วิถีการเรียนรู้


การศึกษาไม่มีคุณภาพ สาเหตุหลักของเรื่องนี้น่าจะอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูไทย (บางส่วน) ผิดแผกแหวกแนวไปจากความจริง ความจริงที่บอกว่าวิถีการเรียนรู้ของคนเน้นหนักไปด้านรูปธรรมมากกว่านามธรรม รวมทั้งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้แนวทางไว้ชัดเจนว่าการศึกษาต้องนำพาให้เด็กๆเผชิญสถานการณ์ได้
                               กุญแจดอกสำคัญที่ทำให้การเรียนรู้ในระดับบุคคลมีประสิทธิภาพ คือการให้ความสำคัญต่อวิธีการเรียนรู้ประกอบกับการมีทักษะที่จะใช้วิธีการนั้นได้อย่างเหมาะสม  ในความเป็นจริงที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคลผสมผสานกับความแตกต่างของการดำรงอยู่ส่งผลให้คนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  เรามักเรียกสิ่งนี้ว่า   วิถีการเรียนรู้                                

                             ผู้รู้หลายท่านได้กล่าวถึงวิถีการเรียนรู้ไว้อย่างมากมาย  สรุปได้ว่า วิถีการเรียนรู้ของแต่ละคน จะมีลักษณะเน้นไปในด้านรูปธรรมมากกว่าด้านนามธรรม  การให้บทสรุปเช่นนี้หลายท่านอาจถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่บังเอิญว่าตัวผมเองเป็นครูที่ทำหน้าที่บริหารการศึกษาในระดับโรงเรียน การได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับวิถีการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา 
                             

                            กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้แนวทางการจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษา  ไว้อย่างชัดเจนในความนำของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  
. .   2544   ซึ่งกล่าวโดยสรุป ได้ว่า
                         

                          
“…   สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด   การจัดการ    การเผชิญสถานการณ์   จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง   สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้   และต้องให้ความสำคัญต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา   ทุกสถานที่…” 
                            

                           การหยิบยกเรื่องนี้มาแลกเปลี่ยนกับทุกท่านด้วยเหตุว่าในวิถีการเรียนรู้ของตัวท่านเอง  รวมถึงวิถีการเรียนรู้ของลูกหลานที่ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในระบบโรงเรียน  ที่หลายภาคส่วนกำลังวิงเวียนปวดศีรษะคละเคล้ากับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าการศึกษาไม่มีคุณภาพ  สาเหตุหลักของเรื่องนี้น่าจะอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูไทย (บางส่วน) ผิดแผกแหวกแนวไปจากความจริง  ความจริงที่บอกว่าวิถีการเรียนรู้ของคนเน้นหนักไปด้านรูปธรรมมากกว่านามธรรม  รวมทั้งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้แนวทางไว้ชัดเจนว่าการศึกษาต้องนำพาให้เด็กๆเผชิญสถานการณ์ได้   
                           

                         แสดงว่าการศึกษาที่ถูกต้องควรมีกระบวนการที่เน้นด้านรูปธรรม  แต่ในปัจจุบันการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู(บางส่วน)กลับเป็นนามธรรม  จัดแบบลมๆแล้งๆ  ตอนนี้ผมมีความชัดแจ้งแล้วว่าทำไม ครูบาสุทธินันท์    ปรัชญพฤทธิ์   จึงใช้คำว่า  ความรู้แบบเหี่ยวๆ   และ  ท่าน  ดร
. แสวง    รวยสูงเนิน   จึงใช้คำว่า ความรู้ที่เป็นพิษ                             

                         และด้วยความรู้ความสามารถอันน้อยนิด  ขอเป็นพลังส่วนหนึ่งในกระบวนการล้างพิษในความรู้   ให้เป็นความรู้ที่ปลอดสารพิษและเป็นความรู้ที่มีความสดใสได้ชีวิตชีวา
หมายเลขบันทึก: 76171เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มาทักทาย
  • มาดูความรู้สดๆครับ
     เชื่อแน่นอนค่ะว่าเม็กดำทำและสร้างความรู้ที่ปลอดสารพิษได้  แต่อย่าลืมถ่ายทอดกระบวนการล้างพิษในความรู้ด้วยนะคะ จะได้เป็นความรู้ที่สด ๆ

เห็นด้วยครับ ความรู้เหี่ยวๆที่เด็ดมาคนอื่น ประเทศอื่น มาปักในประเทศไทยมันก็ไม่งาม ต้องเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครับ ถึงจะมาปลูกในดินไทยได้ผล หากจะนำของนอกมา ต้องปรับปรุงเสียก่อน มิฉะนั้นจะเป็นพิษ และไม่เป็นประโยชน์ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เห็นด้วยอย่างสูงครับ

คิดจะเขียนตอบคุณครูอยู่หลายวันครับ พอดีภารกิจรัดตัว เพิ่งจะมีโอกาสได้ตอบวันนี้เอง

ผมโยงความคิดของคุณครูเข้ากับประสบการณ์การสอนของผม ออกจะยาวยืด เลยขออนุญาติตอบไว้ในบล็อกตัวเองนะครับ (link

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท