นาขอบเหล็ก: ทางตันที่ต้องผ่าของทรัพยากรที่ดินที่จำกัด


ลักษณะของ “นาขอบเหล็ก” ที่ทั้งขยายไม่ได้เพราะถูกตีกรอบล้อมด้วยนาของคนอื่นที่เกิดจากการแบ่งที่ดินทำกิน (Land fragmentation) และยังไม่มีป่าหัวนา และร่องน้ำหางนาที่เป็นระบบธรรมชาติ

วันนี้(๔ กพ ๕๐) ผมได้ไปประชุมร่วมกับกลุ่มเกษตรกรทำงานภายใต้โครงการ ฟื้นฟูต้นทุนชีวิต ของ หญิงเหล็ก ศิริลัคนา เปี่ยมศิริ ที่บ้านชะโนดน้อย อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ที่มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างครบถ้วน เกือบร้อยคน และผมก็ได้นำเสนอการจัดการความรู้เรื่อง วิธีการผลิตข้าวโดยการไม่ไถ ทั้งเพื่อการลดต้นทุนการผลิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมในดินโดยการไม่ทำลายดิน

  

นอกจากนี้ จากการพูดคุย ผมได้มีโอกาสสัมผัสความรู้สึกที่ชาวบ้านอึดอัดกับระบบทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงไปมาก และจำกัดการพัฒนาตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของเขา ที่ใช้ระบบการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ แต่ปัจจุบันนั้นใช้วิธีเดิมไม่ได้อีกแล้ว

อันเนื่องมาจากลักษณะของ นาขอบเหล็ก ที่ทั้งขยายไม่ได้เพราะถูกตีกรอบล้อมด้วยนาของคนอื่นที่เกิดจากการแบ่งที่ดินทำกิน (Land fragmentation)  และยังไม่มีป่าหัวนา และร่องน้ำหางนาที่เป็นระบบธรรมชาติที่เคยมี

  

คำพูดที่ขมขื่นที่สะท้อนมาในนามของ นาขอบเหล็ก แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาการพึ่งพาธรรมชาติที่เคยมี และทำไม่ได้อีกแล้ว เช่น

 

·        มีการสูญหายไปของป่าไม้หัวนาที่เป็นแหล่งต้นน้ำ ธาตุอาหาร อินทรียวัตถุ และทรัพยากรสนับสนุนอื่นๆ

 

·        ขาดการเชื่อมโยงกับแหล่งน้ำที่ไหลมาจากที่อื่น

  

จึงทำให้ นาขอบเหล็ก ต้องได้รับการดูแลมาก จึงจะให้ผลผลิตได้

 

ในประเด็นนี้ ถ้ามองในเชิงวิชาการแล้ว ชาวบ้านจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนภูมิปัญญาให้มาเกิดขึ้นในพื้นที่ตนเอง ทั้งระบบต้นไม้ ที่อาจจำเป็นต้องปลูกขึ้นมาในแปลงตนเอง ทดแทนสิ่งที่สูญหายไป และอาจต้องยอมเสียพื้นที่ทั้งเพื่อการปลูกต้นไม้และแหล่งน้ำ ในพื้นที่ของตนเอง จึงจะทำให้เพิ่มระดับความสามารถในการพึ่งตนเองได้มากขึ้น ในรูปแบบที่เคยมีมาในอดีต

  

แต่แนวทางนี้ก็ยังถูกบีบคั้นด้วยความจำเป็นที่จะต้องผลิตให้มากขึ้นในพื้นที่ที่ลดลง

  

ดังนั้นการทำการเกษตรประณีต เชิงอนุรักษ์จึงเป็นยุทธวิธีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เกษตรกรจะต้องมาปรับตัวใหม่โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ ที่ต้องค้นหาว่า

 

·        พืชชนิดใดที่สามารถปลูกทดแทนไม้ป่าดั้งเดิม และสามารถใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรได้ด้วย

 

·        การจัดการแหล่งน้ำในไร่นาแบบใด ที่จะช่วยลดผลเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ และเสียพื้นที่นา สวน น้อยที่สุด หรือใช้ประโยชน์ไดมากที่สุด

  

การจัดการแบบนี้ก็จะช่วยให้ลดปัญหาขีดจำกัดของ นาขอบเหล็ก แต่กลับทำให้นาเป็นระบบที่พึ่งตัวเองได้เช่นเดิม ภายใต้ชุดความรู้ใหม่ที่ทดแทนของเก่า ที่ใช้ไม่ได้อีกต่อไป

  ประเด็นนี้ต้องได้รับความสนใจทั้งในเชิงวิชาการ และเชิงนโยบาย จึงจะทำให้งานนี้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
หมายเลขบันทึก: 76298เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2007 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครูบาครับ 

นาขอบเหล็ก คือนาที่ไม่สามารถขยายไม่ได้อีกแล้ว

เพราะ

  • ถูกตีกรอบล้อมด้วยนาของคนอื่นที่เกิดจากการแบ่งที่ดินทำกิน 
  • ไม่มีป่าหัวนา
  • ไม่มีร่องน้ำหางนา

 ชาวบ้านต้องจัดการและใช้ความรู้มากกว่าเดิมครับ จึงจะอยู่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท