เมื่อศูนย์ฯชาวเขา กลายเป็นตำนาน ชาวเขาต้องไม่ถูกทอดทิ้ง


บางที่บางแห่ง เปลี่ยนมาต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงทรัพยากร นำพาสู่ความขัดแย้ง และมีท่าทีว่าจะขยายตัวสู่ความรุนแรง หากไม่นำวิถีดั้งเดิมของชนเผ่ามาปรับประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา

       

              เมื่อปีที่แล้ว  ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดทุกแห่ง ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและชื่อองค์กรใหม่ กลายเป็น ศูนย์พัฒนาสังคม  ดูเหมือนว่า  ตำนานการทำงานพัฒนาชาวเขา  หรือการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงขององค์กร  ซึ่งดำเนินงานผ่านกาลเวลามาร่วมกึ่งทศวรรษ จะปิดฉากลง
      

       สำหรับศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดน่าน  ก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 25 จังหวัดน่าน อย่างไรก็ตาม แม้บทบาทภารกิจจะเปลี่ยนไป   ใช่ว่า พี่น้องชาวเขาทุกชนเผ่าในเมืองน่านจะถูกทอดทิ้ง  สำนึกและจิตวิญญาณในการพัฒนาชาวเขายังคงเต็มเปี่ยมอยู่ในใจของคนทำงานอยู่เสมอ 
      

        ในช่วงแรกของการปรับเปลี่ยนองค์กร อาจมีการอึดอัด ขัดสน จำทนไปบ้าง   แต่เชื่อว่าอีกสักระยะคงเข้ารูปเข้ารอย  และมีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น
      

       ทุกวันนี้ ปัญหาชาวเขาเปลี่ยนแปลงไป  ตามสถานการณ์ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง  จากการที่ต้องต่อสู้กับการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตในอดีต  บางที่บางแห่ง เปลี่ยนมาต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงทรัพยากร  นำพาสู่ความขัดแย้ง  และมีท่าทีว่าจะขยายตัวสู่ความรุนแรง  หากไม่นำวิถีดั้งเดิมของชนเผ่ามาปรับประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา  ปัญหาเหล่านี้  หากเข้าถึง ไม่สัมผัสชุมชน และชนเผ่าจริงๆ ไม่รู้  หรือรู้ แต่ไม่เข้าใจ..
    

       ในจังหวัดน่านเอง ในรอบ ๑๐ ปี  มานี้  ก็มีเรื่องราวความขัดแย้ง  ระหว่างชนเผ่ามากมาย  ที่กลายเป็นปัญหาระดับจังหวัด  และถึงระดับประเทศ  อย่างเช่น กรณีขัดแย้งเกี่ยวกับชนเผ่าตองเหลืองที่อำเภอบ้านหลวง  กรณีขัดแย้งชนพื้นราบบุกเผาสวนลิ้นจี่ชนเผ่าม้ง  ที่อำเภอเชียงกลาง  หรือสดๆร้อนๆ  กรณีชาวม้งบ้านดอยติ้ว ขัดแย้งกับชาวเมี่ยนบ้านน้ำงาว  ฯลฯ
    

       เหล่านี้ ทำให้เห็นว่า  ปัญหาชาวเขา  หรือปัญหาชนเผ่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน  มิควรนิ่งนอนใจ ที่จะป้องกันแก้ไข  และการพัฒนาสังคมชาวเขา  ควรดำเนินไปภายใต้บริบทของวัฒนธรรมชนเผ่า.. เพื่อมิให้เกิดปัญหาสังคม  และต่อยอดความสมานฉันท์ในชนเผ่า และระหว่างชนเผ่า ให้สุขสงบ สันติ อย่างยาวนาน...
   

       เหล่านี้ เอง ที่ยิ่งต้องย้ำว่า แม้จะปรับเปลี่ยนชื่อองค์กร  และบทบาทภารกิจไปย่างไร  สำนึกและจิตวิญญาณในการพัฒนาชาวเขายังคงเต็มเปี่ยมอยู่ในใจของคนทำงานอยู่เสมอ  และเป็นหลักประกันว่า  ชาวเขาน่าน จะต้องไม่ถูกทอดทิ้ง  แม้ว่าบริบททางสังคม จะเปลี่ยนไป   ท่ามกลางกระแสของการพัฒนาที่เชี่ยวกราก และทำลายรากเหง้าวิถีชีวิตเดิม..
                                                                                                                      

หมายเลขบันทึก: 75969เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท