@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

จิตร ภูมิศักดิ์ และ จอมพลคนสุดท้ายของประเทศไทย


บุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อประวัติศาสตร์การปกครองของไทย

ก่อนจะพาไปถึงเรื่องพ่อ ก็ควรจะเล่าถึงยุคที่พ่ออาศัยอยู่ เป็นยุคแห่งการปิดกั้นสื่อ และข้อมูลข่าวสารที่เข้มข้มอย่างมากยุคหนึ่ง เป็นยุคของรัฐบาลทหาร เป็นยุคของสายลมแสงแดด วรรณกรรมดอกไม้ มีความต่างขั้วทางความคิดอย่างมากมาย มีกลุ่มคนหลายเชื้อชาติที่มีความไม่กลมกลืนอีกมาก

ดังเช่น คุณจิตร ภูมิศักดิ์ (อยากเชิญให้ทุกท่านเข้ามาอ่านประวัติคุณจิตร ก่อน เพื่อมีพื้นความเข้าใจเดียวกัน)

จิตร ภูมิศักดิ์ 

คุณจิตรครั้งหนึ่ง เคยโดนล้อแกมหมิ่นว่าเป็นคนเขมร คุณจิตรครั้งหนึ่งอยู่ในยุคที่ นิสิตจุฬาหมิ่นนักศึกษาธรรมศาสตร์ว่า เรียนในมหาวิทยาลัยไพร่

ยุคนั้น เป็นยุคคาบเกี่ยวระหว่างการปกครองโดย จอมพลถนอม กิตติขจร  และยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 

 ถนอม กิตติขจร   สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ยุคซึ่งมีความกลัวและหวาดระแวงคอมมิวนิสต์ อย่างสูง นอกจากนี้ยังเป็นยุคซึ่งทหารแย่งอำนาจกัน เป็นยุคก่อนเข้าสู่ยุคของนักศึกษาประชาชนถูกกดดัน จนก่อให้เกิดการประท้วงยุค 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 

... ห้าสิบปีของประวัติศาสตร์การปกครองของไทย ยังดูเหมือนย่ำเท้าอยู่กับที่ สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ ผู้ที่ครองอำนาจ แต่กลวิธีทำให้เกิดความแตกแยก กลับไม่เปลี่ยน ประเทศสยามที่น่าสงสาร ... 

ไว้จะมาเขียนต่อเพิ่มนะคะ blog นี้ขอรวบรวมและปูพื้นความเข้าใจก่อน (สำหรับเด็กรุ่นหลังที่อยากรู้ว่า สยามเมื่อ 50 ปีที่แล้วนั้น มีสภาวะสังคมเป็นอย่างไร) ท้ายนี้ขอคัดลอกข้อความจากเว็บชาติไทยมาให้อ่าน ในหัวข้อเรื่องของวิวัฒนาการ การเมืองไทย

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
รัฐประหาร
             
คณะรัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลจอมพล
ป.พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 โดยอาศัยเหตุจากการเดินขบวนประท้วง
การประท้วงการเลือกตั้งสกปรก และการแย่งอำนาจกันเองในหมู่ทหาร
             
เมื่อยึดอำนาจได้แล้ว จอมพลสฤษดิ์ได้มอบหมายให้นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรีและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2500 ภายหลังการเลือกตั้ง พลโทถนอม กิตติขจร
ได้รับการสนับสนุนจากจอมพลสฤษดิ์ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
             
แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถบริหารราชการไปอย่างราบรื่น ในที่สุดจอมพลสฤษดิ์
ในนาม “คณะปฏิวัติ” ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมพ.ศ.2501 โดยอาศัยทั้งเหตุความแตกแยกของพรรคร่วมรัฐบาลและที่สำคัญคือ
ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์

ดังนั้นจอมพลสฤษดิ์ จึงตัดสินใจทำรัฐประหาร เพื่อ
“ที่จะมีและใช้อำนาจเป็นเครื่องมือปกครองบริหารประเทศ”โดยมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
พ.ศ.2502 จากนั้นสภาจึงได้มีมติสนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพร้อม ๆ กับการใช้อำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ
ที่รู้จักกันอย่างไม่ลืมเลือน คือ ม.17 ตามธรรมนูญการปกครองดังกล่าว
              
ซึ่งมาตรา 17 ดังกล่าว ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
สามารถสั่งจับกุมคุมขังหรือประหารชีวิตใครก็ได้ที่เห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติแนวคิดในการบัญญัติ
ม.17 จอมพลสฤษดิ์
ได้แบบอย่างมาจากรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสสมัยประธานาธิบดีเดอโกล
ซึ่งรวมอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการไว้ที่นายกรัฐมนตรี
ให้เป็นอำนาจพิเศษในสถานการณ์พิเศษ
             
จอมพลสฤษดิ์ปราบปรามผู้มีแนวคิดสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง
ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในขณะดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506

 

ปล. พ่อบอกมาว่า อย่าเขียนเปิดเผยข้อมูลตามจริงทั้งหมด เดี๋ยวจะเดือนร้อน (คนเคยถูกยัดเยียดข้อหาให้ ย่อมมีความหวาดระแวงสูงกว่าปกติ เป็นธรรมดา)

 

หมายเลขบันทึก: 76058เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
รู้สึกดีครับ ที่เรื่องราวเหล่านี้ถูกนำมาเปิดเผย นึกว่าจะเป็นความลับไปตลอดกาล

ส่วนข้อมูลที่เปิดเผยไม่ได้ ก็แอบส่งให้อ่านทางเมล์ก็ได้นะครับ เพื่อความสบายใจของคุณพ่อ และการมีเรื่องราวในตอนต่อๆไปให้อ่านต่อด้วย

จนถึงตอนนี้ ผมก็คิดว่า ชาตินิยมไทย ก็ยังต้องการการปรับปรุง

ถ้ามีคนบอกว่า จิตร ภูมิศักดิ์นิยมลัทธิ marx ผมก็เช่านะ :-)  

สวัสดีครับ

เราเคยได้ยินไหมครับว่า "เราไม่ได้รบกับคอมมิวนิสต์ แต่เรากำลังรบกับความยากจน" ซึ่งผู้นำและรัฐบาลในยุคนั้น และยุคต่อๆ มา(หรือแม้แต่ยุคนี้ก็ตาม) หาได้ใส่ใจเลยแม้แต่น้อย

ผมขออนุญาตวิเคราะห์ว่า ไม่ว่าสังคมศักดินา หรือสังคมทุนนิยมสามานย์ ไม่สามารถทำให้เราบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย" ได้ เพราะถ้าหากอำนาจอยู่ในมือประชาชนส่วนใหญ่จริง อำนาจในมือของกลุ่มทั้งสองกลุ่มดังกล่าว คงจะไม่มีเหลือ และไม่สามารถอ้างว่า "ทำเพื่อประชาชน" ได้เลยแม้แต่นิดเดียว

 

กระผมว่าทุกวันนี้ก็ไม่ต่างไปจากคอมมิวนิต จิงป่ะ

เสียดายบุลคลยุคก่อนๆที่ยึดถืออุดมการณ์อันแน่วแน่  แต่ไหนเลยจะสู้อำนาจมืดได้  ปลงเสียเถอะปล่อยวางเสีย...อนิจจัง..อนิจจา

ในส่วนผมเองผมมองว่าปัจจุบันไม่ต่างจากคอมมิวนิสต์ซะเท่าไหร่ เบื่อเมื่อไหร่ก็ปฏิวัติ เอาปืนมาจ่อหัวประชาชน

เอากระสุนของรัฐ มายิงประชาชน ต่างกันตรงไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท