ทำไมมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นจึงพัฒนาหลักสูตรเพื่อ Lifelong Learning


สาเหตุของการที่มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นทั้งรัฐและเอกชนได้พัฒนาหลักสูตรต่างๆ สำหรับบุคคลภายนอกนั้น มีดังนี้ค่ะ

จากการเดินทางไป University of the Ryukyus เมือง Okinawa ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 27-30 มกราคม 2550 เพื่อไปศึกษาดูงานด้าน Lifelong Learning นั้น ทีมงานประกอบด้วย ผอ. JJ และรองผอ. (อ.เทอดศักดิ์ อ.ภาวดี และ อ.สุรเชษฐ์) โดยมีผู้ขอติดตามเป็นบุคลากรศูนย์บริการวิชาการ 2 ท่าน และบุตรสาวท่านรอง ผอ.เทอดศักดิ์

  <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ในวันที่ 29 มกราคม 2550 เราได้พบกับผู้อำนวยการ Lifelong Learning Center ของมหาวิทยาลัยริวกิว และทีมงาน ซึ่งท่านได้ ลปรร ให้เราทราบว่า </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p> สาเหตุของการที่มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นทั้งรัฐและเอกชนได้พัฒนาหลักสูตรต่างๆ สำหรับบุคคลภายนอกนั้น มีดังนี้ค่ะ</p><p>1.     จำนวนประชากรที่เป็นนักเรียน ม.ปลาย ซึ่งจะเข้ามหาวิทยาลัยมีจำนวนลดลง (อันเนื่องมาจากการมีลูกน้อยของชาวญี่ปุ่น) ซึ่งในปี 2550 นี้จำนวนนักเรียน ม.ปลาย กับจำนวนที่มหาวิทยาลัยจะรับเข้าศึกษาต่อ มีจำนวนเท่ากัน ส่วนในปีหน้าจำนวนนักเรียน ม.ปลายจะน้อยกว่าจำนวนรับเข้า ฉะนั้นอาจทำให้บางมหาวิทยาลัยต้องปิดตัวหากไม่เปลี่ยนแปลง หรือเปิดหลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไปที่ยังอยากจะศึกษาเรียนรู้</p><p>2.     มีบัณฑิตส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบทำงานชอบอยู่แต่บ้าน เก็บตัว ไม่สังคมกับผู้คน เมื่อจบมานานๆ ความรู้ความเชี่ยวชาญก็พลอยหมดไป จึงจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนเหล่านี้ให้สามารถทำงานได้</p><p>3.     แนวคิดการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรของบริษัทต่างๆในญี่ปุ่นเปลี่ยนไป…เป็นให้พนักงานพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อการทำงาน…แต่ยังอาจมีบางบริษัทใหญ่ที่ยังคงจัดการอบรมพนักงานเอง</p><p>4.     ในปี 2550 ประชากรที่เกิดในช่วง Baby boom (คือช่วงหลังสงครามโลก รัฐบาลเร่งการผลิตพลเมือง จึงมีคนเกิดหลังสงครามโลก 2-3 ปี เป็นจำนวนมากจึงเรียก Baby boom) จะเกษียณ ดังนั้นหากอยากพัฒนาตนเองเพื่อการเปลี่ยนงาน หรือประกอบอาชีพส่วนตัว ก็จะสามารถทำได้ </p><p>ลักษณะของหลักสูตรมี 2 ประเภท คือ</p><p>1.     แบบทั่วไป สำหรับคนที่อยากเรียนรู้ อยากศึกษาเรื่องที่สนใจ</p><p>2.     แบบฝึกอาชีพ สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาและฝึกความเชี่ยวชาญในงานอาชีพของตนเอง</p><p>และมีแบบพิเศษ คือเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเมืองโอกินาวา พร้อมกับการท่องเที่ยว </p><p>จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น ซึ่งรวมแล้วไม่น้อยกว่า 10,000 หลักสูตร ทั่วประเทศ </p><p>ท่านคิดว่าเราน่าจะมีหลักสูตรอะไรบ้าง หรือหลักสูตรที่ท่านอยากเรียนเพิ่มเติมเป็น คอร์สสั้นๆ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต </p>

คำสำคัญ (Tags): #lifelong#learning#kku
หมายเลขบันทึก: 76181เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2007 02:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณ    paew

  • หลักสูตร แบบนี้  คงจะคล้ายๆกับ  หลักสูตรท้องถิ่นในบ้านเรานะคะ  ที่ส่งเสริมให้นักเรียนรักภูมิปัญญาท้องถิ่น  เรียนรู้สิ่งใกล้ตัว  สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ  รู้จักสภาพปัญหาและการแก้ไข..สำหรับในโรงเรียนประถม  คงจะเพียงเท่านี้ค่ะ
  • เพราะหลักสูตรนี้  นักเรียนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตจริงๆ  เพราะเป็นชีวิตและสังคมของพวกเขาค่ะ

ขอบคุณค่ะ..ไปแบบนี้คงจะสนุกและเหนื่อยนะคะ

เรียนท่านอาจารย์แป๋ว

ผมขอเทียบข้อ 2 ที่ว่า มีบัณฑิตส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบทำงานชอบอยู่แต่บ้าน เก็บตัว ไม่สังคมกับผู้คน เมื่อจบมานานๆ ความรู้ความเชี่ยวชาญก็พลอยหมด ก็ไม่ต่างกับการได้งานที่ไม่ตรงสาขากับที่เรียนมา ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้เกิดขึ้นมากในภาวะงานที่มีน้อยกับจำนวนผู้จบ "เลือกงานไม่ได้" จ.บริหารงานทั่วไป

ดังนี้ต้องมีช่องทางที่จะให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องครับ

ด้วยความเคารพครับ

  • คงเป็นหลักสูตรการพัฒนาทักษะชีวิตครับ
  • คาดว่าผู้เข้าอบรมน่าจะได้ประโยชน์มาก
  • ขอบคุณครับ
ขอบคุณ ครูอ้อย P คุณกัมปนาท อาชา (แจ๊ค)  
P และ อ.ขจิต P มากค่ะ เป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรที่ดีมากค่ะ ได้แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรด้วยค่ะ
  • พอจะมีข้อมูลบ้างหรือเปล่าครับว่าที่ญี่ปุ่น มีมหาวิทยาลัยเยอะเหมือนประเทศไทย หรือเปล่า
  • แต่ละคณะเปิดสอนหลักสูตรหลากหลาย หรือไม่
  • ผมเคยไปญี่ปุ่นแต่ไม่มีโอกาสท่องแวะ เพราะเป็นการพักเครื่องเพื่อนั่งต่อไปยังอเมริกา  แต่เท่าที่ดู ๆ  สิ้นค้าแพงทุกชนิดเลย
  • แต่สำหรับบันทึกนี้ผมก็ชื่นชมนะครับเกี่ยวกับแนวคิดหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ซึ่งถือว่าสำคัญและจำเป็น  เนื่องจากผมเชื่อว่า  การศึกษา คือ กระบวนบ่มเพาะศักยภาพของมนุษย์ และการศึกษาคือรากฐานของการสร้างวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เข้มแข็ง...
  • ขอบคุณครับ

 

  • เฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐบาลซึ่งขณะนี้ถูกบังคับให้ออกนอกระบบเป็น ม.ในกำกับกันหมดแล้วนะค่ะ มี 100 กว่า มหาวิทยาลัยค่ะ
  •  มีมหาวทิยาลัยที่สังกัดรัฐบาลท้องถิ่นด้วยค่ะ ประมาณว่าอยู่ภายใต้การดูและและสนับสนุนงบประมาณของ อบจ. ค่ะ
  • สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนมีมากกว่า ม.รัฐบาลอีกค่ะ รวมแล้วหลายร้อยค่ะ มีหลายระดับและหลายประเภทด้วยค่ะ
  • ประชากรของญี่ปุ่น ร้อยกว่าล้าน น่าจะประมาณ 130 ล้านคน ค่ะ ถ้าจำไม่ผิด
  • แต่ตอนนี้สัดส่วนผู้สูงอายุเยอะค่ะ ทำให้เกิดปัญหาเพราะมีคนในวัยทำงานน้อย และต้องแบกรับภาระส่วนนี้
  • และคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้สู้งานเหมือนคนรุ่นเก่าที่ทุ่มกายใจพัฒนาประเทศหลังสงครามค่ะ

การจะพัฒนาประเทศให้มีความสำเร็จยังยั่งยืนได้นั้น ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา จนกระทั่งตลอดชีวิต  จึงเกิดคำว่า lifelong learning เพราะในยุคข้อมูลสารสนเทศที่เป็นอยู่  การเรียนรู้ของบุคคลจึงไม่จำกัดแค่อยู่ภายในห้องเรียน  เพราะสื่อเทคโนโลยีสามารถช่วยได้ในการค้นคว้า ศึกษาหาความรู้  ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในด้าน lifelong learning เป็นอย่างมาก จนกระทั่งมีกรมที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ  ไม่แปลกอะไรที่ประชากรเขามีคุณภาพ มีสภาวะที่พร้อมในการแข่งขันในอันดับต้นๆของโลกได้  ประเทศไทยคงอีกนานมาก ที่ประชาชนของประเทศจะทำการยอมรับการศึกษาที่นอกเหนือจากระบบโรงเรียน 

ขอบคุณคุณ baby learner มากค่ะ ที่ช่วยเติมเต็มข้อมูลค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท