น้ำหนักเกินมาตรฐาน


      จากการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลของเราประจำปี 2549 จำนวน 634 คน พบความเสี่ยงอันดับ 1 ได้แก่ เรื่องน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีถึง 157 คน

โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) 25-29.9 กก./ตรม. ถึงร้อยละ 73

และมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 กก./ตรม. ถึงร้อยละ 27

ซึ่งเราจะได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมน้ำหนักของเจ้าหน้าที่ ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงกรกฎาคม 2550  รายละเอียดจะนำมาเลาในโอกาสต่อไป

สำหรับวันนี้จะเล่าถึง ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI

ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คือค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและ
ส่วนสูง มาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่า ดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม)
                             ความสูง2 (หน่วยเมตร2)
เมื่อคำนวณแล้วท่านมีค่า BMI มากกว่า 25 ถือว่ามีน้ำหนักตัวมากเกิน (over-weight) และ ถ้ามีค่าBMI มากกว่า 30 ถือว่า "อ้วน" (obesity) นอกจากนี้มีการจำแนกประเภทดัชนีมวลกาย (BMI) ตามเกณฑ์ของ International Obesity Task Force (IOTF) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อ การเกิด
การเจ็บป่วยเมื่อมีค่า BMI ในระดับต่าง ๆ ดังตาราง

ประเภท ดัชนีมวลกาย (BMI) ความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วย(BMI)
น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ น้อยกว่า 18.5 ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)
น้ำหนักตัวปกติ 18.5 - 24.9 ปกติ
น้ำหนักตัวเกิน 25-29.9 เพิ่มกว่าปกติ
โรคอ้วนขั้นที่ 1 30-34.9 เพิ่มขึ้นอย่างมาก
โรคอ้วนขั้นที่ 2 35-39.9 ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)
โรคอ้วนขั้นที่ 3 40 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึงขั้นรุนแรง
จากตารางข้างต้นจะพบว่าผู้มีน้ำหนักตัวเกิน (ค่า BMI มากกว่า 25) และผู้ที่เป็นโรคอ้วน (ค่า BMI มากกว่า 30) จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วยอย่างมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือความอ้วนนั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบ
ด้วยกัน ได้แก่
-ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดโคโรนารี
-โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี (gallbladder disease)
-โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง (cirrhosis)
-มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก มดลูก รังไข่ เต้านม ถุงน้ำดี  ตับอ่อน
-โรคทางเดินหายใจและปอด หายใจลำบากขณะนอนหลับ นอนกรน (snoring) เพราะทางเดินหายใจเริ่มตีบตัน ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้ ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ ส่งผลให้ง่วงนอนในเวลากลางวันบางคนอาจเป็นมากขนาดหลับในขณะขับรถ จนเกิดอุบัติเหตุได้
-โรคเกี่ยวกับไต เช่น นิ่ว ไตวายจากความดันโลหิตสูง
-โรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม (os-teoarthritis in joints) โดยเฉพาะบริเวณสะโพก หัวเข่า ข้อศอก
-โรคเก๊าท์ (gout)
-โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
-เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน (stroke)
-ซึมเศร้า (depression)
-เส้นเลือดขอด (varicose vein)
-เหงื่อออกมาก (sweating)
-การเป็นหมัน (infertility)
จากการเสี่ยงต่อสุขภาพของโรคอ้วนที่กล่าวถึงข้างต้นอันมีมากมายหลายประการ จึงมีการศึกษาถึงอันตรายของโรคอ้วนถึงขนาดว่าคนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่างจากคนรูปร่างปกติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง 2-12 เท่า ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคล แต่ถ้ากลุ่มประชากรที่อ้วนหรือน้ำหนักเกินสามารถลด น้ำหนักได้เพียง 5-10 % ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น ก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และอัตราการตาย (morbidity and mortality rate) ได้ระดับหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องมีความพอดี การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียได้มากกว่าผลดี "น้ำหนัก" ก็เช่นกัน ถ้ามากเกินไป "อ้วน" ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความมากเกินไป ลงมาให้ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
เอกสารอ้างอิง
1. Oranee Tangphao. Orlistat : A new antiobesity drug.Thai Joumal of Pharmacology. 2000; 22(1); 57-65.
2. James H. Zavoral. Treatment with orlistat reduces cardiovascular risk in obese patients.
Journal of Hypertension 1998; 16(2): 2013-2017.
3. วิมล พันธุ์เวทย์. Orlistat ทางเลือกใหม่ในการลดน้ำหนัก ศรีนครินทร วิโรฒเภสัชสาร
2542; 4(1): 74-91.
4. อารีย์ ขจรกิตติยุทธ. การควบคุมน้ำหนัก. ตากสินเวชสาร 2540; (1): 113-127.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 75800เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มารายงานตัวค่ะ  เกินมาตรฐานค่ะแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคค๊า...

คุณหนิงอย่าลืมตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีนะคะ

 

 

มาเยี่ยมทีมงานที่สนใจเรื่องการลดน้ำหนักและการออกกำลังกายครับ

น้ำหนักตัวเกินไม่มากแต่รู้สึกอึดอัดนอนหลับไม่สนิท

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท