โครงการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายในชุมชน


"ซึ่งมันเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า.... "

                การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายในชุมชน ในบุคลากรสาธารณสุข และตัวแทนจาก เทศบาล และ พมจ. เพื่อบูรณาการงานสุขภาพจิตเข้ากับทุกส่วน โดยจัดอบรมในวันที่ 24 มกราคม 2550 ณ โรงแรม รอเยิลปริ๊นเซส อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

                เริ่มโดยการลงทะเบียน ( ทางผู้จัด ได้จัดสมุดบันทึกลายน่ารักมั๊ก ๆ ให้ผู้เข้าประชุม ) หลังจากนั้น  ก็เป็นวิเคาระห์สถานการณ์และแนวโน้มปัญหาการฆ่าตัวตายจังหวัดระนอง โดยหัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง และการนำเสนอผลการประชุมและป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายของเขต 11และ 17

              หลังจากนั้นเป็นการประชุมโดยใช้กระบวนการ AIC(Appreciation Influence Control) เข้ามาช่วยในการระดมสมองเพื่อเป็นการหาและกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในจังหวัดระนอง โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ และศุนย์สุขภาพจิตที่ 11 เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้สรุปในประเด็นต่างๆ  โดยเริ่มจากการให้ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ลองสะท้อนถึงปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานสุขภาพจิต โดยแบ่งปัญหาออกเป็น 2 ส่วนคือระดับการปฏิบัติงานและระดับนโยบาย

            

                และนำปัญหาดังกล่าวมาขายในที่ประชุม กล่าวคือให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนไปโหวตว่าปัญหาใดน่าสนใจบ้าง แล้วนำปัญหาที่ได้มาจัดกลุ่มรวมเป็นประเด็นและระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันต่อไป                        

                ผู้เขียนคิดว่าการประชุมในครั้งนี้ ผลที่ได้เป็นไปตามที่ทางผู้จัดการประชุมได้วางไว้ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากความสามารถของวิทยากร และผู้ดำเนินการที่สรุปประเด็นและเชื่อมโยงเนื้อหาที่ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอได้อย่างครบถ้วนและลงตัว.....                

                  "ซึ่งมันเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า.... "  การจัดประชุมอบรมในแต่ละครั้งหากทางผู้จัดการอบรม มีศักยภาพในการดึงหรือประสานผู้มีภูมิรู้ และมีประสบการณ์ในด้านนั้นจริง-จริงมาเป็นวิทยากร หรือผู้ดำเนินการในการประชุม  โดยอาจจะเชิญมาจากหน่วยงานอื่น (ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น) หากแต่เราจะได้รับผลสัมฤทธิ์จากการประชุม มากกว่าเดิมอย่างแน่นอน ....

อรุฎา นาคฤทธิ์

คำสำคัญ (Tags): #เก็บตก#ประชุม
หมายเลขบันทึก: 76150เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น้องเปิ้ล ครับ

  1. ชุมพรมีปัญหาเรื่องการฆ่าตัวตายมากเหมือนกัน รู้สึกว่าจะมีอัตราสูงสุดของเขต 15 เลยนะ (ถ้าจำไม่ผิด) และโดยเฉพาะพะโต๊ะ ปีที่แล้วก็เกินเกณฑ์ไปมาก ตอนนี้ก็ 1 รายแล้ว
  2. ทำอย่างไร? ดี ได้ข้อสรุปจากการประชุมอย่างไรบ้าง อย่าลืมบอกต่อกันด้วยนะครับ เผื่อจะได้นำไปปรับใช้ได้บ้าง
  3. อย่าลืมเล่าให้ฟัง (ที่จริงก็อ่าน) เรื่องงานกีฬาเขตด้วยนะครับ
  • เข้าตอบอย่างรวดเร็วทันใจจังนะคะ
  • กะเปอร์เองปีนี้เริ่มต้นไตรมาสแรก ก็ 2 รายแล้วคะ แนวทางแก้ไขในระยะแรกก็คงหนีไม่พ้นการคัดกรองภาวะซึมเศร้า หรือภาวะเครียดในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ผู้ที่เคยใช้สารเสพติด ผู้มีประวัติทำร้ายตัวเอง จริงๆ แล้วมันก็เข้ารูปแบบการทำงานเชิงรุกนั้นแหละคะ งานนี้เป็นงานที่ต้องเดินไปค้นหา เพราะไม่ใครที่จะป่าวววววประกาศ ก่อนทำร้ายตัวเอง หากแต่เค้าจะส่งสัญญาณใหคนใกล้ตัวทราบเท่านั้นเอง ดังนั้นก็สร้างเครือข่ายในการทำงานจ ะช่วยยลดภาระงานตรงนี้ได้มาก การช่วยกันเฝ้าระวังในชุมชนโดยคนในชุมชนและครอบครัวเอง นี่แหละเป็นการก่อสร้างกำแพงต่อสู้กับปัญหาที่แข็งแรงที่สุด และ จนท.เองก็ไม่ควรเพิกเฉยเมื่อได้รับสัญญาณ หรือข่าวจากคนในชุมชนหรือครอบครัว ต้องเข้าถึงโดยกลุ่มเสี่ยงโดยเร็วที่สุด
  • แต่ประเด็นปัญหาของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เองก็มีมากเช่นกันคะ เช่นการขาดทักษะในการให้บริการด้านงานสุขภาพจิต ภาระงานที่มากมายเมื่อเทียบกับจำนวนเจ้าหน้าที่ในสถานบริการ อีกทั้งประเด็นการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบ่อยครั้งจนขาดการต่อเนื่องในการดำเนินงานก็เป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้เช่นกัน
  • ส่วนเรื่องงาน กีฬาสาธารณสุขจะเก็บมาเล่าให้ฟังแน่นอนคะ (โปรดติดตามตอนต่อไปอิอิ)

แน่นอนอยู่แล้ว....

บางเรื่องมันต้องอยู่ที่การลงทุน และความกล้าที่จะลงทุนของผู้บริหารด้วย ไม่ใช่การจัดอบรมเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อละลายงบประมาณ แต่ไม่ได้มีการสร้างหรือก่อให้เกิดความรู้กับผู้เข้าร่วมประชุมเลย

เข้ามาเยี่ยมครับ

  • น่าสนใจครับ วิธี AIC(Appreciation Influence Control)ผมไม่เคยศึกษามาก่อนครับ แต่ถ้าได้เห็นบรรยากาศจริงคงจะเข้าใจได้ไม่ยาก
  • ครั้งหนึ่งผมเคยนั่งคุยกันเล่นๆกับกลุ่มเพื่อนๆ ว่า สำหรับการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น "เพลง" ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในช่วงเสี้ยววินาทีครับ ดังนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กบว. ต้องสามารถฟังเพลงเป็น หมายถึง ต้องตีความเพลงที่มีลักษณะหล้อแหลมได้
  • สุดท้าย คำถาม "รูปเด็กน่ารักข้างล่างสุดของบันทึก ใช่ลูกชายคุณอรุฎารึเปล่าครับ"

กัมปนาท อาชา

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • ขอบคุณ คุณกัมปนาท อาชา ที่แวะมาเยี่ยมคะ ลองค้นหาเนื้อหาบางส่วนมาให้ศึกษาดูคร่าวๆ  http://www.geocities.com/psothailand/aic.html
  • เคยดูรายการโทรทัศน์เมือไม่กี่วันที่ผ่านมา เค้าก็พูดถึงเรื่องการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นว่า "เพลง" ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอยู่เหมือนกัน!
  • สุดท้าย คำตอบ ของคำถาม "รูปเด็กน่ารักข้างล่างสุดของบันทึก ใช่ลูกชายคุณอรุฎารึเปล่าครับ" ไม่ใช่หรอกคะ.. เป็นลูกสาวต่างหาก (ดูยังงัยเป็นลูกชายคะ) อ้าว!! ไปกันใหญ่แล้ว ลูกใครอันนี้ไม่ทราบเหมือนกัน แต่เห็นเค้าน่ารักดีเลยนำมาใส่ไว้ในบันทึกหน่ะคะ (ถ้ามีลูกแล้วน่ารักอย่างงี้... คงดีใจแย่เลย อิอิ)
อั้ม คุณนายสุดฤทธิ์

ไม่ออกความเห็นละกันนะเปิ้ล กับข้อความข้างบน

ถึงเพื่อนอั้ม คุณนายสุดฤทธิ์

  • แค่แวะมาเยี่ยมก็ดีใจแระ
  • การจัดอบรมครั้งนี้ ก็จัดโดยพี่ทราย (หัวหน้างาน) คนเก่าของเพื่อนอั้มแหละ
  • นี่ถ้าเพื่อนอั้มยังทำงานอยู่สสจ. ก็คงได้เจอกันในการประชุมครั้งนี้ เพราะเพื่อนเปิ้ลมั่นใจว่าเพื่อนอั้มต้อง แล่นแต้!!! เป็นฝ่าย ควบคุมการผลิตแน่นอน                                       

                                    (รักนะ... แต่ไม่แสดงออก) อิอิ

  • ขอบคุณครับคุณอรุฎา ผมก็แซวไปงั้นหล่ะครับ ก็คิดว่าไม่ใช่หรอกครับ
  • ขอบคุณที่แนะนำแหล่งความรู้เพิ่มสำหรับ AIC

  • เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท