BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

บ่อเกิดพิธีกรรม


บ่อเกิดพิธีกรรม

ถามว่า พิธีกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ผู้เขียนคิดว่าพิธีกรรมน่าจะเกิดขึ้นจาก ความเชื่อ นั่นคือ มนุษย์เชื่อว่า เมื่อทำอย่างนี้ จะได้รับผลอย่างนี้ นั่นคือ บ่อเกิดของพิธีกรรม

เคยอ่านงานทดลองของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ มีอยู่ว่า เค้าใช้กล่องหรือกรงขังนกไว้ (ขังเดียว) จำนวนหนึ่ง แล้วก็ใช้เครื่องมือหย่อนข้าวเปลือกลงไปครั้งละเมล็ดทุก ๓ หรือ ๕ นาที (รายละเอียดการทดลองจำไม่ได้ จำได้แต่แก่นของเนื้อหา จึงจะเล่าตามความเข้าใจ ใครรู้จริงก็ช่วยเล่าแก้ไขด้วย ถ้าผิดพลาด)

การทดลองก็เพื่อจะสังเกตว่านกเหล่านี้จะมีพฤติกรรมอย่างไร เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง ก็มีการสังเกตพฤติกรรมของนกเหล่านี้ ปรากฎว่า บางตัวยืนกลางปีกอยู่ บางตัวยืนขาเดียว บางตัวก็ทำเสียงร้องบางอย่าง...แตกต่างกันไป....ความเข้าใจของนกเหล่านี้ คงจะเชื่อว่า เมื่อมันทำอย่างนั้น จะเป็นสาเหตุให้ข้าวเปลือกหล่นลงมา....

ผู้เขียนคิดว่า ถ้านำนกเหล่านี้มาเปรียบกับคนเรา ก็น่าจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือ คนทำสิ่งบางอย่างแล้วก็มีผลบางอย่างเกิดขึ้น เมื่อต้องการผลอย่างนั้นอีก ก็กระทำอย่างนั้นอีก ...เมื่อได้ผลหลายๆ ครั้ง ก็คิดว่า สิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความจริง ถ้าบางครั้งไม่ได้ผลตามที่คาดหวังก็อาจตำหนิตัวเองว่าสิ่งที่ตนทำไปบกพร่อง...ประมาณนี้...

นั่นคือ สิ่งที่ผู้เขียนจินตนาการขึ้นมาว่าเป็นบ่อเกิดของพิธีกรรมในครั้งโบราณ ส่วนผู้กระทำพิธีกรรม คือ เจ้าพิธี จะค่อยๆ นำมาเล่าต่อไป

....... 

อนึ่ง ถามว่า สิ่งที่คนเราคาดหวังคืออะไรในการประกอบพิธีกรรม ในเรื่องนี้เคยมีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า

"มนุษย์ทั้งหลายปรารถนาอะไร จึงบูชายัญบ่วงสรวงเทวดา"

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า

" ปรารถนาสิ่งที่มีความชรา เสื่อมโทรมไปเป็นธรรมดา จึงบูชายัญบ่วงสรวงเทวดา"  

แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสเรื่องนี้เกินกว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว แต่ยังคงทันสมัยอยู่...

หมายเลขบันทึก: 76018เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • กราบนมัสการพระคุณเจ้า......ขอนุญาตร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
  • เมื่อกล่าวถึงพิธีกรรม หลาย ๆ คนนึกถึงภาพของความงมงาย บางมุมก็ป็นเช่นนั้น แต่บางเรื่องราวแฝงแง่คิดและวัฒนธรรมประเพณีไว้
  • อีกไม่กี่วันจะถึงเทศกาล "ตรุษจีน" พี่น้องเชื้อสายจีน ต่างพร้อมใจกันทำพิธีกราบไหว้บูชาเทพเจ้า และดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ
  • มองแล้วคนสมัยใหม่ดูว่างมงาย แต่การปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนั้น ช่วยเสริมสร้างตอกย้ำค่านิยม "ความกตัญญูรู้คุณ" ให้กับพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนมาหลายชั่วคนจวบจนทุกวันนี้
  • ความน่าสนใจ อยู่ที่พิธีกรรมทั้งหลาย มีแง่มุมใดให้คนเราได้เรียนรู้ค่ะ
  • กราบนมัสการพระคุณเจ้าด้วยความเคารพ

เจริญพร คุณโยม ปวีณา ธิติวรนันท์

ด้วยความยินดีครับ...

ความงอกงาม เป็นความหมายของ culture ซึ่งเราแปลกันว่า วัฒนธรรม...พิธีกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในวัฒนธรรม ....

ดังนั้น คุณค่าที่คุณโยมเล่ามาก็คือคุณค่าทางวัฒนธรรมนั่นเอง (ไม่ต้องอธิบายนะครับ)

เมื่อพูดถึง ตรุษจีน อาตมาก็เชื้อสายจีนเช่นเดียวกัน บรรพบุรุษคือก๋งของก๋งมาจากเมืองจีน ซึ่งหลุมศพก็ยังคงมี ตอนนี้ก็ล่วงมาถึงรุ่นที่ ๗ แล้ว...ลูกหลานมีมากมาย แต่ผู้ไปไหว้ศพก็มีน้อยลงทุกๆ ปี...

พิธีกรรม มีแง่มุมให้ศึกษามากมาย ครับ ก็จะเล่าไปเรื่อยๆ แหละครับ...

ก็ขอเชิญคุณโยมร่วมเล่าเรื่องด้วยนะครับ ตามโอกาสที่เห็นว่าเหมาะสม

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท