี้แนะเพิ่มเติมที่ [email protected] ( นศ.มข.เด็กเหลาดินสอไม้

คนเหลาดินสอ

คุณกำลังจะพูดว่าเงินสำคัญกว่าความรู้ หรือ ความรู้ถูกควบคุมด้วยเงิน หรือความรู้ไม่สำคัญ เงินสำคัญกว่ากันแน่ครับ

ตรงนี้เป็นประเด็นที่เราต้องเคลียร์ในระดับนโยบายครับ

 เรียน อาจารย์ ดร.แสวง   รวยสูงเนิน

  • ฟังแล้วน่าเศร้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนะครับอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ ไม่ว่าจะเป็นขาดความรู้ ความมักง่าย หรือเพื่อต้องการความสะดวกสบาย จึงเป็นความผิดพลาดที่น่าจะเป็นบทเรียนที่ดี สำหรับพี่น้องเกษตรกร ที่จะต้องตระหนักให้มากขึ้นในการประกอบอาชีพการเกษตรของตนเอง
  • การผลิต และการขายผลิตผลที่เป็นพิษ จึงเป็นบาปอย่างมหันสำหรับผู้กระทำ ถึงแม้ผู้บริโภคจะไม่ตายทันที แต่จะเป็นการตายผ่อนส่ง จึงไม่ควรทำอย่างยิ่ง ในฐานะที่เราเป็นนักวิชาการจะทำอย่างไรดีจึงจะสร้างความตระหนักให้กับพี่น้องเกษตรกรได้เห็นความสำคัญของโทษ ภัยที่จะเกิดขึ้นให้จงได้
  • การจัดการความรู้ น่าจะเป็นทางออกหนึ่งที่น่าจะช่วยให้เกษตรกรได้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของกระบวนการผลิตที่เอื้อต่อตนเอง ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะนำพาสู่การผลิตที่ยั่งยืน เพราะการที่จะอาศัยหน่วยงานของรัฐที่จะเอาจริงเอาจังในเรื่องของการห้ามนำเข้าสารเคมีคงลำบากครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

     เล่าฮู กำลังจะบอกว่า แม้แต่นโยบายก็เป็นพิษ ว่างงั้นเถอะ ก่อนจะลงมือร่างเรื่องนี้เสนอระดับนโยบาย อาจจะต้องหาวิธีตีปี๊บให้เกิดแนวร่วม เกิดกระแส ตรงนี้ก่อน

    เสนอ ผ่าน นสพ.ดีไหมครับ เอามติชน หรือกรุงเทพธุรกิจ ขอเสนอเม็กดำ1 ให้เอาเรื่องนี้ลงในวารสาร สกว. ด้วย ยังทันลงในเดือนนี้ใช่ไหม 

     ตอนนี้เราต้องเรียนวิชา "โพทะนาศาสตร์" กันแล้วละครับ

    เวลาพูดถึงสารพิษ คงต้องมองเป็นสองกลุ่มครับ

    กลุ่มแรก พิษต่อคน ก็คือการใช้สารเคมี แบบนี้ตรงไปตรงมา 

    กลุ่มที่สอง พิษต่อระบบนิเวศ คือการใช้ยาปฎิชีวนะ  ผมเองตั้งข้อสงสัยว่าการดื้อยาที่แพร่หลาย อาจเป็นเพียงปลายยอดของภูเขาน้ำแข็งของปัญหาที่รอวันปะทุอันเป็นผลจากการไม่บันยะบันยังในการใช้เลี้ยงสัตว์...

    ครูบาครับ

    ผมจำได้ว่า "นโยบายสาธารณะ" จะทำเรื่องนี้

    แต่ผมไมทราบว่าไปถึงไหนแล้ว

    หรือมีใครสนใจจริงๆบ้าง

    น่ากลัวจังครับ  ถ้าอนาคตยังไม่มีการแก้ปัญหาความรู้ที่เป็นพิษนี้  งั้นประเทศ  และคนในประเทศก็แย่สิครับ  (น่ากลัวจริง ๆ )

     

     

    ครับ

    ผมว่า เราไม่กลัวสารพิกันเลยนะครับ

    เขาอาจคิดว่ากินสารพิษ ดีกว่าไม่มีอะไรกินมั้งครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท